ผลวิจัยสหรัฐชี้ติดเชื้อ 'โควิด' เสี่ยงโรคสมอง-ระบบประสาท

23 ก.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 339,797 คน ตายเพิ่ม 853 คน รวมแล้วติดไป 618,925,607 คน เสียชีวิตรวม 6,535,597 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น รัสเซีย ไต้หวัน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 90.83 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 75.26

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 7 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

…อัปเดตความรู้ Long COVID

“แนวทางการดูแลผู้ป่วย Long COVID” ล่าสุด Greenhalgh T และคณะ ได้เผยแพร่แนวทางการดูแลผู้ป่วย Long COVID ในวารสารการแพทย์ระดับโลก British Medical Journal เมื่อวานนี้ 22 กันยายน 2565

แนวทางนี้ครอบคลุมตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินปัจจัยเสี่ยง การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และแนวทางการดูแลรักษาและส่งต่อ (ดังรูปแรก)

“การติดเชื้อโรคโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางสมองและระบบประสาทในระยะยาว”

Xu E และคณะ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลวิจัยสำคัญในวารสารการแพทย์ระดับโลก Nature Medicine เมื่อวานนี้ 22 กันยายน 2565

โดยดูอัตราการเกิดโรคทางสมองและระบบประสาท ณ 12 เดือน ระหว่างกลุ่มคนที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 154,068 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่เคยติดเชื้อ จำนวนกว่า 11 ล้านคน ทั้งในช่วงเวลาเดียวกันและในอดีต จากฐานข้อมูล the US Department of Veterans Affairs ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรสูงอายุ อายุเฉลี่ยราว 60 ปี (±15 ปี) และเป็นเพศชายราวร้อยละ 90

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการผิดปกติทางสมองและระบบประสาท มากกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อถึง 1.42 เท่า โดยมีอัตราการเกิดเฉลี่ย 70 คนจาก 1,000 คน ณ 12 เดือน หรือราว 7%

ปัญหาทางสมองและระบบประสาทนั้นเกิดได้ทั้งในคนที่ติดเชื้อที่แล้วอาการน้อย และที่อาการรุนแรง เกิดได้ตั้งแต่อาการผิดปกติด้านความคิดความจำ อารมณ์ หลอดเลือดสมองแตกตีบตัน สมองอักเสบ ชัก ไมเกรน การรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ และอื่นๆ

ผลการวิจัยนี้ตอกย้ำให้เราตระหนักถึงผลกระทบระยะยาวหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 เพราะก่อนหน้านี้ก็มีงานวิจัยที่พิสูจน์ให้เห็นความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแม้จะผ่านไป 12 เดือนหลังจากติดเชื้อก็ตาม และงานวิจัยนี้ก็เพิ่มเติมให้เห็นว่าเกิดความเสี่ยงต่อสมองและระบบประสาทด้วยเช่นกัน

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวเสมอ ไม่หลงต่อกิเลสหรือการชี้นำผิดๆ ว่าจะใช้ชีวิตปกติแบบในอดีต เพราะการระบาดของโรคยังมีอยู่มาก

ติดแล้วไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยได้ตายได้ และเกิดปัญหา Long COVID ได้ แม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม ดังนั้นพฤติกรรมตัวและความใส่ใจสุขภาพของตัวเราเองจึงมีความสำคัญมาก

ใส่หน้ากากนะครับ ใส่อย่างถูกต้อง หากติดเชื้อควรแยกตัวจากคนอื่นตามความรู้ทางการแพทย์ที่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว การที่ติดเชื้อแล้วออกไปใช้ชีวิต โอกาสป้องกันการแพร่เชื้อจะเป็นไปได้ยากมาก และจะนำไปสู่การเจ็บป่วย และความสูญเสียตามมาได้

คนที่ป่วย ควรบอกคนใกล้ชิดทั้งที่บ้านและที่ทำงาน และแยกตัวจากคนอื่น รักษาตัวให้หายดีเสียก่อน เจ้าของกิจการ ควรใส่ใจดูแลบุคลากร ไม่ควรให้คนป่วยทำงาน เพราะเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่เชื้อให้กับบุคลากรในที่ทำงาน ลูกค้าหรือผู้มารับบริการ เกิดความสูญเสีย และกระทบต่อภาพลักษณ์ชื่อเสียงของกิจการในที่สุด

ทุกคนควรระลึกถึงบทเรียนในรอบปีกว่าที่ผ่านมาว่าเกิดอะไรขึ้น และเพราะเหตุใด ควรป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นมาอีก

อ้างอิง

1.Greenhalgh T et al. Long covid—an update for primary care. BMJ. 22 September 2022

2.Xu E et al. Long-term neurologic outcomes of COVID-19. Nature Medicine. 22 September 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทีมบาสอเมริกา แบโผ 11 ผู้เล่นจัดเต็ม ลุยศึกยัดห่วงโอลิมปิก 2024 ที่ฝรั่งเศส

บาสเกตบอลทีมชาติสหรัฐอเมริกา ประกาศรายชื่อ 11 ผู้เล่น ชุดลุยการแข่งขันยัดห่วงในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่เรียบร้อย นำทัพมาโดย เลบรอน เจมส์, สตีเฟน เคอร์รี และเควิน ดูแรนต์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย