สแกนความพร้อมสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตาหนุนท่องเที่ยวภาคใต้

“ศักดิ์สยาม” ลงพื้นที่เช็กความพร้อมสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ต.เกาะกลาง-ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ วงเงิน 1,648 ล้านบาท ลุยตอกเสาเข็มปี 66 แล้วเสร็จปี 68 และเปิดให้บริการปี 69 หนุนเศรษฐกิจท่องเที่ยวภาคใต้

12 พ.ย. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พร้อมด้วยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา และผู้บริหารในสังกัดกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ต.เกาะกลาง-ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมการขนส่งระหว่างเกาะลันตาสู่แผ่นดินใหญ่ โดยตรวจจุดเริ่มต้นโครงการฯ 

ทั้งนี้ได้ลงเรือตรวจแนวเส้นทางก่อสร้างสะพาน พร้อมทั้งพบปะประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ โดยมีนายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รอง ผวจ.กระบี่ ดร.สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย และหน่วยงานในกระทรวงคมนาคมให้การต้อนรับ ณ ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา

นายศักดิ์สยาม เปิดเผยว่า ทช. ได้ดำเนินโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง-ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา งบประมาณก่อสร้าง 1,648 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณผูกพันปีงบประมาณ 2566-2669 ปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการออกแบบและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) คาดว่าจะได้รับความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ต้นปี 2565 และมีแผนก่อสร้างในปี 2566-2568 คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนใช้สัญจรได้ในปี 2569

ทั้งนี้โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 (กม.ที่ 26+620) ต.เกาะกลาง ไปบรรจบกับทางหลวงชนบท สาย กบ.5035 ต.เกาะลันตาน้อย ระยะทางรวม 2.240 กม. รูปแบบการก่อสร้างสะพานเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานยื่น (Balanced Cantilever Bridge) ความยาวสะพาน 1.825 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร ช่องจราจรละ 3.75 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมทั้งสองฝั่งรวมระยะทาง 415 เมตร 

อย่างไรก็ตามซึ่งผลการศึกษาด้านการคมนาคมขนส่งพบว่ามีความเหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการเดินทางใน 30 ปีข้างหน้า และมีความคุ้มค่าด้านเศรษฐกิจในการลงทุน เกาะลันตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของ จ.กระบี่ ในปี 61 มีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางมาเกาะลันตากว่า 2,233,757 คนต่อปี ซึ่งการเดินทางไปเกาะลันตานั้นมีความยากลำบาก ต้องใช้แพขนานยนต์ข้ามฝั่งจากแผ่นดินใหญ่ สามารถบรรทุกได้น้อย ใช้ระยะเวลาในการเดินทางนาน ส่งผลให้การจราจรติดขัดในช่วงวันหยุดหรือช่วงเทศกาล 

ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งให้มีความสมบูรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัย ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะทางและระยะเวลาในการเดินทางจาก 2 ชม. เหลือเพียง 2 นาที สามารถอพยพประชาชนได้รวดเร็วในกรณีเกิดภัยพิบัติ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น

นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมมีแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ จ.กระบี่ ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง จ.กระบี่ เพิ่มช่องจราจร จำนวน 5 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทาง ได้แก่ 1.ทางหลวงหมายเลข 4034 ตอน บ.เขากลม-บ.ท่าหินดาน เป็น 4 ช่องจราจรซึ่งจะเปิดใช้งานในปี 66 2.ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนสามแยกปลาลัง-เหนือคลอง เป็น 6-8 ช่องจราจร ซึ่งจะเปิดใช้งานในปี 67 3.การพัฒนาโครงข่ายถนนสายใหม่ ทางเลี่ยงเมืองกระบี่ และ เส้นทางปลายพระยา-ทับปุด 4.ทางหลวงหมายเลข 4037 เหนือคลอง-ควนสว่าง และทางหลวงหมายเลข 4156 เขาพนม-บางเหรียง-ทางหลวงหมายเลข 4038 คลองท่อม-ลำทับ เพิ่มเป็น 4 ช่องจราจร  

และ 5.โครงการพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน ซึ่งมีแนวเส้นทางเบื้องต้นระยะทาง 650 กม. เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาจราจร และการเป็นถนนท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนา Smart Pier ท่าเรือบ้านศาลาด่าน อ.เกาะลันตา เพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือให้ประชาชนและผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกแบะความปลอดภัยในการใช้งานรวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ปัจจุบันมีความคืบหน้า 80% คาดว่าเปิดให้บริการในเดือน พ.ย.2564  

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา Smart Pier ท่าเรือปากคลองจิหลาด เพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการภายในท่าเทียบเรือ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานรวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ คาดว่าเปิดให้บริการในเดือน ม.ค.2565 และการศึกษาเพื่อพัฒนาศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งทางทะเล (Maritime Hub)

ทั้งนี้ซึ่งดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันให้เป็น Maritime Hub แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งของภูมิภาคในทุกรูปแบบการขนส่ง (Hub for Connectivity) คาดว่าศึกษาแล้วเสร็จในเดือน เม.ย.66 อยู่ระหว่างการเตรียมขอตั้งงบประมาณงบกลางปี 2565 โดยมีวงเงินลงทุน 25 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' โต้ฝ่ายค้านมองลงพื้นที่ชายแดนใต้ ดูแค่เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว ยันไม่ละเลยความยุติธรรม

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าเยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี ในโอกาสได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ว่า ได้พูดคุยเรื่องการลงพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ท่องเที่ยวภาคใต้บูมขนส่งทางน้ำพุ่ง 9.1 ล้านคน

‘เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5’กางยอดเดินทางทางน้ำช่วง 10 เดือน พุ่ง กว่า 9.1 ล้านคน เตรียมความพร้อมท่าเรือ-บุคลากร เข้มงวดด้านความปลอดภัย อำนวยความสะดวกเดินทางทางน้ำ รองรับนักท่องเที่ยวเดินทางเยือน 6 จังหวัดอันดามัน ชมทะเลสวยระดับโลกช่วงไฮซีซั่น

ทช. ชงของบ 6.67 พันล้านผุด 2 โปรเจกต์ สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา - สะพานเชื่อมเกาะลันตา

“ทางหลวงชนบท” ชงของบกว่า 6.67 พันล้าน เนรมิต 2 โปรเจกต์ “สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา & สะพานเชื่อมเกาะลันตา” เผยอนุกรรมาธิการฯ ไฟเขียวงบประมาณสมทบปี 66 แล้ว คาดเริ่มตอกเข็มปลายปี 66 เสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 69 หนุนการท่องเที่ยว ช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง

กรมเจ้าท่าผุดท่าเรือมารีน่าหนุนท่องเที่ยวภาคใต้

กรมเจ้าท่า” กางแผนพัฒนาท่าเรือ 2 ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ยกระดับการเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างรายได้ให้ชุมชน ผุดท่าเรือมารีน่า ลุยศึกษา ปี 66-67 รองรับเรือสำราญขนาดเล็ก 100 ลำ

ทช.ลุยสร้าง ’สะพานเชื่อมเกาะลันตา’ ตั้งเป้าตอกเสาเข็มปี 66 ได้ใช้แน่ปี 69

‘กรมทางหลวงชนบท’เปิดความคืบหน้าโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่ ลุยตอกเสาเข็มปี66 เปิดให้บริการปี69 เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างบูรณาการ

ดีเดย์ พ.ย. นี้กรมเจ้าท่าเตรียมให้บริการ ’ท่าเรือปากเมง’ โฉมใหม่รับเปิดประเทศหนุนท่องเที่ยวภาคใต้

กรมเจ้าท่า เตรียมเปิดใช้ท่าเรือปากเมง คืบ99% รับเปิดประเทศเปิด คาดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายใน พ.ย.นี้