'กสทช.' คลอดระเบียบใหม่เงียบ! ปลดออก-เข้าโครงการเกษียณก็ได้บำเหน็จ?

อึ้ง! กสทช.ออกระเบียบบำเหน็จฉบับใหม่เอี่ยมอ่อง มีผลบังคับใช้แล้ว พนักงานเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนด-ปลดออก-ไม่ต่อสัญญาจ้างก็ได้บำเหน็จด้วย

27 เม.ย.2565 – พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำหน้าที่ประธาน กสทช.ได้ออกระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการจ่ายบำเหน็จพนักงานและการสงเคราะห์ภายหลังออกจากงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 139 ตอนพิเศษ 95 ง และมีผลบังคับใช้แล้ว

ทั้งนี้เนื้อหาของระเบียบดังกล่าวมีทั้งสิ้น 7 ข้อ แต่ที่น่าสนใจอยู่ที่ข้อ 3 ที่ระบุให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “พนักงาน” ในข้อ 4 ของระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการจ่ายบำเหน็จพนักงาน และการสงเคราะห์ภายหลังออกจากงาน พ.ศ.2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของสำนักงาน”

โดยเนื้อหาของระเบียบเดิมนั้นได้กำหนดนิยามของพนักงานไว้ว่า “พนักงานซึ่งปฏิบัติงานประจำและพนักงานตามสัญญาจ้างของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ”

และที่น่าสนใจที่สุดคือ ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการจ่ายบำเหน็จพนักงานและการสงเคราะห์ภายหลังออกจากงาน พ.ศ.2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการจ่ายบาเหน็จพนักงานและการสงเคราะห์ภายหลังออกจากงาน
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ 7 พนักงานผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จปกติต้องออกจากงานด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เกษียณอายุหรืออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ให้นับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นปีงบประมาณที่พนักงานอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ รวมทั้งได้รับอนุมัติให้ออกจากงานในโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด
(2) มีคำสั่งให้ออกจากงาน หรือไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยไม่ได้รับการจ่ายเงินชดเชยจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำหนด
(3) ถึงแก่ความตาย ซึ่งมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(4) สำนักงานเลิกหรือยุบ และไม่สามารถนำเวลาปฏิบัติงานเพื่อนับเป็นเวลาในการคำนวณบำเหน็จในหน่วยงานแห่งใหม่ได้
(5) ลาออกโดยไม่มีความผิด และได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้ว
(6) มีคำสั่งลงโทษให้ปลดออก
(7) ครบกำหนดการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด และไม่มีคำสั่งให้ปฏิบัติงานต่อ
ในกรณีตาม (1) (2) (3) (4) และ (7) ต้องมีเวลาปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ในกรณีตาม (5) และ (6) ต้องมีเวลาปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี”

ทั้งนี้ระเบียบเดิมกำหนดหลักในเรื่องนี้ไว้ว่า ข้อ 7 พนักงานผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จปกติต้องออกจากงานด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เกษียณอายุ
(2) มีคำสั่งให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด
(3) ถึงแก่ความตาย ซึ่งมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(4) สำนักงานเลิกหรือยุบและไม่สามารถนำเวลาปฏิบัติงานเพื่อนับเป็นเวลาในการคำนวณบำเหน็จในหน่วยงานแห่งใหม่ได้
(5) ลาออกโดยไม่มีความผิดและได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้ว
ในกรณีตาม (1) (2) (3) (4) ต้องมีเวลาปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ในกรณีตาม (5) ต้องมีเวลาปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วุฒิสภา' ชงสอบแต่งตั้ง 'เลขาฯ กสทช.' ล่าช้าเกือบ 4 ปี ชี้ผลประโยชน์ชาติเสียหาย

“กมธ. ไอซีที วุฒิสภา” ชงสำนักนายกฯ -ป.ป.ช.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการ หลังพบความผิดปกติ กระบวนการตั้งเลขา กสทช. เกือบ 4 ปียังไม่ได้ตัว จนรักษาการจะครบวาระ ยันไม่ได้ก้าวก่าย แต่ส่งกระทบผลประโยชน์ชาติเสียหาย

ศาลอาญาฯ ประทับฟ้อง 'พิรงรอง รามสูต' กสทช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ศาลนัดฟังคำสั่งชั้นไต่สวนคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัดยื่นฟ้อง ศาสตร

กสทช.กระทุ้งยืนยันซิมการ์ดก่อนถูกระงับ

นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากผลกระทบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กสทช.