‘คลัง’ ขอแบงก์ดูแลผลกระทบลูกหนี้หลังขึ้นดอกเบี้ย

‘คลัง’ ขอความร่วมมือสถาบันการเงินพิจารณาผลกระทบที่จะมีต่อลูกค้าจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย ห่วงต้นทุนผู้กู้ทะยาน ชี้ตามหลักการหลังกนง. ขยับดอกเบี้ยใช้เวลาส่งผ่านถึงสถาบันการเงิน 3-6 เดือน

27 ก.ค. 2565 – นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวว่า หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามหลักการแล้วจะใช้เวลาส่งผ่านถึงดอกเบี้ยของสถาบันการเงินประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อต้นทุนของผู้กู้เงินอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงอยากขอความร่วมมือสถาบันการเงิน ให้พิจารณาผลกระทบที่จะมีต่อลูกค้าอย่าให้มากจนเกินไปจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นนั้น จะส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้าให้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลต่อกำลังซื้อของประชาชนในประเทศ แม้ว่าปัจจุบันภาวะเงินเฟ้อของไทยจะมาจากการปรับขึ้นของราคาสินค้าและราคาพลังงาน ไม่ใช่จากความต้องการบริโภคที่มากเกินไป ซึ่งจากวิกฤติโควิดและวิกฤติราคาพลังงาน เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่รัฐบาลต้องออกมาตรการมาช่วยในเรื่องกำลังซื้อของประชาชน

“การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. นั้น ก็เพื่อรักษาส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศไม่ให้ห่างกันจนมากเกินไป เพราะจะกระทบกับการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด” นายอาคม กล่าว

อย่างไรก็ดี ยอมรับว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะมีส่วนกระทบต่อหนี้ของรัฐบาล โดยเฉพาะต้นทุนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้ปรับเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่หนี้ของรัฐบาลเป็นแบบดอกเบี้ยคงที่ ส่วนการระดมทุนในระยะต่อไปก็อาจกระทบทำให้ต้นทุนสูงขึ้นได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เขย่าอีกรอบ 'พิชัย' จี้แบงก์ชาติเร่งลดดอกเบี้ย แถมยกข้อดีเอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์

“พิชัย“ สนับสนุน “นายกฯ” จี้ แบงก์ชาติเร่งลดดอกเบี้ย ชี้ สวิส ลดก่อนแล้ว อังกฤษ เยอรมัน กำลังจะลด ไทยลดช้าจะเสียเปรียบ หนุน โครงการเอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ สร้างรายได้เป็นแสนล้าน โดยนำรายได้สนับสนุนนักศึกษาไทยไปเรียนต่างประเทศ แต่ต้องระวังปัญหาทางสังคม

'คลัง' ชี้ถึงเวลานโยบายการเงินช่วยบูมศก.

“คลัง” แจงขอไม่ก้าวล่วงหลัง กนง. ยังยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี แต่มองถึงเวลาแล้วที่นโยบายการเงินจะต้องเข้ามาช่วยกัน พร้อมเข็นแพ็คเกจกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ เปิดช่องผู้ประกอบการขอบีโอไอปักหมุดสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ระบุยังรอ ธปท. ใจอ่อนผ่อนเกณฑ์ LTV สนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์