'หมอยง' ไขข้อข้องใจ ติดโควิดกักตัวกี่วันถึงไม่แพร่คนอื่น

4 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผู้ป่วย covid 19 ควรป้องกันไม่ให้เชื้อไปติดผู้อื่นนานเท่าไหร่

ระยะนี้มีผู้ป่วยจำนวนมาก เวลาในการเก็บตัวของผู้ติดเชื้อโควิด 19 หรือป้องกันการติดเชื้อสู่ผู้อื่น จะเป็นกี่วัน ในระยะหลังเราลดระยะลงมา จึงมีการตั้งคำถามว่า จะเอากี่วันแน่ ที่ถือว่าเป็นระยะเวลาแพร่เชื้อ

จากการศึกษา เผยแพร่ถึง 2 วารสาร คือวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน JAMA และใน New England Journal of Medicine ที่เป็นวารสารชั้นนำของโลก โดยดูจากการเพาะเชื้อ ถ้าไวรัสยังมีชีวิตอยู่ก็สามารถเพาะเชื้อเจริญเติบโตขึ้นมาได้ในเซลล์เพาะเลี้ยง แสดงว่ายังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้

จากการศึกษาทั้งสองวารสาร มีผลที่คล้ายกันมาก คือเชื้อจะลดลงหลัง 7 วันไปแล้ว และจะพบได้น้อยมาก ต้องหลัง 10 วันไปแล้ว โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ

ระยะเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ติดเชื้อแบบมีอาการ หรือมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ระยะเวลาก็ยังคงเหมือนกัน แต่ระดับปริมาณไวรัส และเปอร์เซ็นต์การตรวจพบในผู้มีอาการน้อยจะพบได้น้อยกว่า

เช่นเดียวกันผู้ที่ฉีดวัคซีนมาแล้วหรือไม่ได้ฉีดวัคซีน ระยะเวลาการแพร่เชื้อก็ไม่ได้ต่างกัน เป็นเพียงต่างกันในปริมาณของไวรัส และอัตราการตรวจพบในผู้ที่ฉีดวัคซีนมาแล้วจะน้อยกว่า แต่ระยะเวลา ก็ยังคงเป็น 10 วันเหมือนเดิม ขออนุญาตเอารูปจากวารสารมาลงให้ดู

ดังนั้น ในผู้ที่ติดเชื้อ ควรกักตัวและป้องกันตัวเองอย่างน้อย 10 วัน จึงจะนับว่าปลอดภัย แต่สำหรับบางคน เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว เอาเป็นว่า 7 วัน ที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน และพออนุโลม 3 วันหลัง ถ้าจะออกไปไหนจะต้องพึงสำนึกเสมอว่า เรายังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ จะต้องป้องกันตัวเองเต็มที่ ไม่ให้ไปแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น อย่างน้อยให้ครบ 10 วัน

การตรวจ ATK ส่วนใหญ่ ATK จะเป็นบวก ล้อตามกับการเพาะเชื้อ แต่เราคงไม่เอาผล ATK มาเป็นตัวตัดสินว่า ATK เป็นลบแล้วจะไม่แพร่เชื้อ เพราะผลตรวจ ATK มีความไวต่ำกว่า และผลอาจมีผลบวกปลอมหรือผลลบปลอมได้ ในทางปฏิบัติผู้ที่ติดเชื้อ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจ ATK ซ้ำ เป็นการเปลืองทรัพยากร เพราะไม่ว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบ เราก็จะต้องป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 10 วันอยู่ดี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย