มธ. คิดค้น 'ชุดตรวจต้นแบบ' สแกนหา 'แอนติบอดีโควิด' ในเลือด ช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ 'ไม่แสดงอาการ'

นักวิชาการธรรมศาสตร์ เปิดตัว “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด” แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว หวังช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หลังโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น-คนฉีดวัคซีนครอบคลุม คาดอีก 1-2 ปี พัฒนาสมบูรณ์

21 ก.พ.2565 - ผศ.ดร.จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะหัวหน้าห้องปฏิบัติการศูนย์ตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุล เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้พัฒนา “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว” ขึ้นมา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยคาดว่าชุดตรวจดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ได้ภายใน 1-2 ปี ต้นทุนปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกินชุดละ 100 บาท

สำหรับชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว จะเป็นชุดตรวจที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของการตรวจแบบ RT-PCR และ Antigen Test Kit (ATK) แต่จะมีความแตกต่างอยู่ที่ การตรวจด้วยชุดตรวจแอนติบอดีฯ จะสามารถหาเชื้อในผู้ติดโควิด 19 แบบไม่แสดงอาการได้

ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าวอีกว่า แอนติบอดีของผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 จะพบได้ในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 แล้วเท่านั้น โดยจะพบได้ทั้งในผู้ที่แสดงและไม่แสดงอาการ และจะไม่พบในส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสชนิดแอนติบอดีนั้นจำเป็นต้องรอเวลา 3-7 วันหลังจากการติดเชื้อ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ติดเชื้อสร้างแอนติบอดีให้ขึ้นสูงถึงระดับที่จะตรวจเจอ โดยจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในสัปดาห์ที่ 2 ของการติดเชื้อ

“ต้องเข้าใจก่อนว่า RT-PCR เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรม ขณะที่ ATK ใช้ตรวจหาโปรตีนของไวรัส ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะให้ค่าความแม่นยำอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกของการติดเชื้อ ส่วนชุดตรวจแอนติบอดีฯ จะใช้ตรวจหาภูมิต้านทาน ซึ่งให้ค่าความแม่นยำในสัปดาห์ที่สอง ฉะนั้นเราจึงมุ่งหวังว่าในอนาคต เราจะใช้ชุดตรวจนี้ติดตามการติดเชื้อในชุมชน โดยเฉพาะเมื่อโควิด 19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นและผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่ เมื่อติดเชื้อจะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ซึ่งทุกวันนี้เรามักจะตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการเราจะไม่ตรวจ ดังนั้นในอนาคตการสุ่มตรวจด้วย ATK หรือ RT-PCR อาจไม่เหมาะสม เราจึงดีไซน์ชุดตรวจนี้ขึ้นมาเพื่อตรวจหาภูมิแอนติบอดีในเลือด ซึ่งจะพบในผู้ที่ติดเชื้อเท่านั้น” ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าว

ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเราสามารถตรวจจับผู้ติดเชื้อได้ทั้งในผู้ที่มีอาการและไม่มีอาการ เราก็จะได้ภาพของสถานการณ์การติดเชื้อจริงของประเทศที่มีความครอบคลุมและแม่นยำขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ โดยหนึ่งในนั้นคือผลการตรวจในภาพรวมจะช่วยชี้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ผลดีหรือไม่

อนึ่ง การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อโควิด 19 ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 หลักการ คือ 1. การหาส่วนประกอบของเชื้อ คือ RT-PCR และ ATK 2. การตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสชนิดแอนติบอดี (antibody detection) โดยวิธี immunoassay ซึ่งใช้เป็นข้อบ่งชี้การติดเชื้อทั้งจากในอดีตและการติดเชื้อปัจจุบัน

สำหรับวิธีการตรวจแอนติบอดีที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบ ELISA และ lateral flow immunochromatography เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน spike (S) หรือ nucleocapsid (N) ของเชื้อโควิด 19 ซึ่งสามารถพบได้จากการติดเชื้อและจากการได้รับวัคซีนโควิด 19 ดังนั้นชุดตรวจแอนติบอดีที่มีในปัจจุบันจึงยังใช้ตรวจวินิจฉัยแยกภูมิคุ้มกันระหว่างที่เกิดจากการติดเชื้อและวัคซีนโควิด 19 ไม่ได้

จึงนำมาสู่โครงการวิจัยเรื่อง “การคัดเลือกแอนติเจนของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และการผลิตชุดตรวจภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีโดยการศึกษาการตอบสนองทางซีโรโลยีของบุคคลที่หายจากโรคโควิค-19” ที่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 7 นวัตกรรมเพื่อสังคม ส่งมอบ 'SIT-TO-STAND' ดูแลผู้สูงวัย กทม.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัว “7 นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย” ตอบโจทย์ปัญหาประเทศ เตรียมพร้อมรับมือ Super Aged Society พร้อมมอบนวัตกรรม SIT-TO-STAND TRAINER อุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

สร้างภูมิคุ้มกัน 'พลัดตกหกล้ม' 10-11 ก.ย.นี้ เชิญชมนิทรรศการ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย

เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete

'เกษียร' แย้ง 'พุทธทาส' เมื่อไหร่เอาศาสนกิจมาเป็นเกณฑ์กำหนดการเมือง เมื่อนั้นจะได้เผด็จการโดยธรรม

ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ นักรัฐศาสตร์อาวุโส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Kasian Tejapira ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีไว้เพื่อ

'ธรรมศาสตร์' จัดงานครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย

“ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์” นำอ่านประกาศสันติภาพ 16 สิงหาคม 2488 ในงาน “ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดรำลึกปฏิบัติการกอบกู้ชาติของ “ขบวนการเสรีไทย” จน

'ธรรมศาสตร์' ชวนรำลึกวันวาน กับคอนเสิร์ตเพื่อคุณภาพชีวิต

ธรรมศาสตร์ ณ ลุ่มเจ้าพระยา ชวนรำลึกวันวาน 90 ปี ธรรมศาสตร์ กับ คอนเสิร์ตการกุศล เพื่อคุณภาพชีวิต 90ปี ธรรมศาสตร์ กับสุนทราภรณ์ พบกับวงดนตรีสุนทราภรณ์เต็มวงชุดใหญ่ พร้อมนักร้องรับเชิญ อาร์ม-กรกันต์ สุทธิโกเศศ รองชนะเลิศอันดับ 1 KPN Award เคยรับบทเป็น อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ วัยหนุ่มในละครเวที มังกรสลัดเกร็ด

คกก.เขตสุขภาพฯ ยกย่อง 'ธรรมศาสตร์ พัทยา' ต้นแบบ 'สถาบันสุขภาวะดี'

‘ธรรมศาสตร์ พัทยา’ คว้ารางวัล Best of the Best สถานศึกษาที่สร้างเสริมสุขภาวะ จาก ‘เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 6’ จากผลงานเด่น สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี-ดูแลสุขภาพจิตนักศึกษาตลอด 24