เผยแนวโน้มติดเชื้อในกทม. จะสูงขึ้นกว่านี้แต่ไม่มาก ส่วนหนึ่งส่งตัวมาจากปริมณฑล

9 ก.พ.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กล่าวแถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่กทม.ว่า วันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกทม. 2,757 ราย เสียชีวิต 9 ราย โดยมีการกระจายของเชื้อทั่วกทม. และกระจายอยู่ในทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่น และวัยทำงาน ซึ่งสายพันธุ์โอมิครอนมีการแพร่กระจายในครอบครัวได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ป่วยเสียชีวิตในระลอก 5 ยังคงเป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ มีโรคประจำตัว และมีประวัติการเข้ารับการวัคซีนที่ไม่ครบถ้วน หรือไม่ได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตามการเสียชีวิตสะสมพบว่าลดลงอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะมีการระบาดของโอมิครอน แต่ว่าลักษณะของโรคไม่มีความรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นสีเขียว มีสีเหลืองในส่วนน้อย ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยสีแดง

“สรุปสถานการณ์ ในกทม.พบผู้ป่วยที่สูงขึ้น เฉลี่ย 1,800-2,000 ต่อวัน แต่ว่าลักษณะของโรคยังไม่แสดงถึงความรุนแรง ผู้เสียชีวิตรายวันลดลงจาก 5-10 รายต่อวันเหลือ 1-2 รายต่อวัน แต่ขอเน้นย้ำมาตรการต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็นการป้องกันตนเองโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา บุคลากรทางการแพทย์”นพ.สุทัศน์ กล่าว

เมื่อถามว่า แนวโน้มผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ จะสูงขึ้นอีกแค่ไหน นพ.สุทัศน์กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในแนวโน้มสูงขึ้น แต่จะสูงขึ้นกว่านี้ไม่มาก และน่าจะทรงตัวได้ ซึ่งการติดเชื้อในกรุงเทพฯที่สูงขึ้น ก็เป็นไปตามคาดการณ์ และสอดคล้องกับสถานการณ์ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งยังมาจากปริมณฑลที่บริษัทต่างๆ ส่งพนักงานที่ติดเชื้อเข้าไปรักษาด้วย และยังต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อจากผู้ที่กลับเข้าไปทำงาน สำหรับคลัสเตอร์ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ยังเป็นแหล่งชุมชน ตลาด พบบ้างประปราย ส่วนค่ายมวยก่อนหน้านี้พบ ขณะนี้ปรับปรุง ก็ไม่พบแล้ว ส่วนแคมป์ก็พบน้อยลง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลชวน รพ.รัฐทั่วประเทศ ร่วมประกวด 'รางวัลศรีสวางควัฒน'

รัฐบาลชวน รพ.รัฐทั่วประเทศ ร่วมประกวดโครงการ 'รางวัลศรีสวางควัฒน' เทิดพระเกียรติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

หมอยง ชี้โควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เร่งศึกษาสายพันธุ์ใหม่ มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย

สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังและติดง่ายกว่า สายพันธุ์ JN.1  คือสายพันธุ์  HK.2 กำลังจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สายพันธุ์นี้ก็เป็นลูกของ JN.1 ที่กลายพันธุ์ออกมา