พาณิชย์อัดงบ 1.6 พันล้านดันประกันรายได้ข้าวโพดปี4 ช่วยเหลือเกษตรกร 4.52 แสนราย

“จุรินทร์”ประชุม นบขพ. เคาะเดินหน้าโครงการประกันรายได้ข้าวโพด ปี 4 ช่วยเหลือเกษตรกร 4.52 แสนราย วงเงิน 1.6 พันล้านบาท เริ่มจ่ายงวดแรก 20 พ.ย.65 หากราคาต่ำกว่าประกัน พร้อมอนุมัติมาตรการคู่ขนานดันราคา เผยยังเห็นชอบโครงการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เพิ่มผลผลิตในประเทศ กำหนดยุทธศาสตร์ ปี 65-67 ดันเพิ่มผลผลิตต่อไร่

23 ส.ค. 2565 – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ว่า การประชุมครั้งนี้ มีข้อสรุป 3 เรื่อง โดยเรื่องที่ 1 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีที่ 4 ซึ่งดำเนินการมา 3 ปีแล้ว หลักเกณฑ์ทั้งหมดคงเดิมทุกประการ เช่นเดียวกับปีที่ 1-3 โดยจะเริ่มประกันรายได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2565-30 เม.ย.2567 ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่เริ่มปลูกตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2565 ถึงวันที่ 31 พ.ค.2566 โดยงวดที่ 1 จะเริ่มจ่ายเงินส่วนต่าง ถ้าราคาข้าวโพดต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8.50 บาท ตามรายได้ที่ประกันตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย.2565 เป็นต้นไป เตรียมงบประมาณทั้งสิ้น 1,669.8 ล้านบาท มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 452,000 ราย

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบมาตรการคู่ขนาน ซึ่งเป็นมาตรการเช่นเดียวกับ 3 ปีที่ผ่านมา คือ ช่วยชดเชยดอกเบี้ย 3% ให้กับสถาบันเกษตรกรและผู้รวบรวมข้าวโพดที่เก็บข้าวโพดไว้ ไม่เร่งขายในช่วงที่ข้าวโพดออกมาก เพื่อป้องกันราคาข้าวโพดตกต่ำ โดยจากนี้ จะได้มีการนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอนต่อไป

สำหรับเรื่องที่ 2 โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา เป็นการปลูกในช่วงแล้ง เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวโพด ที่มีความจำเป็นต้องใช้เป็นจำนวนมากทำวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศ เพราะความต้องการใช้ข้าวโพดในประเทศเฉลี่ยปีละ 7.98 ล้านตัน แต่ผลิตในฤดูกาลผลิตปกติได้แค่ 4.96 ล้านตัน ยังขาดอีกเยอะมาก จำเป็นต้องส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ปริมาณการผลิต 0.8 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะนำเข้าเพื่อมาชดเชย ซึ่งการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนหลายมาตรการ เช่น ให้ ธ.ก.ส. ให้สินเชื่อเป็นกรณีพิเศษ โดยจ่ายดอกเบี้ย 3.5% รัฐบาลจะช่วย 3% จากปกติ 6.5% ไร่ละไม่เกิน 4,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ หรือไม่เกิน 60,000 บาท และมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น ประกันความเสี่ยงกรณีเกิดภัยพิบัติข้าวโพดหลังนาหรือเกิดโรคพืช ซึ่งกรณีภัยพิบัติได้รับการชดเชย 1,500 บาทต่อไร่ โรคพืช 750 บาทต่อไร่ โดยรัฐบาลเป็นผู้ช่วยจ่ายเบี้ยประกันให้ทั้งหมด 172 บาทต่อไร่ แทนเกษตรกรร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งระยะเวลาการปลูกข้าวโพดหลังนาเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค.2565-15 ม.ค.2566 ใช้งบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น 262 ล้านบาท

เรื่องที่ 3 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2565-2567 เป็นเวลา 3 ปี โดยมีเป้าหมายสำคัญ 3 ด้าน คือ 1.เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ตั้งเป้าหมายผลผลิตต่อไร่ ข้าวโพดในฤดูปกติให้เพิ่มผลผลิตจาก 800 กิโลกรัม (กก.)ต่อไร่ เป็น 1,104 กก.ต่อไร่ ส่วนข้าวโพดหลังนาหรือที่เรียกว่าข้าวโพดแล้ง ให้เพิ่มผลผลิตจากไร่ละ 860 กก.ต่อไร่ เป็น 1,187 กก.ต่อไร่ ภายใน 3 ปี 2.เพิ่มพื้นที่การปลูกข้าวโพด ในพื้นที่ ๆ เหมาะสมสำหรับข้าวโพด จะเพิ่มพื้นที่รวมกันทั้งข้าวโพดฝนและข้าวโพดแล้งจากพื้นที่เดิม 801,900 ไร่ เป็น 1,106,622 ไร่ ภายใน 3 ปี 3.เร่งรัดดำเนินการปลูกหรือพัฒนาข้าวโพดคุณภาพที่ได้มาตรฐาน GAP ต่อไปต้องปลอดสารอะฟลาทอกซินหรือเชื้อราที่มักพบในข้าวโพดและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จะเร่งส่งเสริมการปลูกข้าวโพดคุณภาพในมาตรฐาน GAP ไม่ให้มีการเผาตอซังข้าวโพดต่อไปในอนาคต ตามเป้าหมายที่กำหนดใน 3 ปี ซึ่งจะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค.2565 เป็นต้นไป ถึงปี 2567

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก.ก.แตะ'ทักษิณ'แค่ผิว ปชป.ติดหล่มร่วมรัฐบาล

การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย. ถือเป็นเวทีของฝ่ายค้าน นำโดย พรรคก้าวไกล และ พรรคประชาธิปัตย์ สังคมคาดหวังจะมีการเปิดแผลให้รัฐบาลก่อนปิดสมัยประชุม 9 เม.ย.นี้

'จุรินทร์' ซัดรัฐบาลทำงานไม่ทันฝ่ายนิติบัญญัติ โยนถามก้าวไกลเรื่องซักฟอก

“จุรินทร์” ซัดรัฐบาลทำงานไม่ทันฝ่ายนิติบัญญัติ ส่วนการอภิปรายจะมีหรือไม่อยู่ที่ก้าวไกลเพราะ ปชป.เสียงไม่พอ

'จุรินทร์' ย้ำเคสป่วนขบวนเสด็จ นิรโทษกรรมต้องไม่รวมความผิด ม.112

“จุรินทร์” ชี้นิรโทษกรรมทำได้ แต่ยิ่งป่วนขบวนเสด็จยิ่งตอกย้ำต้องไม่รวมความผิด ม.112 พร้อมส่งสัญญาณให้กรรมธิการต้องนำประเด็นนี้ไปพิจารณาด้วย

ธ.ก.ส. เผยผลงาน 3 ไตรมาส กำไร 6 พันล้าน จ่อลุยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน 

ธ.ก.ส. เผยผลงาน 3 ไตรมาสแรกปีบัญชี 66 จ่ายสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคชนบทระหว่างปีไปแล้วกว่า 6.1 แสนล้านบาท ควบคู่การสนับสนุนนโยบายรัฐในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร การลดภาระหนี้เกษตรกรผ่านโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน พร้อมเดินหน้าภารกิจองค์กรสู่การเป็นแกนกลางการเกษตร ที่ให้บริการทางการเงินและการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการต่อยอดธุรกิจภาคการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่ม การทำการตลาด การพัฒนาและยกระดับชุมชนในการสร้างรายได้และการดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้หลัก BCG คาดไตรมาสสุดท้ายเติบโตได้ตามเป้าหมาย

‘จุรินทร์’ ชี้ดิจิทัลวอลเล็ต บทเรียนประชานิยม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้ความเห็นเรื่องดิจิตอล วอลเล็ต ภายหลังมีข่าว ปปช.เตรียมเสนอความเห็นต่อรัฐบาลในทางที่อาจมีปัญหาเรื่องการทุจริตและผิดกฎหมาย