'กลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรม' หนุนกลุ่ม'ชาวบ้านบางกลอย'กลับไปดำรงวิถีชีวิตในพื้นที่ดั้งเดิมผ่านกลไกจากตัวแทน 3 ฝ้าย ข้องใจเสียชีวิตของ 'กิ๊ป ต้นน้ำเพชร ' ในรพ.เป็นไปตามมาตรฐานด้านสาธารณสุขหรือไม่
31พ.ค.2566 - กลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรม โดยนายสัมฤทธิ์ ชิณวงษ์ ผู้ประสานงานกลุ่มฯ ออกแถลงการณ์ กรณีพี่น้องชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย มีใจความว่า
สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินรวมถึงการก่นสร้าง แผ้วถาง ถางป่า ..."ต่อมาในปี 2524 ได้มีการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการประกาศครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาให้กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย เนื่องจากการกำหนดเขตอุทยานฯ ประกาศทับที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยซึ่งอยู่อาศัยมาก่อน เป็นผลให้พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยที่อยู่อาศัย ณ บางกลอยบน ( ตามหลักฐานของกรมการปกครอง คือ หมู่ 7 ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จ.เพซรบุรี ในปี 2514 ซึ่งการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จัดทำขึ้นภายหลังในปี 2524 ) โดยถูกแยกออกจาก ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง มาอยู่ในเขต กิ่งอ.แก่งกระจานในปี 2536 ส่วนบ้านใจแผ่นดิน บ้านของปู่คออี้ อยู่ห่างขึ้นไปโดยมีหลักฐานคือภาพถ่ายทางอากาศปี 2515 การประกาศจัดตั้งเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ในปี 2524 จึงเป็นสาเหตุแห่งการผลักไสให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธ์กลายเป็นผู้บุกรุกป่าตามกฎหมายอุทยานฯไปโดย
ในปี 2539 เจ้าหน้าที่อุทยานจึงเริ่มมีการเจรจาให้พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยลงมาอยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านบางกลอยล่าง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งปัจจุบันคือ หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และรัฐ จัดสรรที่ทำกินให้ แต่การดำเนินงานจากรัฐไม่เป็นไปตามข้อเสนอ พื้นที่จัดสรรไม่เพียงพอและผืนดินไม่สามารถเพาะปลูกได้ ทำให้พี่น้องบางกลอยบางส่วนต่างทยอยกลับขึ้นไปสู่บ้านเกิดคือบางกลอยบนอีกครั้ง
ปี 2554 เจ้าหน้าที่อุทยานๆ ปฏิบัติการยุทธการตะนาวศรี จับกุมและเผาบ้านที่อยู่อาศัย ผลักดันให้กลับลงมาอยู่ที่บ้านบางกลอยล่าง ดังที่เป็นข่าวรับรู้ทั่วไป แต่ในเวลาต่อมาพี่น้องชาวบางกลอยบางส่วนที่ไม่สามารถทำมาหากินในพื้นที่ได้จึงทยอยกลับขึ้นไปยังบางกลอยบนเช่นเดิม
ในปี 2561 แม้ว่าศาลปกครองสูงสุดพิพากษาและยอมรับว่าบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดินถือเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่ศาลปกครองสูงสุดก็ไม่อาจจะพิพากษาให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมกลับไปอยู่บ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดินได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎหมาย เพราะพื้นที่พิพาทดังกล่าวถูกประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานไปแล้ว
ช่วงวันที่ 22 - 24 กพ. 2564 เจ้าหน้าที่รัฐเปิดปฏิบัติการ ยุทธการพิทักษ์ป่าต้นน้ำเพชร ผลักดันชาวบางกลอยลงมาจากบางกลอยบนอีกครั้ง และจับกุมดำเนินคดีชาวบางกลอย จำนวน 29 ราย 7 ข้อหาเกี่ยวกับการบุกรุกป่าตาม 3 กฎหมายคุ้มครองบำาอนุรัษ์ ได้แก่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกันตัวสู้คดี
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กำหนดไว้ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและพึงปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราครภาพ มีสิทธิและอิสรภาพโดยปราศจากการแบ่งแยก เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนาและพื้นเพทางชาติหรือสังคม...นเป็นแนวทางสากลของนานาารยะประเทศ สอดคล้องกับแนว ทางการปฏิบัติต่อพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย ดังมติครม. เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และหลักสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการลงนามเห็นชอบตามข้อเสนอแนวทางแก้ไข เมื่อวันที่ 21เมษายน 2566 ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ให้กลุ่มชาวบ้านบางกลอยที่ประสงค์จะกลับไปดำรงวิถีชีวิตตัวยระบบเกษตรแบบไร่หมุนเวียนในพื้นที่บางกลอยบน(พื้นที่ดั้งเดิมที่อยู่อาศัย) จำนวน 150 คน โดยใช้แนวทางพัฒนาพื้นที่ตันแบบส่งเสริมเกษตรแบบไร่หมุนเวียนตามหลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านการจัดโครงการศึกษาเชิงทดลองแบบมีส่วนร่วม
ดังนั้น กลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรมเป็นกลุ่มคนในพื้นราบของจังหวัดเพชรบุรี ห่วงใยในชะตากรรมและการถูกผลักไสพี่น้องกลุ่มชาติพันธ์บางกลอยให้ละทิ้งบ้านเกิด ถูกกระทำเหมือนไม่ใช่มนุษย์ ทั้งจากกลไกของรัฐและมายาคติมากมายในสังคมอันส่งผลต่อความเกลียดชัง เหยียดหยาม จึงขอประกาศท่ทีและสนับสนุนแนวทางแห่งมนุษยธรรม ดังนี้
1. สนับสนุนการตัดสินใจของรัฐทางนโยบาย ผ่านการลงนามเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 ของพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยให้กลุ่มชาวบ้านบางกลอยกลับไปดำรงวิถีชีวิตด้วยระบบเกษตรแบบไร่หมุนเวียนในพื้นที่บางกลอยบนอันเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของตนตามประสงค์ จำนวน 150 คน ผ่านกลไกจากตัวแทน 3 ฝ้าย
2.ขอตั้งข้อสังเกตถึงระบบการจัดการด้านสาธารณสุข ในการรับการรักษาพยาบาลชาวกะเหรี่ยงบางกลอย "กิ๊ป ต้นน้ำเพชร" ในระหว่างวันที่ 21 - 22 พค. ที่ผ่านมา ณ รพ.แก่งกระจาน จ.เพรรบุรี ว่าดำเนินไปตามมาตรฐานด้านสาธารณสุขหรือไม่ อย่างไร
ด้วยความห่วงใยแห่งมนุษยธรรม.
(นายสัมฤทธิ์ ชิณวงษ์)
ผู้ประสานงานกลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลสั่งจำคุก 'ชัยวัฒน์' 3 ปี ไม่รอลงอาญา ผิด ม.157 คดีบิลลี่ ยกฟ้องร่วมกันฆ่า
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อท.166/2565 ที่อัยการโจทก์ ยื่นฟ้อง นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช)และพวกรวม 4 คน ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่
ฮือฮา! ครอบครัว 'เสือดำ' โชว์ตัวอุทยานแก่งกระจาน
โลกโซเชียลซู้ดปากกันไปเลย เมื่อนายกิตติพงษ์ งามจริง ได้เผยแพร่ภาพครอบครัวเสือดำ แม่ลูก 3 ตัว ในอริยาบทนอนพักผ่อนกันอย่างมีความสุข
ชาวบางกลอย วอนอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง หลังได้รับหนังสือยุติเรื่องขอความเป็นธรรม
นายพงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ชาวบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า ภายหลังอัยการสูงสุดมีคำสั่งยุติเรื่องขอความเป็นธรรมกรณีสั่งฟ้องชาวบ้านบางกลอย 28 ราย พวกตนที่เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยในนาม ‘บางกลอยคืนถิ่น’
'ชัยวัฒน์' ไม่เห็นด้วยคำสั่ง 'บิ๊กตู่' ไฟเขียวกะเหรี่ยงบางกลอยกลับคืนป่าใหญ่
นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เซ็นหนังสือให้คณะกรรมการ
'บิ๊กตู่' โดนหางเลข! ปล่อยชาวบางกลอยกลับบ้าน หวังคะแนนเสียง
เป็นเรื่อง! อดีตสว.เมืองเพชร ขวางคำสั่งบิ๊กตู่ ให้ชาวบางกลอยกลับป่าแก่งกระจาน อัดหวังคะแนนเสียง เล็งก่อม็อบถึงหน้าทำเนียบ
คึกคัก 'นทท.' แห่ชมผีเสื้อหลากชนิดนับแสนตัว
ยาวเหยียด…นักท่องเที่ยวหลั่งไหลแห่ชมฝูงผีเสื้อกว่าแสน ผืนป่ามรดกโลกอุทยานฯแก่งกระจาน รถจอดยาวเหยียดกว่า1กม. บริเวณหน่วยบ้านกร่าง กางเต๊นแน่นขนัด หน.อุทยานฯนำกำลังตรวจตราอำนวนความสะดวก