
รฟท.กางแผนเปิดให้บริการตู้เสบียงขายอาหาร-เครื่องดื่ม นำร่องรถด่วนพิเศษ ชุด 115 คัน 8 ขบวน 4 เส้นทาง เริ่ม 6 ธ.ค. 65 ด้าน “แอ๊ดวานซ์ มาร์เก็ตติ้งฯ” มาวินได้สิทธิเช่า 3 ปี รฟท. ลุยประมูลต่อต้นปีหน้า
6 ธ.ค. 2565 – นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่ รฟท. ออกประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจ และเปิดขายเอกสารเสนอโครงการจัดบริการ และเสนอราคาค่าเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถ (ตู้เสบียง) กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษชุด 115 คัน เส้นทางสายเหนือ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ 8 ขบวน 4 เส้นทาง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 ก.ย.-17 ต.ค. 2565 และได้กำหนดยื่นซองเอกสาร เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีเอกชนซื้อซองเอกสารฯ 3 ราย แต่เข้ายื่นซองเสนอราคา 2 ราย ได้แก่ 1.บริษัท โบกี้ เอฟบี จำกัด และ 2.บริษัท แอ็ดวานซ์ มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิท จำกัด
ทั้งนี้ปรากฏว่า บริษัท แอ็ดวานซ์ มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิท จำกัด เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เช่าสิทธิจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนขบวนรถด่วนพิเศษ ชุด 115 คัน 8 ขบวน ทั้งนี้ จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2565 เป็นต้นไป โดยมีขบวนรถด่วนพิเศษ 8 ขบวน 4 เส้นทาง ประกอบด้วย สายเหนือ ขบวนรถด่วนพิเศษอุตราวิถี ที่ 9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ, สายใต้ ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ ที่ 31/32 กรุงเทพ-ชุมทางหาดใหญ่-กรุงเทพ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานวัฒนา ที่ 23/24 กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ และขบวนรถด่วนพิเศษอีสานมรรคา ที่ 25/26 กรุงเทพ-หนองคาย-กรุงเทพ.
สำหรับการให้เช่าสิทธิจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนรถด่วนพิเศษ ชุด 115 คัน ทั้ง 8 ขบวนนั้น รฟท. มีกำหนดระยะเวลาให้เช่าสิทธิ 3 ปี เริ่มให้เช่าสิทธิตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค.2565 และสิ้นสุดสัญญาเช่าวันที่ 5 ธ.ค. 2568 โดยเครื่องดื่มที่จะให้บริการมีทั้งแบบร้อน และเย็น ส่วนอาหารจะบรรจุในกล่องสุญญากาศที่ได้คุณภาพ นอกจากนี้ จะมีสินค้าที่เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มาให้บริการบนขบวนอีกด้วย ซึ่งอาหารทุกชนิดจะมีการแจ้งราคาบนเมนูทุกรายการ โดยราคาจะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานราคาอาหาร และเครื่องดื่มของฝ่ายบริการโดยสาร รวมทั้งจะมีการตรวจสอบคุณภาพของอาหารก่อนให้บริการทุกครั้งด้วย
นายเอกรัช กล่าวว่า ในช่วงเดือน ม.ค. 25866 รฟท. จะออกประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจ และเปิดขายเอกสารเสนอโครงการฯ ในกลุ่มขบวนรถด่วน และรถด่วนพิเศษ ในเส้นทางสายเหนือ และสายใต้ 10 ขบวน ได้แก่ รถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ, รถด่วนที่ 51/52 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ, รถด่วนพิเศษที่ 37/38 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ, รถด่วนที่ 83/84 กรุงเทพ-ตรัง-กรุงเทพ และรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช-กรุงเทพ โดยคาดว่าจะได้ผู้เช่าสิทธิประมาณเดือน เม.ย. 2566 จากนั้นจะเปิดให้บริการผู้โดยสารต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รฟท. แจ้งปรับแผนการเดินรถในเส้นทางสายใต้ชั่วคราว หลังเจอคนร้ายป่วน
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2566 เวลา 19.55 – 22.00 น.
รฟท.เร่งเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางฯ ขายซอง 15 มี.ค.นี้
รฟท. เปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์-ติดตั้งป้ายโฆษณา สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-12 สถานีรถไฟฟ้าสีแดง 4 สัญญา รวมกว่า 5.5 หมื่นตารางเมตร เปิดขายซอง 15 มี.ค.-28 เม.ย.นี้ เปิดซองข้อเสนอ 16-17 ส.ค. หวังช่วยอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร
แม่ค้ายิ้มรับยอดขายพุ่ง 'ชาไทย' ติดท็อป 10 ของโลก เครื่องดื่มยอดนิยม
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจการขายชาไทย ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น หลังจากเว็บไซต์อาหารยอดนิยม "TasteAtlas" ได้จัดอันดับเครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ ที่อร่อยที่สุดในโลก โดยพบว่า ชาเย็น หรือ ชาไทย คว้ารางวัลอันดับ 7 มาครองได้ในปีนี้ โดยพบว่าที่ร้านน้องยุ้ยกาแฟโบราณ ตั้งอยู่ภายในตลาดรถไฟ
รฟท. พร้อมเปิดไฟส่องสว่างรอบสถานีกลางฯสัปดาห์หน้า
การรถไฟฯเดินหน้าเร่งขอขยายเขตไฟฟ้า เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าส่องสว่าง บริเวณรอบสถานีกลางฯ คาดเปิดใช้ภายใน 1 สัปดาห์ อำนวยความสะดวก-ปลอดภัยให้ผู้โดยสาร ย้ำมีกล้องวงจรปิดติดตั้งทั้งภายใน และภายนอกอาคาร มากกว่า 1,100 ตัว
รฟท.แจงเหตุขบวนรถไฟทางไกลล่าช้า หลังเปิดใช้สถานีกลางแห่งใหม่
รฟท. แจงเหตุขบวนรถไฟทางไกลล่าช้า หลังปรับให้บริการ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’วันแรก พบตู้โดยสารขบวนรถไฟชำรุด ต้นเหตุต้องสับเปลี่ยนตู้โดยสารกับขบวนอื่นๆ ยันขบวนดีเลย์ไม่เกี่ยวกับการเปิดขบวนเที่ยวปฐมฤกษ์
‘คมนาคม’ ลุยทดสอบรถจักรพลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่คันแรกในไทย
‘คมนาคม’ เดินหน้าทดสอบใช้งานรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในในไทย ตั้งเป้าจัดหา 50 คันภายในปี66 มั่นใจช่วยลดต้นทุน 40-60%