สปสช. แจงเกณฑ์ค่าบริการ'เจอ แจก จบ'หัวละ1,300บาท มีอะไรบ้าง

2 มี.ค.65- นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและการให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก ตามแนวทางโดยศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ ที่แจ้งให้หน่วยบริการเตรียมความพร้อมการดูแลผู้ป่วยแบบโรคประจำถิ่น (Endemic) โดยให้เพิ่มการจัดบริการรักษาผู้ป่วยนอก สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีภาวะเสี่ยง หรือแนวทางเจอ แจก จบ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2565 เป็นต้นไปนั้น สปสช.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลการจ่ายชดเชยค่าบริการ เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2565 ได้มีการประชุมหารือร่วมกับกรมการแพทย์ กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม และกองเศรษฐกิจสุขภาพและประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อกำหนดอัตราจ่ายการให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอก และแยกกักตัวที่บ้าน (OP self Isolation)

ทั้งนี้ จากการประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการจัดบริการผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน และอัตราการจ่ายชดเชยค่าบริการ 1,300 บาทต่อราย ครอบคลุมคำแนะนำในการแยกกัก การติดตามอาการเมื่อครบ 48 ชั่วโมง การจ่ายตามอาการรวมค่าจัดส่ง และการจัดระบบบริการรองรับการโทรกลับเพื่อให้คำปรึกษาประชาชนเมื่ออาการเปลี่ยนแปลงและนำเข้าสู่ระบบการรักษา

จากมติดังกล่าว ขณะนี้ สปสช. ได้มีการจัดทำประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านตามนโยบาย เจอ แจก จบ ของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2565 เป็นต้นไป และจะชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยบริการทั่วประเทศที่ร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในวันนี้พรุ่งนี้ (3 มี.ค.2565) ถึงการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์บริการนี้

สำหรับการจ่ายชดเชยค่าบริการอัตรา 1,300 บาทนี้ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนบริการ คือ

1.การจ่ายชดเชยเหมาจ่าย 1,000 บาทต่อราย ประกอบด้วย ค่าบริการให้คำแนะการแยกกักตัวที่บ้าน การให้ยารักษาตามอาการ การประสานติดตามอาการเมื่อให้การดูแลครบ 48 ชั่วโมง รวมทั้ง การจัดระบบส่งต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องส่งต่อ

2.ค่าบริการสำหรับการให้คำปรึกษาหรือการดูแลรักษาเบื้องต้น 300 บาทต่อราย เมื่อผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการเปลี่ยนแปลง และหรือให้ปรึกษาอื่นๆ หลังให้การดูแลครบ 48 ชั่วโมง

นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า แม้ว่าจะมีบริการติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอก และแยกกักตัวที่บ้านที่เพิ่มเติมเข้ามาในระบบ แต่ในส่วนของบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation) ยังคงให้บริการควบคู่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสะดวกในการเข้ารับบริการของผู้ป่วย โดยทั้ง 2 บริการจะมีการให้บริการที่ต่างกันเพียงบางส่วน ดังนี้

บริการติดเชื้อโควิดฯ แบบผู้ป่วยนอก แยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ บริการโทรติดตามอาการเมื่อครบ 48 ชั่วโมง มีระบบส่งต่อรักษาเมื่ออาการแย่ลง

บริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation) แยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ บริการโทรติดตามอาการทุกวัน ได้รับอุปกรณ์ตรวจประเมินอาการ มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง และได้รับอาหาร 3 มื้อ ในช่วงที่รับการดูแล

“บริการทั้ง 2 รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ ซึ่งบริการติดเชื้อโควิดฯ แบบผู้ป่วยนอกจะเข้ามาช่วยเสริมในกรณีผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบ Home Isolation แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับจากหน่วยบริการ ซึ่งการให้บริการจะแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แพทย์ชนบท' แฉเบื้องลึก! ทำไม 'หมอชลน่าน' หลุดเก้าอี้

เพจ "ชมรมแพทย์ชนบท" โพสต์ข้อความว่า ชมรมแพทย์ชนบท ขอขอบคุณ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ที่ผ่านมา

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

นายกฯ สั่ง 'สปสช.-สปส.' ร่วมยกระดับหลักประกันสุขภาพ

นายกฯ สั่งการเดินหน้าบูรณาการการทำงาน สปสช.- สปส. ร่วมมือการทำงาน เริ่ม 1 เม.ย.2567 ยกระดับหลักประกันสุขภาพตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามกลุ่มช่วงอายุ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่