"จุรินทร์ ออนทัวร์แม่ฮ่องสอน" เดินหน้าประกันรายได้ สินค้าเกษตร ปี 3 พร้อมคืนโฉนดเกษตรกร

17 มี.ค. 2565 – นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันนี้ (17 มีนาคม 2565) ได้มีการติดตามความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเป็นประธานในพิธีมอบเช็คชำระหนี้และมอบโฉนดที่ดินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้แก่ เกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเป็นการมาคืนโฉนดและมอบประกาศนียบัตรให้กับพี่น้องเกษตรกรที่เป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูและชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว จึงคืนโฉนดที่ดินให้กับพี่น้องเกษตรกรกลับคืน ซึ่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 ในยุครัฐบาลชวนสอง ตอนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2  และตัวเองเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาถึงวันนี้ตนเป็นประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเอง ทำงานร่วมกับพวกเราทุกจังหวัด

ตอนนี้มีสำนักงานสาขาครบทุกจังหวัดและสามารถเดินหน้าทุกอย่างไปตามเป้าหมายของกองทุน คือ 1.ช่วยเหลือแก้ปัญหาหนี้สินให้แก่เกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟู ซึ่งขึ้นทะเบียนแล้ว 5 ล้านกว่าคน และให้กองทุนสามารถซื้อหนี้ จากสถาบันการเงินมาเป็นหนี้เป็นของกองทุนฟื้นฟูฯ และกองทุนยังช่วยจัดงบประมาณฟื้นฟูอาชีพพัฒนาคุณภาพชีวิตเรียกว่า โครงการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรหรือพัฒนา ซึ่งมีงบที่พี่น้องมาขอกับกองทุนโดยให้เป็นโครงการ ตลอด 2 ปีที่จากการที่ตัวเองเป็นประธานให้ไปแล้ว 500 กว่าโครงการทั่วประเทศ และได้ของบกลางเสนอ ครม.เห็นชอบแล้ว 2,000 ล้านบาท  ที่สำคัญหากมีผู้ที่อ้างเป็นนายหน้าของบกองทุนให้ขึ้นทะเบียนหนี้ให้ ซึ่งกองทุนพิจารณาตามความเป็นจริงใครไปเรียกเงินและทำไม่ถูกต้องมีความผิดตามกฎหมาย  มีเพียงค่าใช้จ่ายตามระบบราชการอย่างเดียว

ซึ่งพี่น้องส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร นโยบายประกันรายได้เกษตรกรเดิมเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมรัฐบาล และเป็นนโยบายของรัฐบาลเดินหน้า 2 ปีเต็ม เข้าสู่ปีที่ 3 ผู้ปลูกพืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้มีรายได้สองทางจากการขายในตลาดและส่วนต่างจากรายได้ที่ประกัน และพืชเกษตรเกือบทุกตัวราคาดี โดยมีนโยบายใช้ “อมก๋อยโมเดล” กับ พืชที่มีจำนวนไม่มากจนเกินไป เช่น หัวหอม กระเทียม ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยทีมเซลล์แมนจังหวัด ช่วยพาเกษตรกรพบผู้ซื้อตกลงราคาล่วงหน้า และเซ็นสัญญาทำหลักประกัน ซึ่งหอมหัวใหญ่ปีนี้จาก 8 บาท/กก. เป็น 15 บาท/กก. และหอมกับกระเทียมปีนี้ราคาจะเสถียรขึ้น เพื่อช่วยระบายของโดยให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่ตกลง ซึ่งเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จ และพวกเราจะช่วยดูแลทุกคนให้ดีที่สุดเกษตรกรเป็นคนที่มีความสำคัญกับประเทศและเศรษฐกิจฐานรากโตได้เพราะพวกเราทั้งหมด ถือว่าทุกคนมีความสำคัญและการส่งออกปีที่ผ่านมาดีมากนำเงินเข้าประเทศ ทำรายได้จากการส่งออกถึง  8.5 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ระบุว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้จำนวน 3,934 รายมูลค่าหนี้ 356 ล้านบาท และมีเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทนแล้วจำนวน 97 รายจำนวนเงิน 14.02 ล้านบาท และวันนี้มีเกษตรกรสมาชิก กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่มารับมอบโฉนดที่ดิน/เกียรติบัตร จากรองนายกรัฐมนตรี จำนวน 24 ราย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวสาละวิน ร้อง กสม. หลังถูกอุทยานฯยึดที่ดิน-ดำเนินคดี เรียกค่าเสียหาย 2.3 แสน

ชาวบ้านหมู่บ้านแม่ก๋อน หมู่ที่ 5 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กว่า 20 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งอาศัยอยู่และทำกินในป่าบริเวณนี้มาก่อนอุทยานแห่งชาติสาละวิน ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (3) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่ฮี้ จ.แม่ฮ่องสอน “คนเมืองปายสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว”

ในปี 2567 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรอายุ

ชาวเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ร้องศาลปกครองเพิกถอน 'อีไอเอ' โครงการแสนล้าน 'ผันน้ำยวม'

นายวันไชย ศรีนวน ผู้ใหญ่บ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่าประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล (แนวผันน้ำยวม) ใน จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน-กระทรวง พม.ช่วยผู้ประสบภัยน้ำป่า เตรียมสร้างบ้านชั่วคราว 49 หลังที่บ้านแม่ตอละ อ.สบเมย

แม่ฮ่องสอน / จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นมา จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม

หนุน “Smart Grid” ด้วย “Smart Energy” ชูโซลาร์และแบตเตอรี่ ช่วยระบบไฟฟ้าแม่ฮ่องสอนมั่นคง

หากใครเคยไปเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน คงจะคุ้นกับชื่อตำบล “ผาบ่อง” กันอยู่บ้าง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่และปกาเกอะญอ