ผู้ลี้ภัยข้ามแดนพม่าทะลักไทยนับล้าน ชี้นโยบายรัฐไร้ระบบคัดกรอง เสนอทางออก 7 ข้อ

ผู้ลี้ภัยข้ามแดนพม่าทะลักไทยนับล้าน วิจารณ์แซดนโยบายรัฐไทยไร้ระบบคัดกรองทำให้ไม่สามารถแยกแยะแก้ปัญหาได้-เสนอทางออก 7 ข้อ “อ.มารค”แนะคิดภาพใหญ่ “เราต้องการให้ประเทศเป็นแบบไหน” ชาวคะเรนนีเผยประชาชนในรัฐ 2 ใน 3 หรือ 2 แสนคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่น

20 มิ.ย.2565 - ที่สถาบันการศึกษาการพัฒนาที่ยังยืนนานาชาติ(ISDSI) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีเสวนาโต๊ะกลมเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน ประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงาน ผู้แทนองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ทางการทูต ตัวแทนชุมชนท้องถิ่นและสื่อมวลชน

พรสุข เกิดสว่าง ผู้แทนกลุ่มเพื่อนไร้พรมแดนกล่าวก่อนเปิดงานว่า หลังเกิดรัฐประหารในพม่าได้เกิดการลุกฮือของประชาชนหลายชาติพันธุ์เพราะรู้สึกว่าตัวเองสูญเสียเสรีภาพ และการลุกฮือของกลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์จนเกิดการปราบปรามอย่างรุนแรงของกองทัพพม่าทำให้มีการอพยพของประชาชน ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปอยู่ในแคมป์ตามชายแดน 9 แห่ง และการจัดการค่อนข้างโกลาหล และแผนฉุกเฉินไม่ได้ถูกนำมาใช้ คนเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองสถานะตามกฎหมายไทยและกลายเป็นเหยื่อของการถูกรีดไถ ในอดีตผู้ที่อพยพเข้ามาจากพม่าเป็นคนหนุ่มสาว แต่ครั้งนี้มีทุกวัยตั้งแต่เด็กจนถึงคนชรา และบทบาทของสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งในอดีตให้ความช่วยเหลือด้านการเงินบ้าง แต่วันนี้ไม่มีเงินและไม่มีการอำนวยความสะดวกให้คนเหล่านี้เดินทางไปในประเทศที่ 3

ดร.มารค ตามไท อาจารย์สาขาวิชาการสร้างสันติภาพ สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติดภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ปาฐกถาเปิดงานว่า ภาพใหญ่ในการแก้ปัญหาการอพยพของผู้ลี้ภัยคล้ายเดิม โดยเฉพาะประเด็นรัฐไทยกับผู้ลี้ภัย เวลาคุยกันถึงปัญหานี้มักมีเรื่องต่างๆปรากฏ เช่น สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งคำเหล่านี้เป็นกับดักให้เราแก้ปัญหาจากมุมมองที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก คือเอาตัวเองไปอยู่ในบทบาทนั้น ทำให้การแก้ปัญหายาก ถ้าจะออกจากับดักนี้ต้องตั้งโจทย์ให้ถูกคือเราอยากให้ประเทศไทยเป็นประเทศแบบไหน ไม่ใช่โจทย์ว่ารัฐบาลพม่าจะคิดอย่างไรเพราะนั่นเป็นเรื่องเล็กมากและวันหนึ่งก็จะผ่านไป ถ้าเราตั้งโจทย์ว่าประเททศไทยจะเป็นประเทศแบบไหนก็จะคุยโดยไม่ติดกับดัก เราภูมิใจในประเทศไทยแบบไหน ตรงนี้คือความมั่นคงที่แท้จริง

“ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ง่ายที่จะเปลี่ยนความคิดของรัฐไทยเพราะมักมองระยะสั้น เช่น กระทรวงต่างประเทศมองว่าอยากให้โลกมองเราเป็นอย่างไร แต่ที่ลึกและสำคัญกว่านั้นคือเราอยากให้ประเทศไทยเป็นแบบไหน ประเทศไทยจะมั่นคงถ้าเป็นมิตรต่อเพื่อนบ้าน ผมเสนอให้ฝ่ายรัฐคิดแบบนี้ เรื่องของผู้ลี้ภัยควรออกจากกรอบเดิม แต่รัฐยังอยู่ในกรอบผลประโยชน์แบบแคบ ผมอยากเสนอว่า เราต้องสร้างวิชั่นที่ใหญ่กว่าเดิม เราต้องแก้ด้วยฐานใหญ่”ดร.มารค กล่าว

ดร.มารค กล่าวว่าประเทศไทยเป็นแบบไหนไม่ต้องรอรัฐ เราไม่ได้ทำแค่เพราะเราเคารพสิทธิ แต่เราต้องการเห็นประเทศไทยเป็นอีกแบบหนึ่ง ดังนั้นข้อเสนอที่จะส่งให้รัฐคือข้อเสนอที่บอกให้รัฐทำให้เราเพราะเราอยากเห็นแบบนี้

ทั้งนี้ก่อนเสวนาได้มีการฉายวีดีโอ “Friends Next Door” ซึ่งระบุว่า ขณะนี้ผู้พลัดถิ่นพม่าในไทยร่วม 7 แสนคน รวมกับของเก่าอีกก็นับล้านคน หลายๆครั้ง จำนวนนับได้จริงกับจำนวนที่เปิดเผยต่อสาธารณะแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งผู้อพยพหนีเข้ามาพร้อมกับคนทำงาน ผู้ลี้ภัยการเมืองกับผู้ลี้ภัยสงครามอาจเป็นคนๆเดียวกัน เราไม่รู้ว่าหลังรัฐประหารมีผู้ลี้ภัยการเมืองกับผู้พลัดถิ่นในพม่าอยู่เท่าไหร่ พวกเขาพยายามเลื่อนไหลสถานะของตนเสมอเพราะอยากอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ในเวทีเสวนานายปัญญา ชาญชาติวีระ ส.จ.เขตอุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า ช่วงกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมาชาวบ้านกว่า 30 หมู่บ้านได้รับผลกระทบจากการสู้รบชายแดน ซึ่งมีความรุนแรงใกล้มากกับหมู่บ้าน ทำให้ประชาชนอยู่ไม่ได้ ซึ่งชายแดนอุ้มผางแตกต่างจากที่อื่นเพราะไม่มีแม่น้ำกั้น ทำให้ไม่ทราบการเคลื่อนไหวใดๆและเกิดความเสี่ยงมาก บางครั้งมีการรุกล้ำเข้ามา ซึ่งมีชาวบ้าน 5 พันคนหลบหนีเข้ามา ในความเป็นจริงเขาอยู่ไม่ได้เพราะเกิดความกลัว ตนได้ลงพื้นที่เห็นความยากลำบากของเขา ตนเคยสอบถามเจ้าหน้าที่ แต่เขาบอกว่ายังไม่ถึงเวลาเข้าไปดูแลคนกลุ่มนี้ บางจุดอยู่ได้ 3-5 วันก็ต้องกลับมีแค่บางจุดที่อยู่ได้เป็นเดือน

“พื้นที่อุ้งผางเข้ามาได้เลย และมีญาติพี่น้อง ทำให้ไม่มีขอบเขต หลายจุดที่คนที่หลบหนีเข้ามาก็ไม่ได้รับการเปิดเผย เขาถูกทิ้งแต่บางทีเราก็เข้าใจทางการไทยที่มีข้อจำกัดจริงๆ สิ่งที่เขาอยากได้คือพื้นที่ปลอดภัยในระยะสั้นๆ

ซอ เฮโซ เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยง (Karen Peace Support Network) กล่าวว่าประเด็นที่เราตระหนักดีคือ 1 องค์กรภาคประชาชนไม่ได้มีศักยภาพในการรับมือกับสถานการณ์ที่มีผู้หนีภัยจำนวนมาก 2 การเป็นองค์กรภาคประชาชนสถานการณ์ให้ความช่วยเหลือก็ไม่ชัดเจนว่ามากน้อยเพียงใดที่สามารถทำได้โดยไม่กระทบกรอบกฎหมาย 3 ในหลายพื้นองค์กรภาคเอกชนไม่สามารถเข้าถึงเพื่อให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้าได้ ทั้

รวีพร ดอกไม้ ผู้ประสานงานคลีนิคกฎหมายแรงงานแม่สอด มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา กล่าวว่าแม่สอดเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีความซับซ้อนในพื้นที่อยู่แล้วทั้งเรื่องการค้า การจ้างงานและการลงทุน การอพยพย้ายถิ่นเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติโดยมี 5 กลุ่ม 1.แรงงานข้ามชาติ 2.กลุ่มผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิง 3.ผู้ประสบภัยทางการเมือง 4ผู้ประสบภัยตามแนวชายแดน 5.กลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมือง

รวีพรกล่าวว่า สำหรับข้อเสนอไปยังรัฐบาลคือ 1. ให้ทางรัฐบาลไทบเปิดพื้นที่ในการคัดกรองผู้ประสบภัยทางการเมืองจากประเทศพม่า โดยให้ UNHCR และ สถานทูต รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาคัดกรอง และให้ความคุ้มครอง ช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม

2.ให้มีการคัดกรองผู้ลักลอบเข้าเมือง (Smuggling) ให้พิจารณาตามความหลากหลาย และซับซ้อน เพื่อที่จะระบุสถานะ และ เข้าถึงการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน

3.เสนอให้ UNHCR และ สถานทูต มีแนวทางที่ชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางการเมืองจากประเทศพม่า เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการลักลอบขนคนข้ามแดน และกระบวนการการค้ามนุษย์

4.ให้ทางรัฐบาลไทย มีแนวทางในการคุ้มครองผู้ประสบภัยทางการเมือง

5.เสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาระเบียบคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้

6.จัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบ และมีการจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาในเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการของชุมชนพื้นที่

7.ให้รัฐบาลไทยมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ ร่วมกับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 8.ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการผู้อพยพ

นอ เกอะญอพอ เครือข่ายผู้หญิงกะเหรี่ยง (Karen Women's Organization) กล่าวว่าถ้ารัฐบาลไทยมีนโยบายให้ความช่วยเหลืออย่างเสรีจะทำให้พวกเราทำงานง่ายขึ้น ผู้พลัดถิ่นขาดความมั่นคงและความปลอดภัยในประเทศ ทำให้จำเป็นต้องข้ามแม่น้ำและข้ามแดนมาหาพื้นที่ปลอดภัย เขาต้องการยารักษาโรค น้ำ อาหาร โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงที่มีลูกเล็ก รวมถึงคนสูงอายุ

Nei Neh Plo เครือข่ายคาเรนนี (Coordinating Team for Emergency Relief) กล่าวว่าผลกระทบจากรัฐประหาร ชาวคาเรนนี้กว่า 3 แสนได้รับผลกระทบและจำนวน 2 ใน 3 หรือ 2 แสนคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่น พวกเขาต้องเจอกับปัญหาการขาดแคลนอาหารและที่อยู่ปลอดภัยเพราะต้องย้ายอยู่ตลอดเวลา ขณะที่การเดินทางก็มีปัญหาเพราะรัฐคะเรนนีเป็นพื้นที่ไม่ใหญ่ หากมีทหารตั้งด่านก็จะทำให้ผู้หนีภัยเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ หากต้องการความช่วยเหลือก็ต้องข้ามแดนแต่มีการโจมตีทางอากาศตลอดเวลา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สิงห์อาสา ร่วมกับ ม.เชียงใหม่ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

สิงห์อาสา โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 37 โดยได้ลงพื้นที่แรกที่อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัย 7 คณะทางการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่

จับ“ไทย”ชน“เมียนมา” เด้งเชือกรับมือเกมมหาอำนาจ

หลังจากที่กองกำลัง “ว้าแดง” ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงข่าวลือความตึงเครียดระหว่างทหารไทยกับว้าแดงบริเวณชายแดน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้ “ข่าวลือ” ดังกล่าวเริ่มเบาเสียงลง

'ภูมิธรรม' แจงเหตุเมียนมายังไม่ปล่อยตัว 4 คนไทย ยันทำทุกวิถีทางแล้ว

'ภูมิธรรม' แจง 4 คนไทยยังกลับไม่ได้ เหตุรอรัฐบาลเมียนมาตัดสินใจ ยํ้าทำทุกวิถีทางแล้ว หากเกิดในประเทศไทยต้องทำเช่นกัน ปัดโยงการเมือง

พม่ายังไม่ปล่อย ประมงไทย 4 คน

เมียนมายังไม่ปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย อ้างไม่ได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือ ด้านโฆษกกระทรวงกลาโหมยืนยัน TBC ฝ่ายไทยเร่งประสานช่วยเหลือ

เมียเจ้าของเรือ สุดผิดหวัง เมียนมายังไม่ปล่อยตัวคนไทย หลังไปรอเก้อที่เกาะสอง

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีไต๋เรือประมงพาณิชย์ชื่อ ส.เจริญชัย 8 พร้อมลูกเรือคนไทย 4 คนและเมียนมา 27 คน ถูกทหารเรือเมียนมาจับกุมและยึดเรือไป