นพ.ธีระยกผลวิจัยเมืองผู้ดีย้ำ Long COVID ก่อให้เกิดปัญหายืดเยื้อยาวนาน!

หมอธีระยกผลวิจัยระยะยาวจากแดนผู้ดีเรื่อง Long COVID ย้ำป้องกนตัวเองให้ห่างโควิดดีที่สุด เพราะหากติดแล้วมีโอกาสเกิดปัญหายืดเยื้อยาวนานแน่

15 มิ.ย.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ Long COVID เสี่ยงยืดเยื้อระยะยาว” ระบุว่า การศึกษาติดตามระยะยาวโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Glasgow สหราชอาณาจักร เผยแพร่ในวารสาร Nature Communications วันที่ 13 มิถุนายน 2566 ประเมินผู้ป่วย Long COVID 12,947 คน ณ 12 เดือน และ 4,196 คน ณ 18 เดือน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอาการผิดปกติตอน 6 เดือนแล้ว ส่วนใหญ่ 76% ณ 12 เดือนอาการคงเดิม ในขณะที่มี 12% อาการแย่ลง และ 12% อาการดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนใหญ่ 71% ณ 18 เดือน อาการคงเดิม ในขณะที่มี 14% อาการแย่ลง และ 15% อาการดีขึ้นกว่าเดิม

...ผลการศึกษานี้กระตุ้นให้เราตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ จะดีที่สุด เพราะโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด Long COVID หลังจากติดเชื้อจะอยู่ราว 10% และหลังติดซ้ำมีแนวโน้วเพิ่มขึ้นได้ราวสองเท่า แม้ว่าการได้รับวัคซีนครบเข็มกระตุ้นจะลดเสี่ยง Long COVID ได้ราว 16-45% ก็ตาม แต่หากเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว มีโอกาสยืดเยื้อยาวนาน

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน มีความสำคัญมาก จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
Natural history of long-COVID in a nationwide, population cohort study. Nature Communications. 13 June 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด