'ดร.อนันต์' เผยข่าวดีผู้แพ้ 'ถั่วลิสง-นม-ไข่'

28 ก.พ.2567 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ข่าวดีสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้อาหาร เช่น ถั่วลิสง นม ไข่ หลังจากงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร NEJM ระบุว่า ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดในรูปแบบแอนติบอดี ชื่อว่า Omalizumab สามารถลดความรุนแรงจากอาการแพ้อาหารเหล่านี้ได้ งานวิจัยได้แสดงผลการทดสอบในอาสาสมัคร 180 คน (เด็ก 177 และ ผู้ใหญ่ 3คน) ที่ผ่านการยืนยันด้วยการให้รับประทานถั่วลิสง และ อย่างอื่นอีกอย่างน้อย 2 อย่างจาก (นม ไข่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และ ถั่วชนิดต่างๆ) ว่ามีอาการแพ้จริงๆ โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับยาโดยการฉีดทุกๆ 2-4 สัปดาห์ เป็นเวลา 16-20 สัปดาห์ เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก หลังจากนั้นทำการทดสอบอาสาสมัครด้วยถั่วลิสง และ อาหารอื่นๆอีกครั้ง พบว่า 67% ของอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับยา สามารถรับประทานถั่วลิสง และ อื่นๆ ในปริมาณเท่ากับก่อนทำการทดสอบได้โดยไม่มีอาการแพ้เหมือนก่อนการทดสอบ เทียบกับ 7% ในกลุ่มยาหลอก การได้รับยา Omalizumab เหมือนเป็นการเพิ่มระดับของร่างกายที่สามารถทนต่ออาหารที่ก่อการแพ้ได้ให้สูงขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ได้รับยาหายจากการแพ้อาหารนั้น ดังนั้น ถ้าผู้ได้รับยาคิดว่าสามารถทานถั่วลิสงได้แล้ว และ เพิ่มปริมาณเกินกว่าที่ยาจะป้องกันได้ ก็จะสามารถเกิดอาการแพ้ได้อีกเช่นกัน

Omalizumab เป็นแอนติบอดีที่ออกแบบมาให้จับกับโปรตีน IgE ซึ่งเป็นโปรตีนของแอนติบอดีเช่นกัน แต่ IgE จะเป็นแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น จากอาหารที่รับประทานเข้าไป การฉีด Omalizumab ก็เป็นการควบคุมปริมาณ IgE ในร่างกายไม่ให้มีสูงจนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ แต่ เมื่อปริมาณสารก่อการแพ้มีมากเกิน Omalizumab จะเอาอยู่ IgE ก็จะสูงสร้างจนร่างกายตอบสนองในรูปของการแพ้นั่นเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์

นักไวรัสวิทยาแนะทำตัวเหมือนป้องกันโควิดสกัดไข้หวัดใหญ่ที่พุ่งช่วงนี้ได้

นักไวรัสวิทยาแจงรายละเอียดข้อมูลไข้หวัดใหญ่ไทยกับ WHO เตือนช่วงนี้ตัวเลขไทยพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แนะใช้ช่องป้องกันตัวเหมือนโควิด