รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน โดยมีหลายฝ่ายมองว่าการที่ตลาดหุ้นไทยเป็นแบบนี้ ส่วนหนึ่งเพราะสภาพเศรษฐกิจของไทยโดยรวมไม่มีความคึกคัก ขณะเดียวกัน ตัวหุ้นหรือตัวธุรกิจของไทยก็ขาดเสน่ห์ เป็นธุรกิจแบบยุคเก่า ที่มองอนาคตแล้วดูเหมือนจะไม่สามารถทำกำไรได้ ทั้งหมดทำให้เงินลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ ต่างก็หนีและหันไปลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

แน่นอนปัญหาเหล่านี้กระทบความเชื่อมั่นต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้รัฐบาลไม่อาจนิ่งนอนใจ ปล่อยให้ตลาดเป็นไปตามยถากรรมได้ โดยนับตั้งแต่ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้ามากุมบังเหียนดูแลเศรษฐกิจ

ก็พยายามงัดหลายมาตรการออกมาเพื่อพยุงตลาดหุ้น โดยเฉพาะการสร้างแรงจูงใจทางภาษีผ่านการซื้อกองทุน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการปรับเกณฑ์การลงทุน กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG Fund) โดยจะมีการปรับเงื่อนไขลดหย่อนสูงสุดได้ 3 แสนบาท (เดิม 1 แสนบาท) และลดเวลาการถือครองเหลือ 5 ปี (เดิม 8 ปี) รวมถึงไม่มีข้อจำกัดเรื่องการลงทุนทุกปี และวงเงินขั้นต่ำในการซื้อขาย

โดยจากผลการศึกษาพบว่า เงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทุก 1 หมื่นล้านบาท จะส่งผลต่อดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) 25-27 จุด ก็ถือเป็นอีกความหวังที่จะมาช่วยพยุงหุ้นไทยโดยรัฐบาลและคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาหลังเปิดขาย 4-5 เดือนสุดท้ายไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับ Thai ESG ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินการเพียง 1 เดือน และมีเม็ดเงินลงทุน 6,000 ล้านบาท

ซึ่งหากเทียบแบบบัญญัติไตรยางศ์ หากเงิน 1 หมื่นล้านบาท หนุนหุ้นโต 25-27 จุด การที่เม็ดเงินใหม่เข้ามา 3-4 หมื่นล้านบาท น่าจะผลักดันให้หุ้นโตได้เกิน 100 จุด

แต่ล่าสุดรัฐบาลยังไม่หยุด เพิ่งชงขยายกองทุนวายุภักษ์รอบใหม่เข้า ครม. วางเป้าระดมทุน 1-1.5 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินใหม่มาพยุงตลาดทุน และเป็นการเชื้อเชิญให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในไทยด้วย โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนรวมถึง 5 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินจากการเสนอขายให้ผู้ลงทุนทั่วไปอีก 1.5 แสนล้านบาท เข้ามาช่วยหนุนตลาดหุ้นไทยให้ฟื้นตัวได้

 เรื่องนี้ บล.กสิกรไทย คาดว่าผลกระทบเชิงบวกสุทธิต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( SET Index) อยู่ที่ราว 130-200 จุด หรือประมาณ 10-15% หากเม็ดเงินใหม่ที่ระดมมานำไปใช้ซื้อหุ้นในตลาด โดยกลุ่มพลังงานและธนาคารจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการเพิ่มทุนใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ในครั้งนี้

เบื้องต้นกระทรวงการคลังเตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนประเภท ก. วงเงิน 100,000-150,000 ล้านบาท สำหรับนักลงทุนทั่วไป และจะเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงเดือน ก.ย.นี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการออมแก่ประชาชน

 และแน่นอนว่า หลังจากเงินก้อนนี้ไหลเข้าไปในตลาด น่าจะมีส่วนไม่มากก็น้อยในการช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นกลับมาดีดตัวขึ้นอีกครั้ง.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research