'นักไวรัสวิทยา' วิเคราะห์การระบาดของ'โอไมครอน' ในแอฟริกาใต้ ภูมิคุ้มกันมีส่วนช่วยได้

'ดร.อนันต์ -นักไวรัสวิทยา'วิเคราะห์การระบาดของ โควิด-19 สายพันธุ์ โอไมครอน ในจังหวัด Gauteng ของแอฟริกาใต้ ระบุ ภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะ T cell มีส่วนช่วยลดแรงกระแทกได้พอสมควร

1 ธ.ค.2564 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

โอมิครอนในจังหวัด Gauteng ของแอฟริกาใต้ พบการติดเชื้อไต่ขึ้นสูงกว่าการระบาดของ Wave ก่อนหน้านี้ แต่จำนวนเคสที่เข้าโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน และ ดูเหมือนจะขึ้นช้ากว่าช่วงการระบาดของเดลต้าในจังหวัดนี้ ซึ่งอาจแปลความแบบตรงไปตรงมาว่า ผู้ป่วยหนักของ Wave โอมิครอนช่วงแรกนี้น้อยกว่าตอน เดลต้าบุก

ซึ่งปัจจัยสำคัญอาจจะเป็น โอมิครอนไปติดกลุ่มคนที่อายุน้อย และ ยังไปไม่ถึงกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ และ ผู้มีโรคประจำตัว อีกปัจจัยคือ ประชากรของ Gauteng อาจจะมีภูมิคุ้มกันพอสมควรจากการระบาด Wave ต่างๆก่อนหน้านี้

และ จากวัคซีนที่มีการฉีดกันแล้ว ซึ่งภาพคงจะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆถ้าจำนวน ICU มีไม่มากเหมือนช่วงเดลต้า แสดงว่า ภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะ T cell คงจะมีส่วนช่วยลดแรงกระแทกได้พอสมควรทีเดียว

ที่มาของข้อมูล https://www.ft.com/.../c719bcaf-eef3-4f90-a0b4-5503c63865bd

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”