กฟภ.ชี้ยอดใช้ไฟฟ้ากลับมาโต 10% ชี้แบกรับต้นทุนการผลิต

กฟภ.เผยสถานการณ์ใช้ไฟเริ่มดี ปีนี้กลับมาโต 10% เมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19 ลั่นต้นทุนผลิตไฟฟ้าแพง คาด กฟภ.แบกรับภาระไตรมาส 4 เพิ่ม 7 พันล้านบาท ‘ศุภชัย’ ลุยปรับองค์กรสู่ดิจิทัล เน้นพลังงานทดแทน จ่อเปิดปั๊มชาร์จอีวีเพิ่ม 190 สถานีในปี 66

9 ก.ย. 2565 – นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เปิดเผยภายหลังงานวันคล้ายวันสถาปนา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ครบรอบ 62 ปี กล่าวว่าสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันเริ่มกลับมาเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นกว่า 10% เมื่อวัดจากหน่วยไฟฟ้า ทั้งนี้มองว่าประชาชนอาจจะต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นจากราคาค่าไฟต่อหน่วยที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันที่ผ่านมา กฟภ. ก็ได้มีการเข้าไปช่วยเหลือในการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมา โดยแบกรับภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าไปกว่า 4,000 ล้านบาท

ซึ่งในระยะต่อไปในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ที่มีมติจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) คิดค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) อยู่ที่ 68.66 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วยนั้น แม้จะส่งผลให้ราคาค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตถือว่าเป็นแนวทางที่กระทบน้อยที่สุดกับประชาชน ในขณะที่ กฟภ. เองก็ยังต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยจำเป็นต้องมาบริหารด้านกระแสเงินสดขององค์กรเพื่อให้สามารถรับภาระในส่วนนี้ โดยมองผลกระทบกับประชาชนเป็นหลัก

นายศุภชัย กล่าวว่า กฟภ.เตรียมเดินหน้าเข้าสู่ระบบไฟฟ้ากดิจิทัล โดยได้มีการพัฒนาองค์กร ควบคู่ไปกับการพัฒนาสัง และประเทศชาติ โดยเลือกใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กฟภ. ตั้งเป้าจะเพิ่มการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ในพื้นที่ทั่วประเทศไทย ในปี 2566 เพิ่ม ขึ้นอีก 190 สถานี โดยตั้งเป้าให้ทุก 100 กิโลเมตรจะต้องมีสถานีชาร์จของ กฟภ. กระจายอยู่ทุกเส้นทางการเดินรถ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถอีวี

“การตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถอีวี จะต้องใช้งบประมาณ 3 ล้านบาทต่อสถานี ซึ่งปัจจุบันเปิดให้ใช้แล้วมากกว่า 70 สถานี ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าจะคิดเรตอยู่ที่ ช่วงพีกวันจันทร์-ศุกร์เวลา 09.00 น. – 22.00 น. อยู่ที่ 7.9778 บาท/หน่วย และช่วง ออฟพีกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น. – 09.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 00.00 น. – 24.00 น. จะเก็บอยู่ที่ 4.5952 บาท/หน่วย”นายศุภชัย กล่าว

นอกจากนี้ กฟภ. ยังเดินหน้า PEA Solar Rooftop ที่เป็นบริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์ รูฟท็อป) โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งในอาคารสำนักงานการไฟฟ้าทั่วประเทศแล้วจำนวนทั้งสิ้น 205 แห่ง ซึ่งส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานรวม และส่งเสริมการประหยัดไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่า 10% โดยเป้าหมายในอนาคตจะดำเนินการติดตั้งเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมอาคารสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และสถานีไฟฟ้า จำนวน 406 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ไม่ น้อยกว่า 18.03 ล้านหน่วย/ปี

“นอกจากนี้เรายังนำโมเดลเดียวกันเข้าไปให้บริการกับผู้ใช้ไฟฟ้า โดยจะเข้าไปติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาให้ และให้เจ้าของพื้นที่เลือกได้ว่าจะลงทุนเอง หรือให้ กฟภ. เป็นผู้ดำเนินการ โดยเราจะติดตั้งมิตเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มให้เป็นลูกที่ 2 ด้วย เพื่อป้องกันการรวนของระบบไฟฟ้าเดิม รวมถึงเพื่อเก็บสถิติเช็คว่าสามารถประหยัดพลังงานได้จริง ๆ ซึ่งมั่นใจว่าจะลดใช้ไฟฟ้าได้ถึง 10% เช่นเดียวกัน”นายศุภชัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โออาร์ จับมือ แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ขยายเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ อำนวยความสะดวกผู้ใช้รถไฟฟ้า ในโรงแรมและรีสอร์ท 30 แห่งทั่วประเทศไทย

นายภาณุพันธ์ ทรัพย์จรัสแสง ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมสถานีบริการและผู้อำนวยการ โครงการ EV Station PluZ พร้อมด้วย นายพีรเวท ณ ระนอง

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดมาตรการรัฐดันขายรถยนต์ BEV ปี 2565 ได้สูง 4-5 พันคัน

ณ ตอนนี้ จะเห็นได้ว่าภาพอนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ที่จะกลายมาเป็นรถยนต์มาตรฐานใหม่ในตลาดนั้นเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากทิศทางการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในการรุกตลาดรถยนต์ BEV ของค่ายต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้งญี่ปุ่น จีน และตะวันตก

ปตท. ส่งออน-ไอออน สถานีชาร์จไฟฟ้าวางเป้าขยายนอกสถานีบริการน้ำมันกว่า 1,000 เครื่อง

ปตท. ส่งออน-ไอออน เปิดสถานีชาร์จไฟฟ้า ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อย่างเป็นทางการ ขานรับเทรนด์ ยานยนต์ไฟฟ้า ให้บริการ “จอง จอด จ่าย ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว”