กยศ.โอดนักเรียนจ่ายหนี้ลดลง 12%

“กยศ.” รับนักเรียน-นักศึกษา เบรกจ่ายหนี้รอความชัดเจนการแก้ไขกฎหมาย ทำภาพรวมชำระหนี้ทรุด 12% โดยการชำระหนี้แบบสมัครใจหายไปกว่า 28%

9 ธ.ค. 2565 -นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงภาพรวมการชำระหนี้ของลูกหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในปีนี้มีการชะลอลงบ้าง แต่ยังไม่กระทบกับสภาพคล่องโดยรวมของกองทุน โดยภาพรวมการชำระหนี้ลดลงไปกว่า 12% เฉพาะช่วงวันที่ 15 ก.ย.- 30 พ.ย. 2565 การชำระหนี้แบบสมัครใจ ลดลงไปกว่า 28% ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากลูกหนี้ยังรอความชัดเจนเรื่องการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ… หรือร่าง พ.ร.บ. กยศ.

สำหรับความคืบหน้าของการแก้ไขร่าง พ.ร.บ. กยศ. นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระเข้าสู่การประชุมของวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป ส่วนกรณีที่กรรมาธิการวุฒิสภา ได้มีการปรับแก้ไขเรื่องอัตราดอกเบี้ยให้คิดได้ไม่เกิน 1% ต่อปี ขณะที่การผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมต้องเสียเบี้ยปรับ ไม่เกิน 0.5% ต่อปี เว้นแต่คณะกรรมการจะยกเว้นหรือลดหย่อนให้ จากเดิมที่ ร่าง พ.ร.บ. กยศ. ที่สภาเห็นชอบนั้น กำหนดให้ปลอดดอกเบี้ยและไม่คิดค่าปรับนั้น มองว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบกับการดำเนินงานของกองทุน และอาจเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้กู้ยืมมาชำระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอยู่ในระดับต่ำมาก

“ยืนยันว่าสถานะของ กยศ. ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาผู้กู้ยืมจะชะลอการชำระหนี้ไปบ้าง แต่ยังไม่ส่งผลกระทบอะไร โดยในแต่ละปี กยศ. จะให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งกองทุนมีสภาพคล่องราว 3 หมื่นล้านบาท และมียอดชำระเข้ามาปีละ 3-4 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว ซึ่งเพียงพอต่อการให้กู้ยืมสำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการอย่างแน่นอน แต่หากในระยะต่อไป หากกฎหมายใหม่มีผลและส่งผลกระทบกับสถานะของกองทุน ก็ยังสามารถทำเรื่องเพื่อขอใช้งบประมาณได้ แต่ยืนยันว่าขณะนี้กองทุนยังแข็งแกร่ง” นายกฤษฎา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิลึก! บอกแหล่งเงินกู้แจกดิจิทัลยังเป็นการบ้านแต่ให้รอแถลง 10 เม.ย.

'จุลพันธ์' เผย มอบคลัง-สำนักงบฯ พิจารณาแหล่งเงินแจกดิจิทัลวอลเล็ต อุบแหล่งเงิน กู้หรือไม่ยังเป็นการบ้านอยู่ ย้ำ 10 เม.ย.ชัดเจนแน่ 'ลวรณ' ระบุโครงการมีพัฒนาการ ช้าแต่สมบูรณ์ คลายข้อกังวลทุกฝ่าย

'คลัง' ชี้ถึงเวลานโยบายการเงินช่วยบูมศก.

“คลัง” แจงขอไม่ก้าวล่วงหลัง กนง. ยังยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี แต่มองถึงเวลาแล้วที่นโยบายการเงินจะต้องเข้ามาช่วยกัน พร้อมเข็นแพ็คเกจกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ เปิดช่องผู้ประกอบการขอบีโอไอปักหมุดสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ระบุยังรอ ธปท. ใจอ่อนผ่อนเกณฑ์ LTV สนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์