
แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้ แม้ว่าจะเป็นแค่การส่งชิ้นส่วนไปก็ตาม ด้วยแนวคิดการเพิ่มโอกาสให้กับภาคอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ยกระดับมาตรฐานด้านการทดสอบและวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบวัสดุ ชิ้นส่วนด้านอากาศยานและอวกาศ
เพื่อเป็นฐานการประกอบธุรกิจด้านการบินและอวกาศ โดยการเพิ่มการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ตลอดจนการนำทรัพยากรมาใช้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพ
สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่โลกอนาคต ซึ่งเป็นแนวคิดจากความร่วมมือของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)
โดยทั้ง 2 หน่วยงานได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมติดปีกอุตสาหกรรมอนาคต ด้วยเศรษฐกิจอวกาศ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM CONNECTION) ตามนโยบาย IGNITE THAILAND ของรัฐบาลที่มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ซึ่งอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก และยังเป็น S-Curve ใหม่ ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการต่อยอดเทคโนโลยีต่างๆ ในอนาคต
ทั้งนี้ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เศรษฐกิจอวกาศยังเอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีอวกาศจึงช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก และก้าวนำประเทศคู่แข่งที่อยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ร่วมกับกระทรวง อว. เข้ามาสร้างโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจอวกาศให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยจะพัฒนาเพื่อให้เกิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ และขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ได้มอบหมาย ดีพร้อม ในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามาเติมเต็มการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศอย่างยั่งยืนในอนาคต
ด้าน นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า หนึ่งในการดำเนินงานที่สำคัญของ อว.คือ การมุ่งเน้นด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ ตรงกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคส่วนเศรษฐกิจกระแสหลักของประเทศ โดย อว.ตั้งเป้าขยายผลการใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาต่อยอดการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม จึงให้ความสำคัญในการส่งเสริม การสร้างและสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเยาวชน Startup SMEs และบริษัทขนาดใหญ่
ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างสองกระทรวงในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ เพื่อก้าวสู่ภารกิจด้านกิจการอวกาศของไทย โดยได้มอบหมายให้ GISTDA เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมจากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และเพื่อขยายระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศ โดยหน่วยงานรัฐและเอกชนทุกภาคส่วนจะมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งจะผลักดันให้ไทยเข้าสู่ Global Value Chain ด้านอวกาศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
โดย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีดีพร้อม กล่าวว่า กรมขานรับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมติดปีกอุตสาหกรรมอนาคตด้วยเศรษฐกิจอวกาศโดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาต่อยอดในการดำเนินธุรกิจในมิติต่างๆ เพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคตโดยการบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมเศรษฐกิจอวกาศ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าในระดับโลก พร้อมยกระดับมาตรฐานด้านการทดสอบและวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบวัสดุและชิ้นส่วนด้านอากาศยานและอวกาศ สนับสนุนการเป็นฐานการประกอบธุรกิจด้านการบินและอวกาศ
แน่นอนว่า ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านองค์ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ กลไกต่างๆ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่อไปอีกด้วย.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พาอัตลักษณ์ไทยไปExpo2025
แน่นอนว่าในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เป็นส่วนสำคัญของการรักษาความเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของอาเซียน ซึ่งอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมจากรถยนต์สันดาปภายใน
เขตห้ามสูบบุหรี่
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ย้ำจุดยืนอย่างชัดเจนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย สำหรับผู้โดยสารทุกคน โดยได้ออกประกาศยกระดับมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่บนขบวนรถและในบริเวณสถานีรถไฟอย่างเข้มงวด
กฎหมายAIคุมความเสี่ยง
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถือเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานและการยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในยุคที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เจาะลึกอาหารญี่ปุ่นแบบไหนถูกใจคนไทย
ในปี 2568 นี้ พบว่า “อาหารญี่ปุ่น” ยังครองใจผู้บริโภคชาวไทยอย่างเหนียวแน่น ไม่ใช่แค่เพียงมื้อพิเศษในโอกาสพิเศษอีกต่อไป แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการกินที่คนไทยหลายคนนิยมเลือกรับประทานในชีวิตประจำวัน
จับตาเทรนด์ Biodiversity มาแรง!
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) กำลังเป็นมาตรฐานใหม่ด้าน ESG ที่ประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น โดย “ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS”
พาอัตลักษณ์ไทยไปExpo2025
ยังไม่จบกับงานมหกรรมของโลกอย่าง Expo 2025 Osaka Kansai ที่จัดขึ้น ณ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 13 เม.ย.-13 ต.ค.2025 ถือเป็นงานสุดยิ่งใหญ่ที่ทั้งผู้ร่วมงานและเจ้าภาพอย่างญี่ปุ่นเองก็ลงทุน ลงแรงจัดได้อย่างอลังการ