งานวิจัยชี้ เข็มกระตุ้นเกิน 3 เข็มขึ้นไป ไม่ได้ช่วยให้ภูมิคุ้มกันชนิดเม็ดเลือดขาว T cell สูงขึ้น

'ดร.อนันต์' เผยงานวิจัย เข็มกระตุ้นที่เกิน 3 เข็มขึ้นไป ไม่ได้ช่วยให้ภูมิคุ้มกันชนิดเม็ดเลือดขาว T cell สูงขึ้น ประโยชน์ของการกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนจะเป็นจากแอนติบอดีเป็นหลัก แต่ในร่างกายได้ไม่นานเท่า T cell การป้องกันการติดเชื้อจึงยาก

23ธ.ค.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า

ตอนนี้งานวิจัยอย่างน้อย 2 ชิ้นให้ข้อมูลออกมาในแนวเดียวกันว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นที่เกิน 3 เข็มขึ้นไป ไม่ได้ช่วยให้ภูมิคุ้มกันชนิดเม็ดเลือดขาว T cell สูงขึ้น เนื่องจากวัคซีนเป็นการกระตุ้นด้วยโปรตีนหนามสไปค์ซึ่งมีส่วนของโปรตีนที่ T cell จะจับได้จำกัดอยู่แล้ว เข็มกระตุ้นที่ฉีดซ้ำไปเหมือนไม่ทำให้ระดับของ T cell สูงขึ้นเหมือนที่พบในระดับของแอนติบอดี

ภูมิคุ้มกันที่จะได้ประโยชน์จากวัคซีนเข็มกระตุ้นดูเหมือนจะเป็นจากแอนติบอดีเป็นหลัก ซึ่งแอนติบอดีอยู่ในร่างกายได้ไม่นานเท่า T cell และ ความจำเพาะของแอนติบอดีมีผลโดยตรงต่อการทำงานของแอนติบอดีในการยับยั้งการติดเชื้อซึ่งจะลดลงตามสายพันธุ์ไวรัสที่เปลี่ยนแปลงไป การป้องกันการติดเชื้อจึงยากมากๆจากภูมิของวัคซีน (แตกต่างจากภูมิของการติดเชื้อซึ่งร่างกายสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวรัสสายพันธุ์ปัจจุบันมากกว่ามาก)

ดังนั้นประโยชน์ของการกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนในปัจจุบันที่เห็นชัดคือ การสร้างแอนติบอดีต่อสไปค์ให้มากขึ้นเพื่อลดอาการรุนแรงของโรค คือ เพื่อช่วยจัดการกับเซลล์ที่ติดเชื้อและทำลายแหล่งผลิตไวรัส ทำให้ไวรัสลดจำนวนลงไวขึ้น ซึ่งเป็นกลไกการป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อนั้น ซึ่งในบางครั้งแอนติบอดีอาจทำงานได้ไม่เต็มที่ จากหลายสาเหตุเช่น สร้างออกมาน้อยไม่เพียงพอในผู้ป่วยบางราย หรือ ความจำเพาะต่อสไปค์ไม่มากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ หรือ สร้างขึ้นมาช้ากว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหนักและเสียชีวิตได้ ดังนั้น ถ้าเป็นเคสแบบนี้ยาต้านไวรัสจะมีบทบาทสำคัญมากๆในการช่วยลดไวรัสในร่างกายลดอีกแรง

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์