"ทักษิณ" หวังขออภัยโทษ จับตามวลชนลุกฮือต้าน!

หลังการกลับมาประเทศไทยของ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร   อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี ในวันเดียวกับที่ประชุมรัฐสภาลงมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี

สิ่งที่น่าแปลกใจคือ น.ช.ทักษิณ เมื่อมาถึงสนามบินดอนเมืองได้ยอมให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อรับทราบข้อหาทั้งหมด และนำตัวเข้าสู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ชนิดที่ว่ากล้ายอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทยแต่โดยดี

ในช่วงบ่ายในวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ทักษิณเข้าสู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดย นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้แถลงว่า "ทักษิณอยู่ในกลุ่มเปราะบาง มีอายุเกิน 70 ปี ดูจากประวัติการรักษาพบว่ามีโรคประจำตัวต้องเฝ้าระวังและรักษาอย่างต่อเนื่อง และเบื้องต้นได้แยกขังเดี่ยวอยู่ในแดน 7 ซึ่งเป็นสถานพยาบาล จากการตรวจสุขภาพพบประวัติ 4 โรค 1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2.โรคปอด ซึ่งพบว่าเคยเป็นโรคหัวใจอักเสบรุนแรงจากการเคยเป็นโรคโควิด 2.โรคปอด ซึ่งพบว่าเคยเป็นโรคหัวใจอักเสบรุนแรงจากการเคยเป็นโรคโควิด-19 3.ความดันโลหิตสูง 4.โรคภาวะเสื่อมตามอายุ"

แต่แล้วเริ่มมีพิรุธ เมื่อในเวลาเที่ยงคืนครึ่งของวันที่ 23 ส.ค. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้นำตัวทักษิณออกจากนอกเรือนจำเพื่อไปรักษาตัวด่วนที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยโฆษกกรมราชทัณฑ์ระบุว่า ทักษิณมีอาการนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูง ระดับออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ โดยทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีศักยภาพ จึงเห็นควรส่งตัวไปที่โรงพยาบาลตำรวจที่มีความพร้อมกว่า

หลังจากที่ข่าวนี้เผยแพร่สู่สาธารณชน ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงการนำตัวออกจากเรือนจำในช่วงกลางดึก ทั้งที่ ทักษิณ อยู่ในเรือนจำยังไม่ครบ 24 ชม. โดยพาตัวออกไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เข้าพักห้องวีไอพี พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า "ถ้าเป็นผู้ต้องขังรายอื่น จะได้สิทธิพิเศษแบบนี้หรือไม่"

ถ้าสังเกตการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัศดีในเรือนจำ เมื่อนำตัวผู้ต้องขังเข้าสู่เรือนจำ จะต้องอยู่ในแดนกักโรค ถ้าผู้ต้องขังเกิดอาการป่วย ทางพัศดีจะพิจารณาส่งตัวไปรักษาที่ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ตกช่วงกลางคืนจะไม่สามารถนำตัวไปรักษาได้ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่นกับผู้ต้องขังรายอื่น และลดการก่อการจลาจล เว้นแต่ผู้ต้องขังรายนั้นจะถึงขั้นวิกฤตจำเป็นที่จะต้องรักษาในห้องไอซียู

และล่าสุดทางกรมราชทัณฑ์จะเปิดให้บุคคลใกล้ชิด ทนายความ หรือญาติ ที่ลงชื่อไว้ทั้งหมด จำนวน 10 คน เข้าเยี่ยม นายทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดย น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร และคนในครอบครัวเข้าเยี่ยมแล้ว

ส่วนการ ขอพระราชทานอภัยโทษ ทำได้ทันที และกรมราชทัณฑ์ก็มีความพร้อม ซึ่งตามขั้นตอน เมื่อญาติยื่นเอกสารแล้ว คณะกรรมการของกรมราชทัณฑ์ก็พิจารณาเสนอกระทรวงยุติธรรม และเสนอนายกรัฐมนตรี ซึ่งการพระราชทานอภัยโทษถือเป็นพระราชอำนาจ มี 2 ประเภท คือ เป็นการทั่วไป กับเป็นการเฉพาะราย

กรณีของทักษิณหากจะยื่นเฉพาะราย คาดว่ากระบวนการแล้วเสร็จ ไม่เกิน 1-2 เดือน ที่จะพิจารณาและมีผล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเอกสาร และขึ้นอยู่กับ "พระราชอำนาจ"

ส่วนกระบวนการลดโทษของกรมราชทัณฑ์คือ ตามระเบียบจะต้องรับโทษมาแล้ว 2 ใน 3 ของการกำหนดโทษ แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป จะต้องจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ซึ่งนายทักษิณเป็นผู้สูงอายุ มีอาการป่วย และหากผ่านการอบรมต่างๆ ของเรือนจำ และชั้นของนักโทษ ซึ่งหากถึงเวลาหนึ่งในชั้นนักโทษก็คงมีการขยับแล้ว การขอพระราชทานอภัยโทษ กับการลดโทษ เป็นคนละเรื่องกัน จึงต้องแยกกัน

ทั้งนี้ ในกรณีการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปกับผู้ต้องขังในคดีทุจริต หรือคดียาเสพติด จะได้รับการลดโทษตามสัดส่วน ซึ่งน้อยกว่าความผิดอื่น

แต่ที่น่าจับตาคือ กลุ่มมวลชนเสื้อเหลืองที่เคยชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เริ่มออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านทันที โดย นายพิชิต ไชยมงคล พร้อมนายนัสเซอร์ ยีหมะ แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และสมาชิกยื่นหนังสือถึงนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กรณีการเลือกปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษแก่นายทักษิณที่ถูกย้ายตัวออกมารักษาที่ รพ.ตำรวจ

ขณะที่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสี ยื่นหนังสือถึงนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ถึงการรับตัวนายทักษิณ ผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพเข้ารักษาตัวที่ รพ.ตำรวจ ได้รับสิทธิ์รักษาห้องพิเศษเหนือผู้ต้องขังทั่วไป โดย นพ.ตุลย์ได้สวมชุดดำไว้อาลัยให้กรมราชทัณฑ์และหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องด้วย

ล่าสุด นายอนันต์ สาครเจริญ เหรัญญิกพรรคไทยภักดี พร้อมสมาชิกพรรค ยื่นหนังสือต่อนายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อขอคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายของ น.ช.ทักษิณ เนื่องจากเป็นคดีทุจริตคอร์รัปชัน สร้างความเสียหายร้ายแรง หลบหนีการลงโทษ ไม่ยอมรับคำพิพากษา จะเป็นการระคายเคืองเบื้องะระยุคลบาท ทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรม สร้างความเหลื่อมล้ำ พร้อมกับขุดคดีกองทัพแจ้งความ 112 จี้ อสส.เร่งเครื่องทำงาน

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้บรรยากาศการต่อต้าน พ.ร.ก.นิรโทษกรรมสุดซอย ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์หวนกลับมาอีกครั้่ง

จึงต้องจับตาว่า น.ช.ทักษิณ จะเดินเกมซ้ำรอยประวัติศาสตร์หรือไม่?. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“อุ๊งอิ๊ง”เล่นใหญ่เกินเบอร์ ไล่ทุบ"แบงก์ชาติ"กระแสตีกลับ สงครามเย็น พท.-ธปท.จบยาก

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี-รมว.พาณิชย์ แกนนำรัฐบาลเพื่อไทย ออกมาดาหน้าปกป้อง อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร-หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นการใหญ่ หลังโดนวิจารณ์-ถล่มเละ กรณี อุ๊งอิ๊ง เล่นใหญ่เกินเบอร์ ใช้เวทีอีเวนต์การเมืองของพรรคเมื่อ 3 พ.ค. อ่านโพยตามสคริปต์ที่คนเขียนมาให้ ด้วยการ อัดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า

เศรษฐา โปรยยาหอมชาวอีสาน ไตรมาส 4 รับเงินหมื่นแน่

นายกฯ ขึ้นเวทีมหาสารคาม “อุ๊งอิ๊ง” สส.เพื่อไทย พรึบ ชู 3 ปัญหาวาระแห่งชาติ ‘หนี้นอกระบบ-ยาเสพติด-ภัยแล้ง’ ย้ำคำมั่นเงินหมื่นดิจิทัลได้แน่ไตรมาส 4 ด้านปชช.คึกคักบอก ‘รักเศรษฐา’

'เศรษฐา' ลุยอีสานคุยขอจัดการปัญหาหนี้นอกระบบ - ยาเสพติด

“เศรษฐา” ลุยอีสาน พบชาวมหาสารคาม ลั่นปัญหาหนี้นอกระบบหยั่งลึกสังคมไทย ขันน็อตทุกภาคส่วนทำงานหนักขึ้น หลังตัวเลขยังไม่เป็นที่พอใจ ขีดเส้นกำหนดกรอบปราบยาเสพติด 90 วัน พร้อมรายงานสำนักนายกฯทุกเดือน