รฟม.พับแผน ’แทรมเชียงใหม่’ ชูรถรางไฟฟ้าล้อยางช่วยลดต้นทุน

รฟม.ผับแผน ‘แทรมเชียงใหม่’หลังศึกษาพบมีมูลค่าการลงทุนสูง หนุนสร้างรถรางไฟฟ้าล้อยาง มีความเหมาะสมกับ จ.เชียงใหม่ พบช่วยลดต้นทุนก่อสร้างเล็งเสนอ ครม.ไฟเขียว ต้นปี67
 
1 พ.ย.2565-นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) รฟม. เปิดเผยว่า รฟม.ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่ผ่านมา ซึ่งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงฯ ที่มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูง ส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา (O&M)
 
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมายให้ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ และทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) เพื่อให้ได้รูปแบบการดำเนินโครงการที่เป็นไปได้มากที่สุด ก่อนประมวลเรื่องเสนอขอความเห็นชอบต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป 
 
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้มีการศึกษารูปแบบการดำเนินงาน โครงการที่เหมาะสมจำนวน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) 2.รถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) ระดับดินตลอดแนวเส้นทางโดยเปรียบเทียบทั้ง 3 รูปแบบอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านวิศวกรรมและจราจร ด้านการลงทุนและผลตอบแทน  และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการศึกษา
 
นายสาโรจน์ กล่าวว่า รูปแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงฯ คือ ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง ที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโครงการ บรรเทาผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการในระยะก่อสร้าง รวมถึงใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ารถไฟฟ้าระบบอื่นๆ เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ชาวเชียงใหม่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี
 
สำหรับแผนงานดำเนินงานโครงการนั้น คาดว่าจะศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานอีไอเอ และรายงาน PPP แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.2565 จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า และเดินรถ ช่วงเดือน ม.ค.2566-ม.ค.2567 เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติเดือน ม.ค.2567 คัดเลือกเอกชน PPP เดือน ส.ค.2567-ส.ค.2568 เริ่มงานก่อสร้างเดือน ก.ย.2568 และเปิดให้บริการเดือน ธ.ค.2571.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'มาดามหยก' รับตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สตรีดีเด่นเชียงใหม่ พร้อมส่งเสริมพลังสตรี

"มาดามหยก" ขอบคุณนายกสภาสมาคมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ และนายกชมรมสภาสตรีดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ แต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ให้กำลังใจสตรีภูมิใจในตัวเอง แนะคิด สร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่เพื่อสังคม

'เชียงใหม่' วิกฤต! ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติไฟป่า 2 อำเภอ อากาศแย่อันดับ 3 ของโลก

จังหวัดเชียงใหม่ได้ออกประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อัคคีภัย ไฟป่า รวม 5 ตำบล ในพื้นที่ 2 อำเภอ

‘พรรคก้าวอิสระ’ ปลุกพลังเงียบเชียงใหม่ สร้างการเปลี่ยนแปลงการเมืองท้องถิ่น

พรรคก้าวอิสระ หรือ INDY ประกาศรับผู้สมัครนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และสมาชิกสภาเทศบาล ปลุกพลังเงียบชาวเชียงใหม่ทุกเพศทุกวัยให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง เมืองเชียงใหม่เป็นโมเดลใหม่ของการเมืองที่แท้จริงและไม่แบ่งฝ่าย

เชียงใหม่คึกคัก! 'ปชน.' เปิดตัวผู้สมัครชิง 'นายกเล็ก'

บรรยากาศการเมืองท้องถิ่นเริ่มคึกคัก โดยเฉพาะที่เทศบาลนครเชียงใหม่ อีกพื้นที่หนึ่งที่ถูกจับตามองทั้งประเทศ ซึ่งนายกเทศมนตรีและสมาชิกเทศบาล (ส.ท.) นครเชียงใหม่

ทหารภาค 3 ระดมกำลังอากาศยานดับไฟป่าแม้ฝนตก จุดความร้อนยังลุกลาม

ทหารภาค 3 ยังคงนำอากาศยานช่วยดับไฟป่าในหลายพื้นที่ แม้จุดความร้อนจะลดลงจากฝนตก แต่ไฟป่ายังคงลุกลามต่อเนื่องต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

เชียงใหม่เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 แนะใช้หน้ากากป้องกันและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สาธารณสุขเชียงใหม่แนะประชาชนตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน ใช้หน้ากากป้องกันตามกิจกรรม พร้อมกำชับหน่วยงานรับมือเชิงรุกดูแลสุขภาพประชาชน หลังค่าฝุ่นเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ