
รฟท.กางแผนอัพเดทความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูง ช่วง “กรุงเทพฯ – นครราชสีมา” ระยะทาง 250 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้าน เดินหน้าเร่งงานก่อสร้างลุยตอกเสาเข็มแล้ว 11 สัญญา คาดแล้วเสร็จเปิดบริการภายในปี 2570
7 มี.ค. 2566 – รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงความคืหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและจีน กรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยมีระยะทาง 250.77 กิโลเมตร วงเงินโครงการ 179,412.21 ล้านบาท เนื่องจากวันดังกล่าวมีการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมและบริหารการเดินรถไฟที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย รฟท.คาดว่าจะเปิดให้บริการในช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ภายในปี 2570
สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถึงสถานีปลายทางนครราชสีมา เป็นการพัฒนาด้วยระบบรถไฟความเร็วสูง (ตามมาตรฐาน UIC) ซึ่งมีความเร็วให้บริการสูงสุดที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความคืบหน้างานดังนี้ ในการก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1. การก่อสร้างงานโยธา แบ่งออกเป็น 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 สัญญายังไม่ลงนาม 3 สัญญา 2. สัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร ลงนามสัญญา เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินงานตามสัญญา มีระยะเวลาในการดำเนินงานจำนวน 64 เดือน
อย่างไรก็ตามสำหรับปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับโครงการในขณะนี้ มีการดำเนินการ 5 ประเด็น ได้แก่1. การเวนคืน ที่ส่งผลกระทบกับสัญญา ล่าสุดราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินการก่อสร้าง มีผลบังคับ ตั้งแต่ วันที่ 23 ส.ค. 2565 เป็นต้นไป 2. การขอพื้นที่จากส่วนราชการ เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมธนารักษ์ ซึ่งได้รับผลกระทบ 7 สัญญา ขณะนี้อยู่ะหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.สถานีอยุธยา ที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกให้พิจารณาย้ายสถานี ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบต่อมรดกโลกทางวัฒนธรรม (HIA) แล้ว โดยเริ่มงานเมื่อวันที่ 25 ต.ค.2565 มีระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 24 เม.ย. 2566 4. โครงสร้างร่วมระหว่างโครงการฯ กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด ซึ่งคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จและเริ่มก่อสร้างได้ ภายในต้นปี 2566 และ 5. สถานการณ์โควิดที่กระทบงานระบบ ทำให้งานออกแบบระบบทั้งหมด และขบวนรถไฟงานก่อสร้างและติดตั้ง รวมถึง งานฝึกอบรมบุคลากรและงานถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องหยุดชะงัก ล่าสุด ร.ฟ.ท.และคู่สัญญา อยู่ระหว่างตรวจสอบและแก้ไขรายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะเดินหน้างานระบบได้ภายในต้นปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บีทีเอส' เปิดฤกษ์ 3 มิ.ย.9โมงเช้านั่งฟรีสายสีเหลือง เสนอตัวลงทุนเชื่อมจุดฟันหลอ
“บีทีเอส” เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง เที่ยวปฐมฤกษ์ 9 โมงเช้า 3 มิ.ย.นี้ ประชาชนนั่งฟรี 30 วัน ก่อนเล็งจัดเก็บค่าโดยสารเริ่ม 15 – 45 บาท พร้อมเปิดช่องเจรจา รฟม.สร้างส่วนต่อขยายเชื่อมสถานีรัชโยธิน
ดีเดย์ 3 มิ.ย. นี้เปิดให้ ปชช. ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฟรี
ดีเดย์ 3 มิ.ย.นี้"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เตรียมเปิดให้บริการประชาชนทดลองนั่งฟรี ระยะเวลา 1 เดือน การันตีแก้ไขข้อบกพร่องได้มาตรฐานความปลอดภัย 100%
'แอร์พอร์ตลิงก์' อวมขาดทุนเดือนละ 70 ล้าน รฟท.จี้แก้ไขงานบริการ
รถไฟฟ้า “แอร์พอร์ตลิงก์” ขาดทุนเดือนละ 70 ล้าน ผู้โดยสารกลับมา 1.8 ล้านคน/เดือน ชี้ยังไม่ได้โอนสิทธิให้เอกชน แค่เข้ามาบริหาร เก็บรายได้ส่ง รฟท. พร้อมจ่ายดอกเบี้ยค่าโอนสิทธิฯ จนกว่าจะแก้สัญญาร่วมลงทุน จี้ “เอเชีย เอรา วัน” แก้ไขงานบริการ
รฟท.เร่งเครื่องรถไฟไฮสปีดไทย-จีน จ่อจ้างเอกชนลุยงานโยธาสัญญา 3-1
รฟท. เล็งชงบอร์ด 22 มิ.ย.นี้ เคาะลงนามสัญญาจ้าง ‘กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10JV’ลุยงานสัญญา 3-1 รถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 หลังเอกชนยืนยันราคาแล้ว ส่วนสัญญา 4-5 ยังรออัยการฯ ตรวจร่างสัญญา
'สหวิริยา' หนุนรถไฟขนเหล็ก ช่วยลดต้นทุน
"เอสเอสไอ-รฟท."จับมือทดลองเดินขบวนรถพิเศษขนส่งเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน 46 ตัน จากสถานีนาผักขวง ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ สุพรรณบุรี หนุนขนส่งทางรางช่วยลดต้นทุน
บขส.จัดรถวันละ 3,500 เที่ยวรับผู้โดยสารเดินทางกลับภูมิลำเนาไปเลือกตั้ง
บขส. เตรียมพร้อมรถโดยสารวันละ 3,500 เที่ยว รองรับผู้โดยสารวันละ 35,000 คน ให้บริการประชาชนเดินทางช่วงการเลือกตั้ง 2566 จับมือ ขสมก.-รฟท.-ตำรวจ บูรณาการเพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง