ต้องยอมรับว่า อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ที่ทำรายได้แก่ภาคเกษตรกรปีละ 1 แสนล้านบาท แต่ต้องยอมรับว่ากระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อยนั้นส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศ โดยเฉพาะ PM2.5 ที่เกิดจากเกษตรกรเผาอ้อยก่อนที่จะมีการตัด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่บรรลุผล
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้รัฐบาลเริ่มมีมาตรการสนับสนุนอ้อยสด เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละอองในภาคเกษตรตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งส่งผลให้ปริมาณอ้อยเผาที่มีการรับซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถลดอ้อยเผาให้เป็นศูนย์ได้ โดยปริมาณอ้อยเผาเฉลี่ยยังคงอยู่ที่ราว 30% ซึ่งจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (GHG) เฉลี่ยปีละ 2.4 ล้านตันต่อปี หรือ 4% ของ GHG ในภาคเกษตรของประเทศไทย
สาเหตุหลักที่เกษตรกรยังไม่สามารถตัดอ้อยสดได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่การเพาะปลูกน้อยกว่า 20 ไร่ ซึ่งการตัดอ้อยด้วยรถต้องทำในพื้นที่มากกว่า 20 ไร่ ต้นทุนแรงงานตัดอ้อยสดสูง และใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวมากกว่า นอกจากนี้ระยะเวลาในการรับซื้อของโรงงานน้ำตาลมีจำกัด ดังนั้นการแก้ปัญหาการเผาอ้อยและลด GHG ด้วยคาร์บอนเครดิต จึงเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง แต่คาร์บอนเครดิตที่ได้จากการหยุดเผาเศษวัสดุทางการเกษตรยังไม่มีมาตรฐานคาร์บอนเครดิตรองรับ จะต้องมีการออกมาตรฐานมารับรองคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมดังกล่าวด้วย
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้เสนอ 3 แนวทางลดการเผาอ้อยด้วยคาร์บอนเครดิต นอกเหนือจากแนวทางที่ภาครัฐพยายามสนับสนุนการตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง
1.เพิ่มแรงจูงใจการตัดอ้อยสดด้วยคาร์บอนเครดิต กำหนดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตจากการหยุดเผาเศษวัสดุทางการเกษตร โดยเบื้องต้นประเมินว่า ราคาคาร์บอนเครดิตอาจจะต้องไม่น้อยกว่า 126 บาทต่อ tCO2-e เพื่อให้การตัดอ้อยสดจากการรวมกลุ่มกันรับรองคาร์บอนเครดิตมากกว่า 1,500 ไร่ มีกำไรเทียบเท่าการตัดอ้อยเผาที่ 2,878 บาทต่อไร่ หรือรายได้สุทธิจากคาร์บอนเครดิตอยู่ที่ 519 บาทต่อไร่ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายรับรองคาร์บอนเครดิต (100 บาทต่อไร่ แต่อาจผันแปรตามเงื่อนไขแต่ละราย) ซึ่งจะสามารถลด GHG ได้ 4.9 tCO2 ต่อไร่ หรือใช้เงินทุนราว 915 ล้านบาทต่อปี
2.เพิ่มความเชื่อมโยงคาร์บอนเครดิตในประเทศกับมาตรฐานในต่างประเทศ ปัจจุบันมีโครงการลด GHG ในประเทศกว่า 51% ที่ขึ้นทะเบียนกับมาตรฐานต่างประเทศ ซึ่งหากประเทศไทยสามารถพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตให้เชื่อมโยงกับต่างประเทศได้ จะเพิ่มความต้องการซื้อคาร์บอนเครดิตจากต่างประเทศที่มีความต้องการลด GHG อีกเป็นจำนวนมาก
และ 3.ส่งเสริมให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกอ้อยและหันมาปลูกป่าเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว เกษตรกรสามารถปลูกไม้โตเร็ว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่า เช่น ยูคาลิปตัส มะฮอกกานี สนประดิพัทธ์ ไผ่ เป็นต้น ซึ่งนอกจากสามารถตัดขายเพื่อเป็นรายได้แล้ว ยังสามารถนำมาขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตได้ รวมถึงคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกป่าจะมีราคาสูง เฉลี่ย 290 บาทต่อ tCO2-e
นอกจากการส่งเสริมด้วยคาร์บอนเครดิต หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องดำเนินมาตรการควบคู่ด้วย คือการปรับปรุงเครื่องจักรเกี่ยวอ้อยสดให้เหมาะสมกับพื้นที่ขนาดเล็ก, จัดทำระบบคาดการณ์และจัดลำดับการเก็บเกี่ยวอ้อยเพื่อให้ทันกับช่วงระยะเวลารับซื้อของโรงงาน, สนับสนุนค่ารับรองคาร์บอนเครดิต และ สนับสนุนค่าใช้จ่ายของเอกชนจากการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการเผาอ้อยให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร โรงงานน้ำตาล ภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และภาคเอกชน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อย่างยั่งยืน
และที่สำคัญควรที่จะทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่พอ PM2.5 ซาลง ก็นิ่งเฉย พอมีปัญหาทีก็วิ่งหน้าตั้งออกมาตรการนั้น มาตรการนี้มาแก้ไขปัญหาแบบขอไปที เหมือนที่ผ่านๆ มา มีปัญหาทีก็ร้องแรกแหกกระเชอกันที ปัญหาก็จะคาราคาซังกันอย่างนี้ต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ยังแผ่ว
อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองในขณะนี้คือ “อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ต้องยอมรับว่าปีนี้เป็นปีที่ค่อนข้างท้าทายอย่างมาก สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่หดตัว 24.16%
อุตฯลุยเศรษฐกิจวิถีใหม่
แนวทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมนั้นมีหลากหลายวิธี แต่หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคที่โลกกำลังวิ่งเข้าหาหนทางการอนุรักษ์พลังงาน และดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมนั้นก็แค่วางแนวทางที่จะเดินหน้าไปตามทิศทางของโลก
รับฟังแผนปฏิรูปรถเมล์
จากที่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกาศปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยจะหยุดเดินรถให้บริการในเส้นทางเดิม และปรับการเดินรถจากเส้นทางเดิม ทำให้มีข้อกังวลจากผู้โดยสาร ไม่ว่าจะปัญหา
เร่งช่วยเหลือประชาชนอ่วมน้ำท่วม!!
ช่วงปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ อาทิ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.พะเยา จ.สุโขทัย เป็นต้น สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและทรัพย์สิน รวมถึงเศรษฐกิจในพื้นที่เป็นอย่างมาก ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ออกมาแจ้งเตือนอีก 43 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
แหล่งท่องเที่ยวสุดโปรดของคนไทย
การออกไปท่องโลกนับเป็นอีกหนึ่งพลังงานที่ช่วยชาร์จแบตให้กับผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนระยะสั้นๆ ภายในประเทศ หรือแม้แต่การเดินทางที่ไกลสักหน่อยไปยังต่างประเทศ สำหรับใครที่เคยเดินทางไปญี่ปุ่นมาแล้วคงต้องบอกว่าการเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งเดียวอาจจะไม่เพียงพอสำหรับใครหลายๆ คน
รัฐตื่นสกัดสินค้าจีน
มีเสียงบ่นดังๆ มาจากผู้บริโภค ผู้ประกอบการไทย ที่พบว่าตอนนี้ทำการค้าขายได้ยากมากๆ เนื่องจากถูกสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดอย่างหนักหน่วง ซึ่งธุรกิจจีนที่เข้ามาก็มีทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทั้งในรูปแบบเปิดร้านค้าขายในไทยอย่างชัดเจน และอีกส่วนก็เข้ามาค้าขายในแพลตฟอร์มออนไลน์