ชงยกเลิก 'พรก.ฉุกเฉิน' ยุบ 'ศบค.' มีผล 1 ต.ค.นี้ ให้ สธ.รับไม้ต่อ

22 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด– 19 (ศปก.ศบค.) ว่า ที่ประชุมวันนี้การหารือเรื่องสำคัญ ได้แก่การรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันที่ดีขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยลดลง ผู้เสียชีวิตลดลง กระทรวงสาธารณสุขจะต้องเป็นผู้ดำเนินการต่อเพื่อให้ตัวเลขน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

เรื่องที่สองคือแผนการเปลี่ยนผ่านสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังนั้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รับความเห็นชอบจากศบค.ไปแล้ว และมีการประกาศเป็นโรคติดต่อที่ไม่ร้ายแรงเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งศปก.ศบค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาแผนรองรับ เพื่อเตรียมกลไกต่างๆให้กลับไปสู่กลไกปกติของประเทศ คือให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพฯ เป็นกลไกบริหารจัดการ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขทำแผนเพื่อใช้กลไกเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนทราบแนวทางปฏิบัติหลังการเปลี่ยนผ่านว่าต้องทำอย่างไร รวมทั้งองค์กรต่างๆ จะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติ รวมถึงต้องมีแผนเผชิญเหตุรองรับ โดยย้ำว่ากระทรวงสาธารณสุขมีแผนรองรับช่วงการเปลี่ยนผ่านเพื่อไม่ให้กลับไปสู่ความเสียหายขนาดใหญ่

พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ที่ประชุม ศปก.ศบค. เห็นชอบเตรียมเสนอศบค. ชุดใหญ่ ที่จะมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกฯเป็นประธาน เพื่อพิจารณายกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 23 ก.ย. หากที่ประชุมเห็นชอบยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ต้องยุบศบค.อย่างแน่นอน รวมทั้งยุบหน่วยงานภายใต้ศบค. และคำสั่งต่างๆที่ออกโดยศบค. ก็ต้องยกเลิกทั้งหมด และจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. แล้วจะมีกลไกรองรับคือคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งเราเตรียมการมาเป็นลำดับไว้แล้ว โดยจะให้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่เดิมมีอยู่แล้วแต่อาจต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างไรก็ตามการประชุมวันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของศปก.ศบค. ยกเว้นศบค.ชุดใหญ่ จะมีข้อสั่งการอะไรพิเศษที่ต้องดำเนินการต่อ

ถามว่า การเสนอให้มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในช่วงนี้ สืบเนื่องจากประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคใช่หรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยว แต่เราดูภาพรวมของประเทศ ซึ่งหัวใจสำคัญคืออยากให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศกลับมาสู่ภาวะปกติ และอยากให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้ ซึ่งที่ผ่านมาตัวเลขด้านการท่องเที่ยวดีมาก ชดเชยกับภาวะวิกฤตเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือสถานการณ์ของโลก

เมื่อถามว่า มีข้อกังวลในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้หรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า สิ่งที่กังวลเป็นพิเศษคือเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้ายกเลิกแล้วไม่ใช่ถอดหน้ากากหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการเลย ยังต้องมีมาตรกรป้องกันส่วนบุคคล เพราะจะเห็นว่าทุกวันนี้ยังมีคลัสเตอร์ย่อยๆ ในกลุ่มสังคมที่มีการรวมตัวกัน แต่ภาพรวมภูมิคุ้มกัน ประชาชนในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มียาเพียงพอ โรงพยาบาลและหมอเพียงพอ เมื่อถามว่าจะสามารถเปิดให้ทุกคนใช้ชีวิตปกติ ถอดหน้ากากได้ในชีวิตประจำวันเหมือนที่สหรัฐฯหรือประเทศอื่นๆที่มีการประกาศไปแล้ว ช่วงเวลาใด พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ช่วงนี้เราก็ปกติ ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลทำมาจะเห็นว่าทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เสียหายทีเดียว โดยเราต้องคำนึงความเสียหายของประชาชนเป็นหลัก จึงต้องค่อยๆปรับตัว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลห่วงยอดโควิดพุ่ง แต่ขอให้มั่นใจโรงพยาบาลพร้อมรับมือ!

'เกณิกา' เผยรัฐบาลห่วงใยยอดโควิดยังพุ่งหลังสงกรานต์ ขอให้ประชาชนมั่นใจโรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมรับมือผู้ป่วยโควิด แนะใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่แออัด รีบตรวจ ATK หากมีอาการคล้ายหวัด

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย