'หมอยง' ยก 5 เหตุผลอาการติดเชื้อโอมิครอนไม่รุนแรง

หมอยง

'หมอยง' ยก 5 เหตุผลที่เชื่อว่าไวรัสโอมิครอนมีอาการโรครุนแรงน้อยลง โดยเฉพาะทฤษฎีชาร์ล ดาร์วิน เชื่อต่อไปWHO เลิกนับผู้ติดเชื้อพร้อมยกเลิกหว่านแหตรวจ RT-PCR

05 ม.ค.2564 - นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด-19 โอมิครอน เหตุผลที่ทำให้อาการของโรครุนแรงน้อยลง” ระบุว่า โอมิครอน ก่อโรคโควิด-19 เหตุผลที่ทำให้อาการของโรครุนแรงน้อยลง

1.การติดเชื้อในเด็กเพิ่มมาก เด็กติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง อาการเหมือนหวัดหรือไม่มีอาการ อาการจะรุนแรงสูงตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

2.ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้วจำนวนมาก รวมทั้งผู้สูงอายุทำให้อาการของโรคลดลง

3.ด้วยตัวไวรัสเอง การศึกษาในสถานการณ์จริง เช่นในแอฟริกาใต้ ปรับตัวแปรต่าง ๆ แล้ว โอมิครอนสร้างความรุนแรงน้อยกว่าเดลตา

4.จากการศึกษาในเซลล์ทดลองไวรัสโอมิครอน ชอบเยื่อบุเซลล์ทางเดินหายใจส่วนต้นมากกว่าเนื้อเยื่อถุงลมปอด เป็นเหตุผลให้ไวรัสลงปอดได้น้อยกว่า

5.ตามหลักวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตามทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วิน สิ่งมีชีวิตจะต้องปรับตัวให้เหมาะสมเพื่อความอยู่รอด ไวรัสปรับตัวเข้าหาเซลล์เจ้าบ้าน เพื่อความอยู่รอด มนุษย์ติดเชื้อแล้วก็มีภูมิต้านทาน ไวรัสก็พยายามปรับตัว ให้อยู่กับเซลล์เจ้าถิ่นให้ได้ดีที่สุด ถ้าทำลายเซลล์เจ้าบ้านมากก็ไม่มีบ้านอยู่เหมือนกัน เชื่อว่าไวรัสทางเดินหายใจหลายตัว ในอดีตที่อุบัติขึ้นในระยะแรกก็ก่อให้เกิดความรุนแรงของโรค และปรับตัวเป็นโรคประจำถิ่น

ขอยกตัวอย่างประเทศเดนมาร์ก ในช่วงระบาดหนักปลายปี 2563 - 2564 เข้าใจว่าเป็นสายพันธุ์อัลฟาหรืออังกฤษ 20 ธันวาคม 2563 มีผู้ป่วย 4043 คน ค่าเฉลี่ย 7 วันอยู่ที่ 3,332 คนต่อวัน มีผู้เสียชีวิตวันละ 30 คน เฉลี่ย 7 วันอยู่วันละ 30 คนเช่นกัน มาระบาดในช่วงปีนี้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2564 มีผู้ป่วย 41,035 คน (10 เท่า) และค่าเฉลี่ย 7 วันในช่วงดังกล่าวเสียชีวิต 12 คนต่อวัน แสดงการเสียชีวิตในรอบที่แล้ว กับรอบใหม่ อัตราการตาย ต่อ ผู้ป่วย ต่างกันอย่างมาก

การติดเชื้อทั่วโลก ขณะนี้เพิ่มมากขึ้นวันละเป็นล้าน แต่อัตราตายโดยเฉลี่ยลดลงกว่าที่ผ่านมาในอดีตมาก ตัวเลขขณะนี้จะนับจำนวนผู้ป่วย เฉพาะผู้ที่ทำการตรวจยืนยันแล้วเท่านั้น ผู้ป่วยส่วนมากที่มีอาการ แล้วไม่ได้ตรวจ เช่นในประเทศที่การตรวจ RT-PCR ไม่ทั่วถึง และการที่ป่วยแบบไม่มีอาการ ก็มีอีกจำนวนมาก เมื่อรวมแล้ว น่าจะเป็นจำนวนมากกว่ายอดที่แจ้งให้องค์การอนามัยโลกหลายเท่า เมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น และการติดเชื้อครั้งต่อไปอาการความรุนแรงก็จะลดลง เหมือนโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ประกอบกับ มีผู้ที่ได้รับวัคซีนอีกจำนวนมาก (ปัจจุบันฉีดวัคซีนแล้วมากกว่า 9,000 ล้านโดส) เมื่อรวมกันแล้วน่าจะมีประชากรหลายพันล้านคนที่มีภูมิต้านทานแล้ว จากการติดเชื้อหรือได้รับวัคซีน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อประชากรส่วนใหญ่มีภูมิเกิดขึ้น และความรุนแรงของโรคน้อยลง อัตราตายของโรคในปัจจุบันจึงมีลดลงมาโดยตลอด และในที่สุดเชื่อว่าองค์การอนามัยโลกจะเลิกนับจำนวนผู้ป่วย และหลังจากนั้น ก็จะทำการตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรคเท่านั้น จะไม่เหวี่ยงการตรวจ RT-PCR ที่มีราคาแพงมากมาย เหมือนในปัจจุบัน จะตรวจในผู้ที่มีอาการ หรือกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องการรักษาหรือมีอาการมาก โดยเฉพาะเมื่อมียารักษาจำเพาะเพื่อลดความรุนแรง และทุกคนก็จะยอมรับและปรับตัวได้มากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)