'สนข.' เร่งสำรวจการเดินทางในเขตกทม.-ปริมณฑล ก่อนผุดโปรเจกต์คมนาคม

สนข. เทงบ 39 ล้าน ลุยศึกษาผลสำรวจการเดินทางในเขต กทม.-ปริมณฑล 7 หมื่นครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด โฟกัสโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย & M-MAP พ่วงสุ่มตัวอย่างกลุ่มรถบรรทุก อัปเดตฐานข้อมูลการขนส่ง “คน-สินค้า” สู่แบบจำลองประกอบการตัดสินใจก่อสร้างโปรเจ็กต์คมนาคม คาดสำรวจแล้วเสร็จภายใน มี.ค. 65

23 พ.ย.2564 นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาสำรวจการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Bangkok Travel Demand Survey) วันนี้ (23 พ.ย. 2564) ว่า สนข. ได้จัดทำโครงการศึกษาสำรวจการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Bangkok Travel Demand Survey)

ทั้งนี้ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลในแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจรระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (eBUM) โดยใช้งบประมาณ 39 กว่าล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 16 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. 2564-31 ต.ค. 2565 อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะสำรวจแล้วเสร็จช่วง ก.พ.-มี.ค. 2565 ก่อนที่จะวิเคราะห์แบบจำลอง และสรุปผล เพื่อจัดทำฐานข้อมูลต่อไป

อย่างไรก็ตามโดยโครงการศึกษาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำรวจความต้องการการเดินทางและพฤติกรรมการเดินทางของคนและการขนส่งสินค้า พัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจรระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไป และศึกษาวิเคราะห์ความต้องการการเดินทางและพฤติกรรมการเดินทางของคนและการขนส่งสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

นายวิไลรัตน์ กล่าวว่า ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ ได้ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบการจราจรจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เปรียบเทียบกับสภาวะก่อนการแพร่ระบาดฯ ด้วย อีกทั้ง วิเคราะห์สภาพการจราจรบนโครงข่ายการเดินทางของคนและการขนส่งสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและพื้นที่ที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่ศึกษาในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งเสนอโครงการ หรือมาตรการด้านการขนส่งและจราจรที่ควรพัฒนา รวมทั้งเพื่อจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการขนส่งและจราจรเพื่อการวางแผนการพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร

สำหรับการศึกษาโครงการดังกล่าว ได้กำหนดพื้นที่ศึกษาของแบบจำลองในเบื้องต้นจะครอบคลุมพื้นที่เขตเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งครอบคลุมพื้นที่ศึกษาให้มีความเจาะจงเฉพาะพื้นที่เขตเมือง และครอบคลุมโครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผน (M-MAP) และรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา ครอบคลุม 77 อำเภอ 489 ตำบล รวมพื้นที่ประมาณ 6,630 ตารางกิโลเมตร

ทั้งนี้ การสำรวจ วิเคราะห์ความต้องการการเดินทาง และพฤติกรรมการเดินทางของคนและการขนส่งสินค้านั้น ประกอบด้วย การเสนอแนวคิดการสำรวจการเดินทาง (Travel Demand Survey) และการเลือกรูปแบบการเดินทาง เพื่อการพัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจรระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกำหนดจำนวนตัวอย่าง สุ่มสำรวจข้อมูลครัวเรือน ในเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 70,000 ครัวเรือน และพิจารณาการนำข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เข้ามาประกอบและเพิ่มประสิทธิภาพการสำรวจเพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ
นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจวิเคราะห์ความต้องการเดินทาง และการเลือกรูปแบบการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และวิเคราะห์ความต้องการเดินทาง และสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลการเดินทางของรถบรรทุกขนส่งสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างสุ่มสำรวจไม่น้อยกว่า 10,000 ตัวอย่าง ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า เช่น ศูนย์หรือสถานีขนส่งสินค้า รวมถึงท่าเรือ จำนวน 6 แห่ง, จุดสำรวจบริเวณด่านชั่งน้ำหนัก จำนวน 10 จุด เป็นต้น

นางวิไลรัตน์ กล่าวต่ออีกว่า การวางแผนและเสนอแนะนโยบายด้านการขนส่งและจราจร เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการ และพฤติกรรมการเดินทางของคน การขนส่งรถบรรทุกสินค้า (Travel Demand Survey) และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจรให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถวิเคราะห์สภาพการจราจรบนโครงข่ายการเดินทางในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากนี้ ยังเพื่อใช้วางแผนการพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศต่อสาธารณะ รวมถึงการเสนอแนะนโยบายด้านการขนส่งและจราจร การนำแบบจำลองไปใช้ในการวิเคราะห์โครงการต่างๆ และใช้ประโยชน์โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาโครงการ สามารถใช้ฐานข้อมูลระบบขนส่งและจราจรที่เป็นฐานข้อมูลเดียวกันในการวางแผนการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม ลดความซ้ำซ้อน ส่งผลให้การดำเนินโครงการลงทุนของภาครัฐมีประสิทธิภาพ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘สุริยะ' สั่งลดด่านทางด่วน จ่ายเงินซ้ำซ้อน หวังลดภาระประชาชน

‘สุริยะ’ สั่ง กทพ - สนข. ปรับโครงสร้างทางด่วนทั้งระบบ ศึกษายุบด่านจ่ายเงินซ้ำซ้อน หวังลดภาระประชาชน ลั่นหากเอกชนได้รับผลกระทบสูญเสียรายได้ อาจพิจารณาขยายสัมปทานชดเชย

เจ๊งวันละ 7.4 ล้านบาท! รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย

สามารถแฉรถไฟฟ้าสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสายครบ 30 วัน แล้ว ผงะ! ขาดทุนวันละ 7.4 ล้านบาท ถามไปต่อหรือพอแค่นี้ ที่สำคัญอย่าลืมทุกสายต้อง 20 บาทเพราะหาเสียงไว้

สนข.กางแผนลุย 'แลนด์บริดจ์' จ่อโรดโชว์ดึงจีน-ซาอุฯร่วมทุน

สนข.เร่งเครื่อง“แลนด์บริดจ์” 1 ล้านล้านบาท เดินหน้าหน้าโรดโชว์ เล็งดึงนักลงทุนจากต่างประเทศ กลุ่มจีน ซาอุฯ ยุโรป ดูไบ จ่อเสนอ “สุริยะ”ประธานคณะทำงานติดตามความคืบหน้าโครงการให้นายกฯรับทราบ

รอเฮ! ‘คมนาคม’ จ่อชง ครม. รถไฟฟ้าสายสีแดง-สีม่วง 20 บ.ตลอดสาย

กระทรวงคมนาคมจะมีการเสนอขออนุมัติปรับราคาค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย รถไฟชานเมืองสายสีแดง เส้นทางจากบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน

ดีเดย์ 15 ส.ค.นี้ สายสีแดงแจ้งปรับเวลาเปิดให้บริการ 05.00 น.

‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ แจ้งปรับเวลาเปิดเร็วขึ้นจาก 05.30 น.เป็น 05.00 น.และเพิ่มความถี่ช่วงเร่งด่วนเหลือ 10 นาที อำนวยความสะดวกผู้โดยสารเดินทางไฟลท์เข้าสนามบินดอนเมือง เริ่ม 15 ส.ค.นี้