'หมอธีระ' เชื่อระยะยาวโควิดส่งผลเรื่องค่าใช้จ่าย

'นพ.ธีระ' อัพเดตสถานการณ์โควิด บอกผู้ติดเชื้อทะลุ 317 ล้านคนไปแล้ว พร้อมยกงานวิจัยต่างชาติศึกษาผลกระทบระยะยาวของโควิด ชี้มีผลต่อสุขภาพรวมทั้งงบประมาณจำนวนมาก

13 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวันที่ 13 มกราคม 2565 ว่าทะลุ 317 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,925,509 คน ตายเพิ่ม 7,337 คน รวมแล้วติดไปรวม 317,026,990 คน เสียชีวิตรวม 5,529,026 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี และสเปน จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.08 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 90.28

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 43.69 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.61 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...อัพเดต Omicron ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนการติดเชื้อใหม่ของทั่วโลกสูงขึ้นมาก อัตราการติดเชื้อใหม่เฉลี่ยของทั่วโลกเพิ่มขึ้นราว 50% นั้น ทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และแอฟริกา มีอัตราการเพิ่มต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่ทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ และโอเชียเนียนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 3 เท่า มองดูในเอเชีย จำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ของไทยเราสูงเป็นอันดับ 6 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.35 เท่า โดยติดไป 49,033 คน

...อัพเดตการวิจัย Long COVID Carter SJ และคณะจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยที่เป็น Long COVID ใน medRxiv เมื่อวานนี้ 12 มกราคม 2565
พบว่าหากเปรียบเทียบกันกับคนปกติ ผู้ป่วย Long COVID นั้นนอกจากจะมีอาการคงค้างต่างๆ ตามที่เราเคยทราบมาก่อนแล้ว ยังพบว่าทำให้มีสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันแย่กว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ การออกกำลังกายในยามว่างลดลง มีภาวะตึงเครียด งุนงง และความผิดปกติทางอารมณ์

หากมองเชิงระบบ ไม่ว่าจะระบบสังคม หรือระบบการทำงานในระดับหน่วยงานรัฐและเอกชน การติดเชื้อจำนวนมาก ย่อมทำให้มีโอกาสที่จะมีคนที่เป็น Long COVID มาก ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ผลิตภาพจะลดลง รวมถึงส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนอื่น ไม่ว่าจะในครอบครัว และในที่ทำงาน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหา Long COVID และภาระต่อระบบสุขภาพระยะยาวย่อมมีสูงเป็นเงาตามตัว

...สำหรับพวกเราทุกคน ควรป้องกันตัวและครอบครัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั่นนอกเป็นหน้ากากผ้า อยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
หากไม่สบายคล้ายหวัด ให้คิดถึงโควิดไว้ด้วยเสมอ หาทางตรวจรักษา

อ้างอิง
Carter SJ et al. Functional status, mood state, and physical activity among women with post-acute COVID-19 syndrome. medRxiv. 12 January 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทีมบาสอเมริกา แบโผ 11 ผู้เล่นจัดเต็ม ลุยศึกยัดห่วงโอลิมปิก 2024 ที่ฝรั่งเศส

บาสเกตบอลทีมชาติสหรัฐอเมริกา ประกาศรายชื่อ 11 ผู้เล่น ชุดลุยการแข่งขันยัดห่วงในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่เรียบร้อย นำทัพมาโดย เลบรอน เจมส์, สตีเฟน เคอร์รี และเควิน ดูแรนต์

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด