จับตาฮั้วเลือก สว. งานยากที่ กกต.ต้องเร่งขจัด

การเลือก สว. ระดับประเทศในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ถือเป็นด่านสุดท้ายก่อนจะได้ข้อสรุปว่าใครบ้างที่จะได้อยู่ใน]มิ.ย.นี้ ถือเป็นด่านสุดท้ายก่อนจะได้ข้อสรุปว่าใครบ้างที่จะได้อยู่ใน 200 รายชื่อสมาชิกสว. จากผู้สมัครราว 4.8 หมื่นคน เหลือเพียง 3 พันคนสุดท้ายที่ผ่านการเลือกระดับอำเภอและจังหวัดมาได้ สู่อิมแพค ฟอรัม เมืองทองธานี ซึ่งเป็นสถานที่เลือกในระดับประเทศ

อย่างไรก็ตามการเลือก สว.ในครั้งนี้ เป็นการคัดเลือกที่ซับซ้อนที่สุดในโลก แต่ก็พอทราบรายชื่อเบื้องต้นได้แล้วว่าใครบ้างที่มีสิทธิได้รับเลือกเป็น สว. โดยบุคคลที่มีโอกาสสูงที่ได้เป็นสว.อาทิ โดยบุคคลที่มีโอกาสสูงที่ได้เป็นสว.อาทิ สมชาย วงษ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี (เชียงใหม่) คาดหมายกันว่าอาจจะเป็นว่าที่ประธานสว.คนใหม่ , นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี (สมุทรสงคราม) , พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ (นครปฐม) ,มงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง (บุรีรัมย์) , พันธุ์เลิศ ใบหยก เจ้าของตึกใบหยก (แม่ฮ่องสอน) ,วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด (อ่างทอง) ,พล.ต.อ.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ อดีต รมช.มหาดไทย (สงขลา) , พล.อ.ธีณฉัฏฐ์ จินดาเงิน อดีต ผบ.มทบ.41 (นครศรีธรรมราช)

ทั้งนี้ต้องรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการด้วย ถึงตอนนี้ กกต.ยังคงยืนยันว่า จะประกาศรับรองรายชื่อว่าที่ สว.ทั้งหมด 200 คน ในวันที่ 2 ก.ค. ซึ่งเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้เตรียมเข้าปฏิบัติหน้าที่การเป็น สว.ชุดใหม่ต่อไป หลังเปิดประชุมรัฐสภา สมัยสามัญเดือน ก.ค.

แม้ว่าขั้นตอนการเลือก สว.กำลังจบลงแล้ว แต่กระบวนการสืบสวนสอบสวนกรณีการฮั้ว จัดตั้ง หรือจ้างคนมาสมัคร ยังคงดำเนินการอยู่ไปเรื่อยๆ เพราะ กกต.มีดาบในมือหลายเล่ม ที่ให้อำนาจกับ กกต.ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]กกต.ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 สำหรับจัดการกับสว.ที่ได้รับการรับรองไปแล้ว ให้ต้องหลุดจากตำแหน่งได้

ไม่ว่าจะเป็น มาตรา 62 ที่บัญญัติว่า เมื่อ กกต.ประกาศผลการเลือก สว.ระดับประเทศแล้ว ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น อันทำให้การเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ให้ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง]กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของผู้นั้น

โดยเมื่อศาลฎีกามีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลฎีกาจะพิพากษา ถ้าพิพากษาว่าผู้นั้นกระทำความผิด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่

หรือในมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า เมื่อ กกต.ประกาศผลการเลือก สว.ไปแล้ว หากต่อมา ความปรากฏต่อคณะกรรมการว่าสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า

โดยในปัจจุบันสำนักงาน กกต.ได้ตรวจสอบกระบวนการเลือก สว.ชุดใหม่ พบมีความปกติ 4 รูปแบบ ที่เป็นความเคลื่อนไหวผิดปกติ ส่อมีการกระทำเข้าข่ายเป็นการทุจริตในการเลือก สว.ระดับประเทศ ได้แก่ 1.ผู้ได้รับเลือกเป็น สว.ระดับจังหวัดมีการต่อรองขอตำแหน่ง]สว.ระดับจังหวัดมีการต่อรองขอตำแหน่ง หรือเรียกรับผลประโยชน์เป็นเงินหลังหลักแสนบาท แลกกับการลงคะแนนให้ผู้สมัครที่ยอมจ่ายเงินได้เป็นผู้ได้รับเลือกเป็น สว.ระดับประเทศ

2.การเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองที่หนุนหลังผู้ได้รับเลือกเป็น]2.การเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองที่หนุนหลังผู้ได้รับเลือกเป็น สว.ระดับจังหวัด พยายามล็อบบี้รวบรวมรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็น สว.ระดับจังหวัดรายอื่น เพื่อให้กลุ่มของตัวเองมีผู้มีสิทธิ์เลือกมากที่สุด 3.พบมีคนกลางจองห้องพักโรงแรมบริเวณใกล้สถานที่เลือก]3.พบมีคนกลางจองห้องพักโรงแรมบริเวณใกล้สถานที่เลือก และนัดรวมตัวกันก่อนวันเลือก เพื่อล็อบบี้และตรวจสอบคะแนนเสียง โดยนำจำนวนเสียงที่รวบรวมได้ไปเรียกรับผลประโยชน์เป็นเงินหลักล้านบาท เพื่อแลกกับการลงคะแนนสนับสนุน

4.ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีการติดต่อไปยังผู้ได้รับเลือกเป็น 4.ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีการติดต่อไปยังผู้ได้รับเลือกเป็น สว.ระดับจังหวัดในพื้นที่ทุกกลุ่มอาชีพ สว.ระดับจังหวัดในพื้นที่ทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อให้มาอยู่กลุ่มตัวเองโดยอ้างว่าจะสนับสนุนให้เป็น สว. โดยพฤติการณ์ทั้งหมดนี้ กระจายอยู่หลายพื้นที่ แต่จะพบมากในพื้นที่ภาคเหนือ

โดยเรื่องทุจริตที่เป็นกระแสหนาหูคือกรณีที่การมีคนกลางจองโรงแรมให้กับผู้สมัครหลักร้อยคนอยู่โรงแรมเดียวกัน อาจพฤติการณ์ส่อฮั้วก่อนการคัดเลือกระดับประเทศ หรือแม้กระทั่งการจ้างคนเข้าไปทำการเลือกให้กับผู้สมัครบางคนเพื่อให้ได้รับเลือก

โดยจากการระบุของแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. ในเรื่องความผิดเกี่ยวกับการเลือกสว.มีทั้งหมดรวม 333 ประกอบด้วย   1. เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติ และการลงผิดกลุ่ม รู้อยู่แล้วว่าตัวเองไม่มีสิทธิสมัคร ซึ่งศาลฎีกา และกกต. ได้วินิจฉัยไปบางส่วนแล้ว 200 เรื่อง  2. การดำเนินการในวันเลือก ซึ่งการเลือกทั้งในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด มีอยู่ 39 เรื่อง ซึ่งกกต.จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกลำดับถัดไป]ซึ่งกกต.จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกลำดับถัดไป กลุ่มที่ 3 การเลือกที่ไม่สุจริต มีประมาณ 90 เรื่อง

นอกจากนี้เลขาฯกกต.ออกมายอมรับว่า "ตามจับกลโกงพวกนี้ไม่ง่าย เพราะคนที่มีความรู้ เมื่อทำผิดก็จะมีทั้งอำนาจ ทุน ทักษะ ความรู้ โดยเฉพาะเป็นเรื่องการเมือง ก็จะมีเครือข่ายเป็นคนสนับสนุน"

การที่คำๆนี้ออกจากปากหัวเรือใหญ่ของสำนักงาน กกต.ส่อให้เห็นว่าการเลือก สว.ครั้งนี้เราอาจจะไม่ได้สว.ที่ปลอดจากการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญได้มุ่งหมายไว้ เพราะ กกต.เป็นเพียงไม่กี่องค์กรที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง และขจัดคนไม่ดีที่แฝงตัวออกจากระบบรัฐสภา แล้วประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสว.ที่จะเข้ามาทำหน้าที่มุ่งหวังเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน

การที่ กกต.มีอาวุธครบมือที่พร้อมชนกับทุกคน แต่กลับเริ่มหมดความมั่นใจไม่กล้าลุยไฟเพื่อฝ่าฟันอุปสรรค สังคมอาจจะคาดหวังกับกกต.น้อยลง หรือว่ากกต.อาจจะปล่อยข่าวเพื่อให้ฝ่ายที่ต้องการทุจริตเผยตัวออกมาเพื่อทำให้การเอาผิดนั้นง่ายขึ้นนั้นไม่มีใครทราบ จึงต้องจับตาว่าเรื่องร้องเรียนทั้งหมดในเรื่องสว. กกต.จะสามารถปิดได้กี่คดี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดขั้นตอน 'กกต.-ศาลรธน.' ก่อนเชือด"เพื่อไทย-พรรคร่วม"

เคราะห์ซ้ำกรรมซัดสำหรับ "พรรคเพื่อไทย" เข้ามาแบบไม่ให้เว้นวรรคได้พักกัน โดยล่าสุด นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีมีผู้มายื่นร้องขอให้พิจารณายุบพรรคเพื่อไทยและ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม

พรรคร่วมรัฐบาลสั่นคลอน แค่เขย่า 'ดีล' ผลประโยชน์

เมื่อวันศุกร์สุดสัปดาห์มีข่าวในทำนองว่า นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้พิจารณา 6 คำร้องที่มีผู้ร้องขอให้ กกต.พิจารณาสั่งยุบพรรคเพื่อไทย แ

10วันหน้า-หลัง"ตากใบเอฟเฟกต์" สัญญาณเตือนเหตุล่อแหลม

พาดหัวข่าวสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงนี้ เป็นไปตามคาดการณ์ของเจ้าหน้าที่ว่าจะมีการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแสดงสัญลักษณ์แห่งการสูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบเมื่อปี 2547

ยกแรก "นายกฯ อิ้งค์" เบรกด้วย “ดินเนอร์การเมือง”

บริหารประเทศสู่เดือนที่ 2 แล้ว สำหรับรัฐบาล “นายกฯ อิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ต้องยอมรับว่าตั้งแต่ก้าวเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย ต้องเจอหลายปัญหา และยังต้องโดนจับจ้องทุกฝีก้าว ด้วยสวมหมวกนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อย ประสบการณ์การทำงานและงานการเมืองยังมีพรรษาน้อย ต้องใช้เวลาพิสูจน์

ลากไส้“ดิ ไอคอน กรุ๊ป”แฝงแชร์ลูกโซ่ วัดฝีมือ“บิ๊กต่าย”ผบ.ตร.ป้ายแดง

ธุรกิจขายทางออนไลน์กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ไม่ต้องมีหน้าร้านเข้าถึงลูกค้าทางสมาร์ทโฟนได้ทุกช่องทาง ชำระเงินรับสินค้าสะดวกรวดเร็วส่งตรงถึงหน้าบ้าน แต่กลับกันก็เป็นอีกช่องทางของเหล่ามิจฉาชีพใช้หลอกลวงต้มตุ๋น สารพัดกลโกง หลอกลวงลงทุน ลวงโอนเงิน ลวงซื้อสินค้า มูลค่าความเสียหายจากภัยออนไลน์หลายหมื่นล้านต่อปี

ปลดล็อกประชามติ-รื้อรธน. ‘ธงใหญ่’ที่'เพื่อไทย'ฝ่าได้ยาก

ตั้งแต่ พรรคเพื่อไทย เป็น หัวขบวน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นต้นมา การแก้ไขรัฐธรรมนูญแทบไม่เคยสำเร็จ