'ผบ.ตร.' สั่งปรับโฉม 'ศปอส.ตร.' ทำงานเชิงรุก

“ผบ.ตร.” สั่งปรับโฉม ศปอส.ตร. กำชับหน่วยรับผิดชอบ เดินหน้าเชิงรุก ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ ทุกรูปแบบ

30 ต.ค.65 – สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้ลงนามในคำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 468/2565 ลงวันที่ 21 ต.ค.65 เรื่อง การรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการมอบหมายอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบให้รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ” ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) “

เนื่องจากปัจจุบันคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระทำความผิดที่หลากหลายซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินการรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโน โลยี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงได้ออกคำสั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.65 เป็นต้นไป

คำสั่งดังกล่าว มีใจความสำคัญ อาทิ ขั้นตอนการปฏิบัติกรณีผู้แจ้งมาแจ้งความร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวนในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่สถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน (Walk in), ขั้นตอนการปฏิบัติกรณีผู้แจ้งได้แจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์, การกำหนดลักษณะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยให้สถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนรับผิดชอบทำการสอบสวน ดังนี้ คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า ซื้อขายบริการ คดีข่มขู่หรือคุกคามทางเพศ คดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือข่มขู่คุกคาม คดีหลอกลวงให้โอนเงินที่ไม่มีลักษณะเป็นขบวนการ ให้สถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนในสังกัด กองบัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรภาค 1-9 รับผิดชอบการสอบสวน

คดีหลอกลวงเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน คดีหลอกลวงให้รักแล้วโอนเงิน คดีหลอกลวงให้รักแล้วลงทุน คดีข่าวปลอม คดีที่กระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยผิดกฎหมาย คดีเรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ คดีหลอกลวงให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน คดีหลอกลวงเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล คดีหลอกลวงให้ลงทุนที่ไม่เข้าลักษณะฉ้อโกงประชาชน คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลหรือสิทธิประโยชน์ คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า บริการ ข่มขู่คุกคาม หลอกโอนเงินที่เป็นขบวนการ หรือมีผู้เสียหายจำนวนมากหลายพื้นที่ ให้หน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนในสังกัดตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รับผิดชอบการสอบสวน

คดีหลอกลวงให้ลงทุนที่เข้าลักษณะฉ้อโกงประชาชน แชร์ลูกโซ่ คดีกู้เงินออนไลน์ที่เรียกดอกเบี้ยเกิดอัตรา คดีหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ หรือค้ามนุษย์ที่มีลักษณะเป็นขบวนการ ให้หน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนในสังกัดตำรวจสอบสวนกลาง รับผิดชอบทำการสอบสวน

ทั้งนี้ให้ ศปอส.ตร. เป็นหน่วยรับแจ้งคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ และทำการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและลักษณะคดี ควบคุมระบบรับแจ้งความออนไลน์ ส่งเรื่องไปยังสถานีตำรวจ หรือหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ เพื่อให้พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษตามระเบียบและทำการสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ ยังได้ประชุมศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) ครั้งที่ 8/2565 ประจำเดือนตุลาคม การประชุมครั้งนี้ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยปฏิบัติ บูรณาการการทำงานร่วมกัน เสมือนว่าเป็น “สถานีตำรวจประเทศไทย” สามารถประสานการปฏิบัติกันได้โดยตรง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ให้มีผู้ประสานงานแต่ละสถานี ศูนย์ PCT, บก. และภาค

นอกจากนี้ได้สั่งการให้ ผบช. และผบก.ให้ความสำคัญ และเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองทุกครั้ง โดยให้ประชุมติดตามงานในหน่วยอย่างน้อยเดือนละ2-4 ครั้ง, ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ออกตรวจเยี่ยมเยียนสถานีตำรวจ กองบังคับการ ตรวจสอบกำกับดูแลให้มีการลงข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และการดำเนินการของสถานีตำรวจในภารกิจหลัก และภารกิจสนับสนุนการปฏิบัติของสอท.และบช.ก. ซึ่งให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับออกตรวจการปฏิบัติงานของหน่วยในสังกัดเพื่อรับทราบปัญหาข้อขัดข้องแล้วนำมาแก้ไขหากหน่วยปฏิบัติต่างๆ เกิดปัญหาข้อขัดข้องในระหว่างการปฏิบัติงาน สามารถเสนอปัญหา รวมทั้งข้อเสนอแนะมายังศปอส.ตร. ได้ตลอดเวลา

กรณีผู้เสียหาย walk in ให้พนักงานสอบสวนแนะนำและช่วยเหลือให้ผู้เสียหายลงในระบบรับแจ้งความออนไลน์ทุกรายและให้สอบสวนปากคำผู้เสียหายตามคำสั่ง ตร.ที่ 468/2565 ลง 21 ต.ค.65 เรื่องการรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบฯ หากตรวจพบว่าไม่มีการลงในระบบและสอบสวนปากคำผู้เสียหายตามนัยคำสั่งข้างต้น จะพิจารณาข้อบกพร่องหัวหน้าสถานีและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้ผบช.สอท./เลขานุการศปอส.ตร. กำหนดแบบฟอร์ม สำหรับการตรวจกำกับดูแลของผู้บังคับบัญชาระดับ บช./ภ. บก./ภ.จว. เพื่อให้การกำกับดูแลในการรับแจ้งความออนไลน์เป็นไปแนวทางเดียวกัน

ผบ.ตร. ยังได้สั่งการให้ทุกหน่วยระดมกวาดล้างอาชญากรรมจำหน่ายอาวุธปืนออนไลน์ ระหว่างวันที่ 10 ต.ค.-8 พ.ย. 65 แบ่งเป็น 3 ห้วง ดังนี้ ห้วงแรกระหว่างวันที่ 10-19 ต.ค. 65ห้วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 20-29 ต.ค. 65 ห้วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 30 ต.ค.-8 พ.ย. 65 โดยให้รายงานผลภาพรวมในวันที่ 9 พ.ย.65 และให้ตำรวจช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการที่สร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของตร. เช่น โครงการไซเบอร์วัคซีน โครงการประสานความร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด โครงการประสานความร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้ประชาชนทราบถึงภัยออนไลน์ และวิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อและรู้เท่าทันกลโกงของคนร้าย และให้ฝ่ายเลขานุการ ศปอส.ตร. จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฝ่ายสืบสวน และสอบสวน ของ สอท.และศูนย์ PCT ภาค และ บก. เพื่อสร้างครูแม่ไก่ในแต่ละภาค กองบังคับการ ไปอบรมกับพนักงานสอบสวน และฝ่ายสืบสวนในระดับสถานีต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กเด่น' แจงยิบบุกค้นบ้าน 'โจ๊ก' ไม่เกี่ยวตั้ง ผบ.ตร. คนใหม่

'บิ๊กเด่น' แจงบุกค้นบ้าน 'พล.ต.อ.สุรเชษฐ์' ไม่เกี่ยวปมตั้ง ผบ.ตร. คนใหม่ ได้รับรายงานเมื่อเช้าไม่ชัวร์บ้านใคร ยันเกิดจากขยายผล รับคดีนี้โยง 'มินนี่' เจ้าแม่เว็บพนัน รอคำสั่งนายกฯ ตั้ง กก.สอบ

ผบ.ตร. ไม่รู้อาการป่วยทักษิณ บอกงานเยอะ เป็นเรื่องรพ.ตำรวจกับราชทัณฑ์

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพเปิดเผยว่า ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จะทำหนังสือไปถึงทีมแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ที่ทำการรักษานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

คปท. จี้ ‘ผบ.ตร.’ ทวงถามอาการ ‘ทักษิณ’ วอนแจงข้อเท็จจริงอย่าปิดบัง

ภายหลังที่ นายทักษิณ ชินวัตร ได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ป่วยแล้วย้ายมารักษาตัวนอกเรือนจำ เมื่อคืนวันที่ 22 สิงหาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน สังคมได้มีคำถามที่รอคำตอบจากคณะแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจถึงอาการป่วย