สัมปทานสายสีเขียวยังไม่จบ

เป็นประเด็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เลื่อนการพิจารณาวาระขอต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร กับบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ระยะเวลา 30 ปี (ปี 2572-2602) ออกไปก่อน โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมหารือกันให้ได้ข้อสรุปในประเด็นที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีความเห็นแย้งกันอยู่

ทำให้ในเวลาต่อมา กระทรวงคมนาคม นำโดย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ตั้งโต๊ะชี้แจงแถลงไขกรณีการเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า การเสนอความเห็นฯ ของกระทรวงคมนาคม ได้ยึดหลักความถูกต้องและประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนพึงจะได้รับเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะเรื่องอัตราค่าโดยสาร, การกำหนดเงื่อนไขการเข้าระบบตั๋วร่วมที่ครอบคลุมทุกโครงข่าย และความถูกต้องครบถ้วนของขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

เหตุผลที่กระทรวงคมนาคมเห็นว่าผลการเจรจา และร่างสัญญาที่ กทม.เสนอ ครม. ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและราชการ มีดังนี้ 1.เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ ในร่างสัญญาฯ จะยกเว้นค่าแรกเข้าเฉพาะระบบเปลี่ยนถ่ายมาจากโครงการฯ ภายใต้ระบบตั๋วร่วมเท่านั้น โดยที่ระบบตั๋วร่วมต้องไม่มีการแก้ไขระบบที่ติดตั้งไว้เดิม ซึ่งไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินและโอนภาระทางการเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ รฟม.กับ กทม. ที่กำหนดให้ กทม.ยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ หรือค่าธรรมเนียม หากผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. โดยระบบรถไฟฟ้าที่ผู้โดยสารขึ้นลำดับแรกจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าระบบ

2.รายได้กรณีรัฐดำเนินการเอง จากรายงานการศึกษาแนวทางการดำเนินการและผลสรุปการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บทที่ 5 มีผลสรุปว่า กรณีรัฐดำเนินการเอง ปี 2562-2602 จะมีรายได้รวม 1,577,141 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย 1,109,312 ล้านบาท ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิ 467,822 ล้านบาท กรณีเอกชนดำเนินการ พบว่า ภาครัฐจะมีกระแสเงินสดสุทธิเพียง 32,690 ล้านบาท ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ากรณีรัฐเป็นผู้จ้างเดินรถจะทำให้รัฐมีกระแสเงินสดสุทธิมากกว่ากรณีให้เอกชนดำเนินการสูงถึง 435,132 ล้านบาท

3.การคิดอัตราค่าโดยสารไม่เป็นไปตาม MRT Assessment Standardization การกำหนดค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท โดยตามร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีเงื่อนไขจะเริ่มใช้หลังวันที่ 5 ธ.ค.72 ดังนั้นช่วงระหว่างรอต่อสัญญาทำให้ปัจจุบันค่าโดยสารตลอดสายอยู่ที่ 158 บาท แต่ กทม.มีการยกเว้นค่าแรกเข้า จึงเหลือค่าโดยสารที่ 104 บาท

ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยใช้รูปแบบค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามระยะทาง ตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบรายได้ค่าโดยสารจากสูตร MRT และข้อเสนอของ BTS พบว่า ข้อเสนอของ BTS มีรายได้ค่าโดยสารมากกว่าแบบ MRT ประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ดังนั้นการคิดค่าโดยสารแบบ MRT Assessment Standardization จะทำให้ผู้โดยสารได้รับประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูกลง โดยค่าโดยสารจะอยู่ที่ประมาณ 51 บาท และรัฐบาลช่วยลดค่าครองชีพให้ผู้โดยสารได้ปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท และ 4.ในร่างสัญญาฯ ไม่มีเงื่อนไขที่ระบุชัดในการลดค่าครองชีพให้ประชาชน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา สภาองค์กรของผู้บริโภคจัดเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “รถไฟฟ้าต้องถูกลง ทุกคนต้องขึ้นได้ ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยได้หรือไม่” โดยมีว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 4 คน คือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ผู้สมัครอิสระ, นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์, นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคก้าวไกล และนางรสนา โตสิตระกูล ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ผู้สมัครอิสระ เข้าร่วม ได้แสดงความเห็นไปในทางเดียวกัน คือคัดค้านการขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมองว่าราคาโดยสาร 65 เป็นภาระประชาชน และได้แนะนำโอนโครงการสายสีเขียวให้รัฐบาลดูแลจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด

แน่นอนว่า เรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้รับทราบแนวทางการแก้ปัญหาของร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยกลับไปทำคำชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นของกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 และนำเข้าสู่การประชุมพิจารณา ครม.ครั้งต่อไปโดยเร็ว ซึ่งเรื่องการต่อสัมปทานสายสีเขียวยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองว่าท้ายที่สุดแล้วบทสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท