เดินหน้าสานต่อคดีโฮปเวลล์

เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง ภายหลังศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 81-83/2565 โดยมีมติกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น กรณีให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ่ายค่าชดเชยค่าตอบแทนตามสัญญาสัมปทานให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำนวน 24,000 ล้านบาท เป็น ให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

หากใครได้ติดตามที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานสำหรับคดีมหากาพย์ค่าโง่โฮปเวลล์ นับตั้งแต่ปี 2551 ระหว่าง รฟท. กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) สำหรับคดีนี้เริ่มต้นมาจากในช่วงปี 2533 มีการเปิดประมูลโครงการถนนและทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง ยักษ์ใหญ่แห่งวงการก่อสร้างของฮ่องกง และมีการเซ็นสัญญาในวันที่ 9 พ.ย.2533 โดยสัญญาสัมปทานมีอายุยาวนานถึง 30 ปี ซึ่งบริษัทโฮปเวลล์จะเป็นผู้ลงทุนออกแบบเองทั้งหมด วงเงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 8 ปี

ต่อมาการก่อสร้างเกิดล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้มาก โดยบริษัทโฮปเวลล์อ้างเหตุที่ก่อสร้างล่าช้าเนื่องจาก รฟท.ไม่ส่งมอบที่ดินให้ได้ตามข้อตกลง ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงินและปัญหาเศรษฐกิจหลายด้าน ทำให้ต้องล้มเลิกโครงการและเริ่มทำต่อในหลายรัฐบาล ก่อนจะหยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงปี 2540-41 ต่อมาบริษัทโฮปเวลล์ยื่นฟ้องกระทรวงคมนาคม และ รฟท. จึงเป็นที่มาของการฟ้องร้องกันจนถึงปัจจุบัน

จนล่าสุด ฝั่งรัฐได้ตั้งคณะกรรมการศึกษากรณีการจ่ายค่าชดเชยให้บริษัทโฮปเวลล์ โดยได้รับข้อมูลมาว่าการจ่ายเงินให้โครงการโฮปเวลล์ไม่น่าจะถูกต้อง ที่ผ่านมามีข้อพิรุธหลายประการที่หน่วยงานของรัฐไม่นำไปเป็นคู่ต่อสู้คดี ซึ่งคณะทำงานได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุกฉบับอย่างรอบคอบ และเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งรื้อคดีค่าโง่โฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้าน

หลังจากนี้ก็ต้องจับตาดูกันว่าแนวทางการต่อสู้คดีในอนาคตของกระทรวงคมนาคม โดย รฟท.นั้นจะนำประเด็นอะไรมาต่อสู้ ทั้งประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของอายุความ หรือการนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี และประเด็นมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงประเด็นการจดทะเบียนของบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ของบริษัทที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนั้นยังมีประเด็นบริษัทที่มาลงนามกับภาครัฐไม่ได้เป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโดยคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดวันนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐได้ต่อสู้คดีใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ไม่จบสิ้นกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด อย่างไรก็ตามจากคำสั่งครั้งนี้ต้องขอบพระคุณคณะผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุดด้วย

ด้านนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท. ให้รายละเอียดหลังคำตัดสินของศาลว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีกับภาครัฐ และหลังจากนี้จะต้องเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าต่อไปตามกฎหมาย ซึ่งยืนยันว่าทางกระทรวงคมนาคมและ รฟท.มีความพร้อมในเรื่องนี้ และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับรูปคดีที่เกิดขึ้นจนถึงที่สุดต่อไป โดยส่วนตัวมั่นใจว่าการต่อสู้คดีในครั้งนี้เราจะได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมในครั้งต่อไป

นอกจากการเตรียมตัวในเรื่องกฎหมายแล้ว ทาง รฟท.ยังได้มีการหารือกันในเรื่องของการวางรูปคดีของเรื่องนี้ให้ดีที่สุด เพื่อให้ศาลได้ค้นหาความจริงได้อย่างเต็มที่ จนนำไปสู่ดุลพินิจที่ถูกต้อง ที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้คดีที่มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคมกับ รฟท. ซึ่งเรื่องนี้ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มอบนโยบายในการดำเนินการให้เป็นไปตามกกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด และได้มีการติดตามในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้แล้ว ยังมีหลากหลายภาคส่วนที่ได้มาแสดงความยินดีกับคำตัดสินในครั้งนี้ และให้รายละเอียดว่า หลังจากนี้ต้องกลับมาพิจารณาคดีใหม่เริ่มที่ศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งประเด็นปัญหาในข้อเท็จจริงจบไปแล้ว เท่ากับว่าวันนี้จะมีเฉพาะประเด็นข้อกฎหมายเท่านั้น ทั้งนี้ต้องรอว่าศาลปกครองกลางจะกำหนดนัดอย่างไร แน่นอนว่าคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสินออกมานั้นต้องถือว่าเป็นโอกาสประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาทั้งรัฐบาล โดยเฉพาะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ก็เต็มที่มาโดยตลอด ฉะนั้นเรื่องนี้ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร ทั้งนี้ถ้าตอบโดยอิงข้อกฎหมายคิดว่าน่าจะประสบผลสำเร็จ.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท