สศอ.ลั่นดัชนีเอ็มพีไอทั้งปีโต 5.2% ทะลุเป้าที่คาดการณ์

สศอ.ลั่นดัชนีเอ็มพีไอทั้งปีโต 5.2% ทะลุที่คาดการณ์ หนุนปี 65 ทะยานต่อเนื่อง เผยงวดต.ค.อยู่ที่ระดับ 97.99 โต 2.91% มั่นใจมาตรการควบคุมโควิด ‘โอไมครอน’ ไทยเอาอยู่ พร้อมจับตาราคาพลังงานสูง-แรงงานขาดแคลน

1 ธ.ค. 2564 นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่าสศอ.คาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(เอ็มพีไอ) ปี 2564 โต 5.2% จากเดิมคาดไว้ที่ 4-5% และผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรม คาดโต 3.9% จากเดิมคาดไว้ที่ 3-4% ส่วนปี 2565 คาดเอ็มพีไอโต 4-5% และจีดีพีภาคอุตสาหกรรมโต 2.5-3.5% เนื่องจากสถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก เห็นได้จากมีคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ สะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกปี 2564 ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 15-16% อีกทั้งมีการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมได้ดี

สำหรับเอ็มพีไอดือนต.ค.2564 อยู่ที่ระดับ 97.99 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.91% อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.07% ส่วนภาพรวม 10 เดือนของปีนี้เอ็มพีไออยู่ที่ระดับ 97.26 เพิ่มขึ้น 5.93% ซึ่งถือว่ากลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 ก่อนเกิดโควิด อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 63.26 ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมส่งผลบวกในเดือนต.ค.2564 ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.02% ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 12.41% น้ำมันปิโตรเลียมขยายตัว 6.26% เฟอร์นิเจอร์ขยายตัว 36.17% ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ขยายตัว 12.88% สะท้อนได้จากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ระดับ 93.99 เทียบกับเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 93.31

ทั้งนี้การออกมาตรการลดค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 เช่น โครงการคนละครึ่ง, โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นต้น อีกทั้งนโยบายการเปิดประเทศของไทยเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2564 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนและแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ลดลง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม

“เรายังคงต้องจับตาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ระลอกใหม่อย่างใกล้ชิด ซึ่งแม้จะมั่นใจว่ามาตรการควบคุมโรคระบาดและการกระจายฉีดวัคซีนในไทยจะดำเนินการได้ดี แต่หลายประเทศได้กลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลก รวมทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหลังการคลายล็อกดาวน์”นายทองชัย กล่าว

โดย สศอ.ประเมินว่าในเดือนพ.ย.2564 มีสัญญาณของสถานการณ์การผลิตปกติต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดีขึ้น หลังจากที่ส่งผลกระทบให้ดัชนีหดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นสอดรับกับการเปิดประเทศและคู่ค้าหลักขยายตัวได้ดีขึ้นตามคำสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออก และคาดว่าจะส่งสัญญาณปกติจนถึงเดือนธ.ค.2564 และเดือนม.ค.2565

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สศอ.โอดดัชนี MPI งวด ส.ค.หดตัวจับตาเศรษฐกิจคู่ค้าขาลง

สศอ.โอดดัชนีเอ็มพีไอเดือน ส.ค. 2566 หดตัว 7.53% รับกำลังซื้อประเทศคู่ค้าอ่อนแอ ส่งสัญญาณจับตาเศรษฐกิจในช่วงขาลง หวังนโยบายรัฐบาลใหม่ดันกำลังซื้อ หนุนจีดีพีอุตฯ ขยายตัว

ค้าชายแดนปี 64 โตกระฉูด 30% มูลค่าพุ่ง 1.7 ล้านล้าน

 “จุรินทร์”แถลงตัวเลขการค้าชายแดนและผ่านแดนทั้งปี 64 มีมูลค่า 1,715,345 ล้านบาท เพิ่ม 30.03% เป็นการส่งออกสูงถึง 1,031,330 ล้านบาท เพิ่ม 34.60% ขยายตัวเกินกว่าเป้าหมาย 5-6 เท่า ส่วนปี 65 ตั้งเป้าโต 5-7% หลังเศรษฐกิจโลก คู่ค้าฟื้นต่อเนื่อง บาทอ่อนช่วยหนุน รถไฟลาว-จีน ทำส่งสินค้าสะดวก และมีแผนเร่งเปิดด่านเพิ่มอีก 12 ด่าน

สคร.แจกรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2564 ปตท.กวาดรางวัลนำโด่ง

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2564 ภายใต้แนวคิด “ก้าวสู่ยุควิถีใหม่ด้วยพลังรัฐวิสาหกิจไทยอย่างยั่งยืน

ปตท.สผ. ปลื้มปี 64 กำไรโต 68% เคาะปันผล 5 บาทต่อหุ้น

ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานปี 2564 ประสบความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยเฉพาะการขยายการลงทุนในต่างประเทศ ส่งให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดี สำหรับแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต