รัฐบาลแนะนำผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ขอรับการฉีด LAAB เสริมภูมิคุ้มกันโควิด

รองโฆษกรัฐบาล เผย ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ขอรับการฉีด LAAB เสริมภูมิคุ้มกันโควิด ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.เป็นต้นไป

31 ก.ค.65 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประชาชนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ต่ำหรือผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ สามารถติดต่อเข้ารับการฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Long Acting Antibody (LAAB) ได้ที่สถานพยาบาล ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนด ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2565 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ได้สำรวจเพื่อทำทะเบียนรายชื่อและจำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การรับ LAAB ในแต่ละสถานพยาบาลทุกสังกัด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันจาก LAAB อย่างทั่วถึง หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข รับมอบ LAAB ล็อตแรกแล้วจำนวน 7,000 โดส เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา จากที่สั่งซื้อไป 2.5 แสนโดส โดยที่เหลือจะทยอยจัดส่งเข้ามาจนครบภายในปีนี้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลได้เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2564 เป็นต้นมา โดยมีการฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 140 ล้านโดส แต่ยังมีประชากรบางกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเมื่อได้รับวัคซีนแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อการป้องกันโรค ไม่เพียงพอต่อการลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดหา LAAB ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป สามารถออกฤทธิ์ลบล้างเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมและการกลายพันธุ์ในขณะนี้ได้ เพื่อให้กลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำและร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีน ให้ได้รับการปกป้องจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า LAAB เป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปที่แตกต่างจากวัคซีน โดยจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป โดยมีกลุ่มเป้าหมายระยะแรก เช่น ผู้ป่วยไตวายระยะเรื้อรังที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต(ฟอกไต) ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก ทั้งนี้ กลุ่มดังกล่าว สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการพิจารณาในการเสริมภูมิคุ้มกันโควิดด้วย LAAB ได้
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เมื่อเริ่มเสริมภูมิคุ้มกันด้วย LAAB ในกลุ่มเป้าหมายระยะแรกแล้ว กระทรวงสาธารณสุข จะเร่งพิจารณา เพิ่มกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไป โดยจากการคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ ในประเทศไทย อยู่ที่ 500,000 ราย ประกอบด้วย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด และฉายแสงประมาณ 200,000 ราย , ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่ต้องได้รับยากดภูมิขนาดสูง ประมาณ 10,000 ราย , ผู้ป่วยโรคข้อที่ต้องรักษาด้วยการใช้ยากดภูมิ ประมาณ 10,000 ราย , ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำอื่นๆ ประมาณ 80,000 ราย และผู้ป่วยไตวาย ประมาณ 200,000 ราย โดยรัฐบาลตั้งเป้าทุกรายจะต้องได้รับภูมิคุ้มกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มหาดไทย ผนึก อว. ตั้งวอร์รูมสื่อสารข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วม

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (15 ก.ย.) กระทรวงมหาดไทยและ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จะจัดตั้งวอร์รูม (War Room)

'อนุทิน' จ่อสับไพ่ ขรก. ใหม่ ให้เหมาะสถานการณ์ ลั่นอย่ายึดติดของเดิม

'อนุทิน' แจง 'นายกฯอิ๊งค์' ยังไม่แบ่งงานรองนายกฯ เล็งสับไพ่ ขรก. สัดส่วน ภท.ใหม่ แต่ชม 'ไตรศุลี' ทำงานดี พร้อมรับ 2 รมช.มท. ติดโควิด

‘อนุทิน’ สั่ง กทม.เร่งสอบที่มาป้ายโฆษณาขายพาสปอร์ตและสัญชาติ ย่านห้วยขวาง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้ทราบถึงกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงกรณีมีการติดตั้งป้ายโฆษณาภาษาจีน

มหาดไทยพร้อมชง ครม.กำหนด เวลาเล่นแข่งวัวลาน

โฆษก มท. เผยมหาดไทยพร้อมชง ครม. เคาะกฎกระทรวงกำหนดเวลาเล่นแข่งวัวลาน 18.00 น. ถึง 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น หนุนท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายนายกรัฐมนตรี "อนุทิน" มอบปกครองวางมาตรการกวดขัน ป้องกันผลกระทบสังคม