ขุดค้นวัดร้าง 'บ้านหนองจันทร์' สมัยเป็นเมืองมรุกขนคร คาดใหญ่สุดในจ.นครพนม

กรมศิลปากรขุดค้นวัดร้างโบราณบ้านหนองจันทร์ สมัยเป็นเมืองมรุกขนคร พบร่องรอยความยิ่งใหญ่ทางพระพุทธศาสนา มีศาสนสถานคาดใหญ่สุดในจังหวัด

22 มิ.ย.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากสํานักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด ได้สํารวจทางโบราณคดีในพื้นที่อําเภอเมืองนครพนมในปี พ.ศ.2552 และปี พ.ศ.2560 ได้พบโบราณสถานรวมทั้งสิ้น จํานวน 30 แห่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นซากวัดร้าง จึงทําให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า กลุ่มโบราณสถานดังกล่าวน่าจะส่วนหนึ่งของหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเมืองมรุกขนครในอดีต

ต่อมาต้นปี 2565 สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี โดยนายสมเดช ลีลามโนธรรม ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี พร้อมด้วย นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ และนางสาวณิชกุล วัฒนกุล ผู้ปฏิบัติงานด้านบันทึกข้อมูลทางโบราณคดี ได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณสถานมรุกขนคร ได้แก่ วัดร้างศรีจันทร์,วัดธาตุเมืองเก่า (วัดแต้มร้าง),วัดร้างนาป่ง (วัดก้อนเส้า) ต.ท่าค้อ อ.เมือง จ.นครพนม ซึ่งเป็นหนึ่งในสามวัดของโครงการขุดค้นและขุดแต่งเมืองเก่ามรุกขนคร โดยเคยเป็นพื้นที่ตั้งของเมืองนครพนมเดิม

โดยวัดร้างศรีจันทร์ตั้งอยู่บ้านหนองจันทร์ หมู่ 1 ต.ท่าค้อ อยู่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ก่อนหนาที่จะมีการขุดค้นมีเพียงเจดีย์อยู่เพียงองค์เดียวเท่านั้น ใกล้กับองค์เจดีย์มีพระพุทธรูป 2 องค์ประดิษฐานอยู่ในศาลาที่ชาวบ้านร่วมใจกันสร้างขึ้นอย่างง่ายๆ เมื่อกลุ่มโบราณคดีเข้ามาแผ้วถางป่าที่รกครึ้มบริเวณนั้น ก็พบเนินดินไม่น้อยกว่า 4 แห่ง เชื่อว่าใต้พื้นดินแห่งนี้จะมีซากปรักหักพังให้สืบค้นร่องรอยประวัติศาสตร์ของเมืองมรุกขนคร

ผลการขุดสำรวจพบร่องรอยของแนวอิฐของเจดีย์โดยเรียงตัวยาวในแนวระนาบเหนือ-ใต้ เบื้องต้นพบร่องรอยที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ตัวเจดีย์ที่มีองค์ประกอบของฐานเขียงผังสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้นเพื่อรองรับฐานปัทม์ผังแปดเหลี่ยมที่ซ้อนกันลดหลั่นขึ้นไปสามชั้น โดยมีองค์ระฆังตั้งอยู่ด้านบนและส่วนปลายยอดพัง ทั้งนี้บริเวณตรงกลางฐานเจดีย์ถูกขโมยเจาะเป็นโพรงเพื่อหาสมบัติ

นอกจากนี้ยังพบเศียรพระพุทธรูปขนาดเล็กทำด้วยหินทรายปรากฏอยู่ในหอพระ เศษกระเบื้องหลังคาดินเผา/ดินขอจำนวนมาก ทั้งยังพบแผ่นกระเบื้องหลังคาดินเผาที่มีสภาพสมบูรณ์ และโลหะสำหรับยึดกระเบื้องหลังคา ที่น่าสนใจคือพบโลหะลักษณะคล้ายดาบสองชิ้น ฝังอยู่บริเวณใกล้กับองค์เจดีย์ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการประกอบพิธีกรรมบางอย่าง มีผู้รู้เสนอว่าน่าจะเป็นตุง(ทุง)/ธงกระด้าง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ล้านนารับมาจากพม่า และดินแดนล้านช้างอาจรับมาอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาฯ สำหรับถวายบูชาแด่พระรัตนตรัย โดยส่วนปลายทั้งสองด้านมักจะทำให้แหลมใช้แขวนติดกับเสา นิยมถวายเป็นคู่ไว้หน้าพระประธานหรือหน้าอุโบสถ วิหาร บางแห่งทำไว้กลางลานวัดหรือใกล้พระเจดีย์

ทั้งนี้ บริเวณฝั่งตรงข้ามของเจดีย์ ซึ่งปัจจุบันสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก พบฐานของวิหารขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีวิหารเล็กอยู่เหนือขึ้นมาทางทิศตะวันออก ส่วนเนินดินที่อยู่อีก 2 จุดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ยังไม่ได้ลงมือขุดประกอบกับเข้าสู่ฤดูฝนจึงชะลอการค้นหาก่อน คาดว่าวัดร้างศรีจันทร์แห่งนี้ในอดีตเป็นวัดขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดในนครพนมเท่าที่ขุดค้นมา

ล่าสุด วันที่ 22 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวได้พูดคุยกับนายกข้ามเพศคนดังนายพิชญา โพชราษฎร หรือสาวแพนต้า นายก อบต.ท่าค้อ ได้รับการเปิดเผยว่าทาง อบต.ฯหากได้รับการมอบพื้นที่จากกรมศิลปากรก็จะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้เยาวชนศึกษา แต่ทุกวันพุธก็นำเจ้าหน้าที่เข้าไปทำความสะอาดอยู่ประจำ

ด้าน นายวิทนะ กรุงเกตุ นักพัฒนาการท่องเที่ยว อบต.ท่าค้อ เผยว่าการขุดค้นร่องรอยยังไม่จบ วัดร้างศรีจันทร์มีเนื้อที่กว้างประมาณ 5 ไร่กรมศิลปากรต้องเดินหน้าขุดค้นต่อไป เท่าที่ทราบขณะนี้กรมศิลปากรส่งตัวอย่างอิฐให้ต่างประเทศพิสูจน์ว่าวัดแห่งนี้มีอายุกี่ปี

ส่วน น.ส.ญาณณ์ณิศา พรหมวิศาสตร์ ผอ.กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม อบต.ท่าค้อ กล่าวว่ารู้สึกตื่นเต้นจากการขุดค้นประวัติศาสตร์ของเมืองมรุกขนคร ถือว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์มากที่ค้นพบร่องรอยศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ เหนือความคาดหมายของคนในพื้นที่มาก ขณะที่วัดโบราณอีกสองแห่งก็ค้นพบวัตถุโบราณ รวมข้าวของเครื่องใช้ของบรรพบุรุษจำนวนมาก แต่ผู้ที่จะเล่าถึงประวัติได้ดีที่สุดต้องให้กรมศิลปากรเป็นผู้นำเสนอ เพราะเขามีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ

ชื่อเมืองมรุกขนครมีชื่อปรากฏตามอุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ป่าไม้รวก มีนามว่าเมืองมรุกขนคร ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั้นเอง

ประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม ผู้ครองเมืองมรุกขนคร เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบมีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ซึ่งพระอุรังคธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์อัศจรรย์ยิ่ง ทำให้พญาสุมิตรธรรมบังเกิดความปิติโสมนัสมาก นอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งในเขตแดนนั้นเป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ

หลังจากสิ้นพญาสุมิตรธรรม ได้มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ ก็เกิดเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็นเมืองศรีโคตรบูรณ์ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง

พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร และในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่านครพนม ส่วนชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา นั่นเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อลังการ! อุโมงค์ไฟดาวล้านดวง ชมแสงหลากสีระยิบระยับริมโขงรับลมหนาว

ลานกินลมชมวิว ริมแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร เขตเทศบาลเมืองนครพนม  นางสงวน มะเสนา รอง ผวจ.นครพนม นางสาวศุภพานี โพธิ์สุ นายก อบจ.นครพนม นายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศบาลเมืองนครพนม นางสางนงนุช สีทาน้อย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครพนม

'โตโน่ ภาคิน' สุดปลื้ม รับมอบเหรียญเชิดชูเกียรติสูงสุดชั้น 1 ของสปป.ลาว

ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โตโน่-ภาคิน คำวิลัย ศิลปิน ดารา นักร้อง นักแสดงชื่อดัง เข้าพิธีรับประดับเหรียญชัย ชั้น 1 ซึ่งเป็นเหรียญเชิดชูเกียรติสูงสุดของ สปป.ลาว

'พระเจ้าตอง' กลับพะเยา หลังโดนขโมย 36 ปีก่อน ค้นพบที่สวิต กรมศิลป์พิสูจน์แล้วของจริง

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ประสานงานและติดตามนำ “พระเจ้าตอง” กลับจังหวัดพะเยา รับส่งมอบพระเจ้าตอง จากนางสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

พ่อไม่ติดใจตำรวจจับตาย มือยิงประธานสภา อบต. รับลูกก่อเหตุเพราะเสพยาบ้า

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 20 หมู่ 7 บ้านต้าย ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านของนายยุทธพล หมอกต้ายซ้าย หรือไอ้ยุทธ อายุ 49 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนครพนม ฐานความผิดพยายามฆ่า หลังก่อเหตุใช้อาวุธปืนอาก้าจ่อยิงนายวินัย มณีรัตน์ อายุ 55 ปี ส.อบต.บ้านต้าย 3 สมัย และยังมีตำแหน่งประธานสภา

วิสามัญ คนร้ายยิงประธานสภา อบต. ยิงใส่ตำรวจก่อน เลยถูกตอบโต้ดับคาไร่อ้อย

นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย พล.ต.ต.อนุวัตร สุวรรณภูมิ ผบก.ภ.จ.ขอนแก่น เข้าตรวจสอบการติดตามจับกุม นายยุทธพล หมอกต้ายซ้าย อายุ 49 ปี คนร้ายที่ก่อเหตุนายวินัย มณีรัตน์

จนท.ตรึงกำลัง ล่ามือยิงประธานสภา อบต. คนร้ายมีปืนอาก้า ระเบิดมือ

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับกรณีคนร้ายใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดจ่อยิง นายวินัย มณีรัตน์ อายุ 55 ปี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนจาน บ้านต้าย หมู่ 7 (ส.อบต.ฯ ม.7) ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์