พัทลุงผุดศูนย์ฉุกเฉินป้องกันวาตภัย อุทกภัยและดินถล่ม จับตาพื้นที่ 'เทือกเขาบรรทัด'

ทหารพัฒนาภาค 4 ร่วม จ.พัทลุง  รับมืออุทกภัยซ้ำซาก วาตภัย ดินถล่ม เริ่มปลายเดือนตุลาคม-มกราคม จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ติดเทือกเขาบรรทัด

8 ก.ย.2567 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมกองบังคับการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ต.ป่าบอน อ.ป่าบอน จังหวัดพัทลุง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการ จ.พัทลุง เป็นประธานในการประชุมเตรียมการรับมือ และแก้ไขปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในพื้นที่ จ.พัทลุง พร้อม พล.ต.จตุรภัทร วงศ์ศรีเผือก ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการปฏิบัติการร่วมกันในการป้องกัน และบรรเทาเหตุอุทกภัย

โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วทันที มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ โดยมีอุปกรณ์ทั้งเครื่องจักรเบาและเครื่องจักรหนัก และอุปกรณ์อื่น ๆ การแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยริมภูเขาเมื่อเกิดฝนตกหนัก การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยหลังเกิดเหตุ ในการจัดหาอาหารและสิ่งของต่าง ๆ ให้ผู้ประสบภัยภายใน 24 ชั่วโมง ฯลฯ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ที่รุนแรง

นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวว่าพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เช่น บริเวณถนนสายหลัก ถนนสายเพชรเกษม ช่วงบ้านโคกยา ต.ควนขนุน อ.เขาชัยสน บริเวณดังกล่าวจะถูกน้ำป่าไหลตัดผ่านถนนทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งขาขึ้นและขาลง บางครั้งแม้รถยนต์ขนาดใหญ่ยังไม่สามารถผ่านได้ จึงลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบริเวณหมู่บ้านติดทะเลสาบที่จะถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลาหลายวัน เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ปัจจุบันพื้นที่ป่าเขากว่า 700,000 ไร่ มีพื้นที่ครอบคลุม จ.สตูล สงขลา ตรัง และ จ.พัทลุง ได้เป็นที่นิยมและเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวเดินป่า เที่ยวชมน้ำตก ซึ่งน้ำตกมีกว่า 30 แห่ง รายล้อมเทือกเขาบรรทัด จ.พัทลุง จ.ตรัง มีน้ำตกตลอดปี

สภาพปัจจุบันหากมีฝนตกหนักและยาวนานานมีน้ำสะสมเกิดความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะปัจจุบันเขาบรรทัดสามารถรับน้ำสะสมได้ประมาณ 60 % จาก 100 %  โดย 40 % น้ำจะร่วงลงด้านล่าง ปัจจัยเพราะสภาพป่าเสื่อมโทรม และอีกส่วนหนึ่งเพราะมีการลักลอบทำลายป่าไม้แล้วปลูกพืชผลอื่นๆ ทดแทน จึงไม่ได้เป็นป่าที่งอกเงยจากธรรมชาติ จึงขาดศักยภาพการเก็บสะสมอุ้มน้ำเอาไว้ได้ น้ำต้องร่วงหล่นพร้อมกับกระชากดินปนทรายลงพื้นที่ต่ำพร้อมกับ จากสภาพเทือกเขาบรรทัดที่เป็นดินปนทราย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว.พม.เล็งซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติเชียงรายต่อเนื่อง

'รมว.พม.' เผยเตรียมซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติเชียงรายต่อเนื่อง จ่อลงพื้นที่ เชียงใหม่-ลำปาง ดัน ศบปภ.ภาคเหนือ ช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยากลุ่มเปราะบาง หลัง คกก.บ้านมั่นคงฯ เห็นชอบกรอบงบโครงการแล้ว

12 ธ.ค. เปิดเดินรถเส้นทางรถไฟสายใต้ กทม.-สุไหงโกลก หลังน้ำท่วมหนัก

นางสาวศศิกานต์  วัฒนะจันทร์  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.)

แม่ทัพทัพภาคที่ 4 มอบถุงยังชีพให้ชาวปัตตานีที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ที่ปรึกษา

'อิ๊งค์' สั่ง ศปช. เร่งระดมกำลังช่วย 4 จังหวัดภาคใต้ ก่อนเจอฝนถล่มรอบใหม่

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) รับทราบข้อสั่งการจากนายกรัฐมนตรี

เตือนภาคใต้ยังมีฝน 7-11 ธันวา. นายกฯ สั่งเตรียมช่วยเหลือ 12 จังหวัดเสี่ยง

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จากรายงานสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่วันที่ 7-11 ธันวาคม 2567 ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป