'หมอยง' เผย 'โอมิครอน' เข้ามาแทนที่ 'เดลต้า' เกินร้อยละ 30 เปอร์เซ็นต์แล้ว

แฟ้มภาพ

8 ม.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 โอมิครอน จำนวนผู้ที่ติดเชื้อ

ต้องยอมรับกันว่าขณะนี้ โอมิครอน ได้ระบาดอยู่ในประเทศไทย และทั่วโลก

จํานวนผู้ติดเชื้อที่รายงาน โอมิครอน จะต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ในทุกประเทศ เพราะการตรวจจะเป็นการตรวจเพียงว่าเป็นเชื้อ covid19 เท่านั้น ไม่ได้แยกสายพันธุ์

การตรวจแยกสายพันธุ์ จะต้องใช้วิธีการที่จำเพาะ เพื่อแยกว่าเป็นสายพันธุ์อะไร

ในต่างประเทศบางประเทศ ที่มีการตรวจเชื้อ covid19 ด้วยวิธี RT-PCR ตรวจยีนอื่นพบแต่ตรวจยีน S ไม่พบ ก็ถือว่า น่าจะเป็น โอมิครอน เพราะ การกลายพันธุ์ในยีน S ทำให้ตรวจไม่พบ

ในประเทศไทยการตรวจหาไวรัส covid 19 เกือบทั้งหมดไม่ได้มีการตรวจยืน S ร่วมด้วย จึงไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้

การตรวจหาสายพันธุ์จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการจำเพาะ ในการตรวจ หรือถอดรหัสพันธุกรรม

ตัวเลขแต่ละประเทศที่รายงานมา เป็นการตั้งใจตรวจหาสายพันธุ์ หลายคนเมื่อดูอันดับการตรวจพบแล้ว ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจ ความสามารถในการตรวจของเรามีความสามารถในการตรวจอยู่ในประเทศต้นๆเช่นเดียวกัน

ดังนั้นขณะนี้ การที่บอกว่าตรวจพบ 3,000 ราย ก็ไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริง ที่มีการระบาดด้วยสายพันธุ์ โอมิครอน เพราะมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากกว่าหลายเท่าที่ไม่ได้ตรวจ เช่นเดียวกันในเกือบทุกประเทศจะเป็นแบบนั้น

การจะบอกได้ว่าขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์ โอมิครอน มากน้อยแค่ไหนจะต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มาตรวจ แล้วดูอัตราเปอร์เซ็นต์ในการพบ โอมิครอน กับสายพันธุ์เดลต้า มากกว่า

ขณะนี้ทางศูนย์กำลังทำอยู่ แต่ความสามารถของทางศูนย์ คงทำได้เฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น อัตราการตรวจพบ โอมิครอน ที่ทำอยู่คง จะได้แจ้งให้ทราบต่อไป ซึ่งขณะนี้เชื่อว่า โอมิครอน ได้เข้ามาแทนที่เดลต้าเป็นจำนวนมากแล้วน่าจะเกินร้อยละ 30 เปอร์เซ็นต์แล้ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ชี้แบคทีเรียกินเนื้อ ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย