16 มี.ค.2565 - เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ระบุว่า
เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และอัตราการครองเตียงในสถานพยาบาลภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความจำเป็นเหมาะสมและกรอบเวลาในการให้การใช้สิทธิ UCEP กลับเข้าสู่ระบบปกติ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ดังนั้น เพื่อเป็นการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ จึงสมควรยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถานพยาบาล จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563
(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
(3) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สำหรับประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และอัตราการครองเตียงในสถานพยาบาลภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความจำเป็นเหมาะสมและกรอบเวลาในการให้การใช้สิทธิ UCEP กลับเข้าสู่ระบบปกติ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ดังนั้น เพื่อเป็นการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ จึงสมควรยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และมาตรา 36 วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถานพยาบาล จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563 อ่านต้นฉบับ 1 2
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น ให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ 79 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
ปธ.วิปรัฐบาล บอกคนไม่เห็นด้วยร่างกม.จัดระเบียบกลาโหม อยากให้มีรัฐประหาร ก็ไปค้านได้
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)
'ภูมิใจไทย' ยึดหลัก การเมืองไม่แทรกแซงกองทัพ ชี้เอาเวลาไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจดีกว่า
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์อีกครั้ง กรณีนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ คณะเตรียม เสนอร่างพรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
'อนุทิน' สวน 'โรม' ยันการไฟฟ้าฯไม่หนุนว้าแดงผลิตยาเสพติด ชี้ขายไฟต้องให้หน่วยความมั่นคงเห็นชอบ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย กล่าวถึง นายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคประชาชน เปิดเผยข้อมูลว่าว้าแดงผลิตยาเสพติด โดยใช้ไฟฟ้าจากไทย ว่า วันนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะชี้แจงในเบื้องต้น ซึ่งในข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามที่นายรังสิมันต์พูดไว้
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)