'หมอยง' เผยผลวิจัย 'เดลต้า' ใช้เวลา 3 เดือนยึดไทย แต่ 'โอมิครอน' ใช้เวลาแค่เดือนเดียว

สายพันธุ์เดลต้าเข้ามาแทนที่สายพันธุ์แอลฟา ยังใช้เวลา 2-3 เดือน แต่สายพันธุ์ โอมิครอน แพร่กระจายได้เร็วกว่า ช่วงระยะเวลาเพียงเดือนเดียว สามารถตรวจพบได้ประมาณร้อยละ 90 แล้ว

18 ม.ค.2565- ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ โควิด 19 สายพันธุ์ โอมิครอน กำลังเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า

ข้อมูลการศึกษาวิจัยของศูนย์ ที่เราทำอยู่ ในการจำแนกสายพันธุ์ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นในกรุงเทพฯ

สายพันธุ์เดลต้าเข้ามาแทนที่สายพันธุ์แอลฟา ยังใช้เวลา 2-3 เดือน แต่สายพันธุ์ โอมิครอน แพร่กระจายได้เร็วกว่า ช่วงระยะเวลาเพียงเดือนเดียว สามารถตรวจพบได้ประมาณร้อยละ 90 แล้ว ในช่วงเดือนธันวาคมการตรวจตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ แต่ในเดือนมกราคมเป็นต้นมา ตัวอย่างทั้งหมดจะเป็นการติดเชื้อในประเทศ ไม่ได้เอาตัวอย่างผู้เดินทางมาจากต่างประเทศมาตรวจแล้ว

เห็นได้ว่าสายพันธุ์ โอมิครอน แพร่ได้เร็วและจะเข้ามาแทนที่ ทั้งหมด ภายในเดือนนี้ ตามหลักของวิวัฒนาการ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)