
26 พ.ย. 2564 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทะลุ 260 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 534,104 คน ตายเพิ่ม 6,124 คน รวมแล้วติดไปรวม 260,231,398 คน เสียชีวิตรวม 5,198,038 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด ยังเป็นเช่นเดิมคือ เยอรมัน สหราชอาณาจักร รัสเซีย ฝรั่งเศส และโปแลนด์ จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 95.72 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 93.74
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึง 75.9% ของทั้งโลก พอๆ กับจำนวนเสียชีวิตเพิ่มที่คิดเป็น 64.58% เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก
…สำหรับสถานการณ์ไทยเรา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 6,335 คน สูงเป็นอันดับ 20 ของโลก หากรวม ATK อีก 2,391 คน จะขยับเป็นอันดับ 19 ของโลก เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากตุรกีและเวียดนาม
…ข้อมูลจาก Worldometer เช้านี้ จำนวนติดเชื้อใหม่สูงสุดสิบอันดับแรกมีประเทศยุโรปเป็นแผง ตั้งแต่เยอรมัน สหราชอาณาจักร รัสเซีย ฝรั่งเศส โปแลนด์ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ยูเครน…
เยอรมันติดเพิ่มกว่า 76,000 คน ถือว่าเกินเจ็ดหมื่นติดต่อกัน 2 วันแล้ว และตายกว่า 300 คนติดต่อกันมา 3 วัน สะท้อนว่ากำลังเผชิญระบาดรุนแรงจริง
คลื่นระบาดจากยุโรปจะขยายไปยังที่อื่นๆ ในโลกอย่างแน่นอน รวมถึงไทย ดังที่เห็นจากประสบการณ์การระบาดตลอดสองปีที่ผ่านมา
มีจุดเปราะบางที่ทำให้เกิดปัญหาระบาดซ้ำรุนแรงอยู่สองเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนคือ “ชีวิตเสรีที่ลดการป้องกันตัวลง” ไม่ว่าจะการดำรงชีวิตประจำวัน ท่องเที่ยว เดินทาง หรือทำมาหากิน และภูมิคุ้มกันที่ลดลงตามกาลเวลา แม้ฉีดวัคซีนไปครบสองโดส ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันโรคลดง
…สำหรับไทยเราจะทำอย่างไรดี? ท่ามกลางสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของเราคือ ระบาดยังคงรุนแรงต่อเนื่อง กระจายทั่ว เปิดประเทศ ท่องเที่ยวเดินทาง และทำมาหากิน รวมถึงประชาชนจำนวนมากได้รับวัคซีนค็อกเทลหลากหลายชนิด และยังคงมีความไม่ชัดเจนในเรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับระยะเวลาการคงอยู่ของภูมิคุ้มกันระยะยาว และประสิทธิภาพจริงในการป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันป่วย และลดการเสียชีวิต
นอกจากเรื่องรณรงค์ให้คนไปฉีดวัคซีนกันทั้งเข็มแรก เข็มสอง และเข็มสามแล้ว สิ่งที่เราจะทำได้เพื่อป้องกันหรือลดทอนแรงกระเพื่อมจากการระบาดซ้ำที่กำลังจะมาคือ “การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดเป็นกิจวัตร” ใส่หน้ากากเสมอ และเว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร
…B.1.159 เป็นสายพันธุ์ไวรัสที่กลายพันธุ์กว่า 50 แห่ง โดยมีการเปลี่ยนถึง 32 แห่งที่บริเวณหนามบนเปลือกนอกของไวรัส ล่าสุดระบาดมากขึ้นในทวีปแอฟริกา ถือว่าเป็นที่น่าจับตามองและติดตามผลการวิจัยว่าตัวนี้จะมีศักยภาพในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันมากน้อยเพียงใด แพร่ได้ไวขึ้นกว่าเดลตาหรือไม่ และที่สำคัญคือก่อให้เกิดป่วยรุนแรงและเสียชีวิตมากขึ้นหรือเปล่า คาดว่าอีกไม่กี่สัปดาห์น่าจะมีข้อมูลเหล่านี้ออกมาเผยแพร่ให้ทราบกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดักคอ 'ทักษิณ' อย่างัดมุกติดโควิด เบี้ยวขึ้นศาล 13 มิ.ย.
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังอ้ำอึ้งเรื่องไปศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
น่าห่วง! โควิด-19 พุ่ง ยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิต ทำลายสถิติรายสัปดาห์ของปีนี้อีกครั้ง
ตัวเลขโควิด-19 สัปดาห์ที่ 22 (25-31 พ.ค. 2568) อัปเดต 05.20 น.จาก delayed report ตอนนี้เพิ่มจาก 65,846 ราย ตาย 3 ราย ไปเป็น 73,065 ราย ตาย 6 ราย
รัฐบาลเตือนระวังสุขภาพหลัง โควิด-19 กลับมาระบาดในหลายภูมิภาค
นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกประกาศเตือนสถานการณ์ก
'หมอยง' เผยเดือนนี้จะเป็นเดือนที่โควิด 19 ระบาดสูงสุด และจะตามมาด้วยไข้หวัดใหญ่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิท