“พาณิชย์” แจ้งข้อปฏิบัติให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ หากได้รับการติดต่อ ทั้งทางโทรศัพท์หรือข้อความ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่พาณิชย์ ให้สงสัยไว้ก่อนเป็นการแอบอ้างจากมิจฉาชีพ ห้ามทำธุรกรรมใด ๆ เด็ดขาด ย้ำการขอข้อมูลจะทำเป็นหนังสือทุกครั้ง และไม่ทักหาก่อน แนะหากสงสัยโทร 1203 ตรวจสอบ ด้านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยแจ้งความเอาผิดแก๊งหลอกลวงแล้ว 18 คดี
13 ก.พ. 2566 – นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกระทรวงพาณิชย์ ในการหลอกลวงติดต่อทางโทรศัพท์ และ Line โดยแอบอ้างเอกสารและเว็บไซต์เกี่ยวกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ ในการขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขอตรวจสอบข้อมูลธุรกิจเรื่องต่าง ๆ รวมถึงมีการเสนอเงินให้ความช่วยเหลือธุรกิจ โดยให้คลิกลิงก์เข้าไปอัปเดพข้อมูล จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและธุรกิจเป็นจำนวนมากนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนดังกล่าว จึงได้หารือกับหน่วยงานภายในกระทรวงพาณิชย์ และออกแนวปฏิบัติ โดยหากประชาชนได้รับโทรศัพท์ หรือข้อความ ที่กล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ ให้สงสัยก่อนว่าเป็นการแอบอ้างจากมิจฉาชีพ และห้ามทำธุรกรรมใด ๆ อย่างเด็ดขาด เพราะการขอข้อมูลจากผู้ประกอบการหรือผู้มาติดต่อใด ๆ นั้น หน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์จะทำเป็นหนังสือทุกครั้ง และหากสงสัยให้โทรสายด่วน 1203 เพื่อตรวจสอบข้อมูลกับเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์โดยเร็ว
“กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้เสียหายในกรณีนี้เช่นเดียวกัน เพราะเป็นผู้ถูกแอบอ้าง ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานในสังกัด ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้แจ้งความและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว และได้เตรียมแนวทางป้องกันหากเกิดกรณีดังกล่าวในอนาคต”
สำหรับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ที่แก๊งมิจฉาชีพนำไปใช้แอบอ้างหลอกลวงประชาชน และธุรกิจนั้น เป็นข้อมูลเปิดเผย ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงฯ หรือของกรมต่าง ๆ อยู่แล้ว เช่น ชื่อ นามสกุลผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และธุรกิจในการติดต่อสื่อสาร ทำให้มิจฉาชีพเอาไปหลอกลวงประชาชนได้ แต่กระทรวงฯ คงไม่ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ เพราะอาจเป็นอุปสรรคในการติดต่อธุรกิจกับธุรกิจที่ตั้งใจดำเนินธุรกิจจริง ๆ
ส่วนรายชื่อบริษัทห้างร้านที่มิจฉาชีพติดต่อไปเพื่อหลอกลวง ก็สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ของหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพราะเป็นธุรกิจที่แต่ละกรมให้ความช่วยเหลือ โดยยืนยันว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ขายข้อมูลอีกแน่นอน เพราะให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลมาก ถ้ามีใครขายข้อมูล จะดำเนินการตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่มีนโยบายในการทักหาประชาชน หรือผู้ประกอบธุรกิจก่อน เพื่อขอข้อมูล หรือเสนอสนับสนุนเงินช่วยเหลือธุรกิจผ่านทาง Line และโทรศัพท์ จึงขอเตือนภัยประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจให้ใช้ความระมัดระวัง ไม่หลงเชื่อคำเชิญชวนต่าง ๆ และโทรสอบถามสายด่วน 1203 เพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและป้องกันการถูกหลอกในทุกรูปแบบ โดยจะมีเจ้าหน้าที่รับสายตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น. จากนั้นเป็นระบบฝากข้อความ ซึ่งในช่วงตั้งแต่เดือนพ.ย.2565 เป็นต้นมา มีการร้องเรียนเข้ามาแล้วกว่า 50 สาย กระทรวงพาณิชย์ จะตรวจสอบทุกกรณี
นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หลายหน่วยงานของกระทรวง ติดต่อกับภาคเอกชนเป็นประจำอยู่แล้ว จึงมีฐานข้อมูลของเอกชนอยู่ แต่กระทรวงฯ มีมาตรการดำเนินการ เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์อยู่แล้ว เช่น ให้ทุกหน่วยงานระมัดระวังการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มีชั้นคาวมปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ทำสัญญากับหน่วยงานภายนอกที่นำข้อมูลส่วนบุคคลภาคธุรกิจ หรือประชาชนจากกระทรวงฯ ไปใช้ เป็นต้น
นายธีระศักดิ์ สีนา ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมฯ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับแก๊งมิจฉาชีพที่หลอกหลอกลวงประชาชนไปแล้ว 18 คดี โดยเป็นความผิดฐานการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสร้างความเสียหายต่อประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และการปลอม หนังสือรับรองนิติบุคคล หรือใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อเอามาใช้หลอกประชาชนให้เชื่อว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจขึ้นจริง จนเหยื่อยอมทำตาม มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังเป็นการปลอมประกาศกรมฯ โดยมีเนื้อหาให้นิติบุคคลยืนยันข้อมูลทางแอปพลิเคชัน MOC ของกระทรวงพาณิชย์ และระบบ e-Registration ของกรมฯ มีโทษจำคุก 6 เดือน-5 ปี ปรับ 1,000-10,000 บาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดิเรกฤทธิ์ ชี้ปมชั้น 14 เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องถูกลงโทษ ทำผิดกฎหมาย
ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีต ส.ว. โพสต์ข้อความ
'นิพิฏฐ์' โพสต์ 'หน้าที่รัฐ' ความต่างระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "หน้าที่รัฐ" ระบุว่า การถือกำเนิดของรัฐ มาจากหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ “
‘หมอเปรม’ แฉมีจนท.รัฐ ใช้ กม.หาประโยชน์กับประชาชน ที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร
หมอเปรม แฉมีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายหาประโยชน์กับประชาชนที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร จี้รัฐบาลแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค รมว.ดีอียันรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเต็มที่ให้การใช้โดรนเกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภารกิจ
มือกม.ตำรวจ วิเคราะห์กระบวนการหลอกลวง ธุรกิจ ’ดิไอคอนกรุ๊ป’
ตอนถูกชักชวนเข้ามาธุรกิจนี้ ดาราทุกคนถูกบอสพอลเสนอการตลาดแบบตรง (ขายออนไลน์) และเช็คแล้วบริษัทจดทะเบียนถูกต้องแถม
มีหนาว! ‘เรืองไกร’ ร้อง ปปช. ตรวจสอบจนท.ของรัฐ 8 ราย ยื่นบัญชีและเสียภาษีถูกต้องหรือไม่
วันนี้ผมจึงส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐรวม 8 รายดังกล่าว