ดีป้า ผลักดันแอปฯ KASSETTRACK ยกระดับมาตรฐานการผลิตทุเรียนไทย

ดีป้า ร่วมส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการผลิตทุเรียนไทยคุณภาพแก่เครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี – ระยอง 2,000 ราย

2 พฤษภาคม 2566 – นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสร้างรายได้แก่ชุมชน พัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ และสร้างมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพ ภายใต้แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน KASETTRACK ระหว่าง บริษัท วีเดฟซอฟท์ จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน KASETTRACK กับ กลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอนายายอาม

ทั้งนี้ ดีป้า มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ยกระดับภาคเกษตรกรรมไทย โดยแอปพลิเคชัน KASSETTRACK คือหนึ่งในเทคโนโลยีดิจิทัลที่ ดีป้า ให้การสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัล เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาด้านการผลิต ช่วยวางแผนต้นทุนการผลิตในแต่ละฤดูกาลเป็นรายแปลง รายช่วงอายุในแต่ละสายพันธุ์ พร้อมอำนวยความสะดวกให้การตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตทุเรียนเป็นไปตามมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลผลิตไปยังประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะประเทศจีน ผู้นำเข้าทุเรียนอันดับหนึ่งของไทยที่มีความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพและศัตรูพืชต้องห้ามแก่เครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง จำนวน 2,000 ราย

“เกษตรกรจะได้รับการอำนวยความสะดวกด้านกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งระบบจะสร้างขั้นตอนการผลิตทุเรียนที่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GAP โดยอัตโนมัติ ดังนั้นเกษตรกรสามารถบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา วิเคราะห์ความก้าวหน้ากิจกรรมการผลิต และการดูแลรักษาในทุกระยะการเติบโต ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจรับรองมาตรฐาน GAP และเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาการผลิตในปีต่อไป รวมถึงการวางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์ ขณะเดียวกัน ภาครัฐจะได้รับข้อมูลปริมาณผลผลิต กระบวนการผลิต ปริมาณการซื้อขายที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อตรวจสอบย้อนกลับการผลิตและใบรับรอง GAP / GMP สามารถนำข้อมูลการผลิตในพื้นที่มาใช้พิจารณาการวิจัย พัฒนา และสร้างฐานข้อมูลเมืองอัจฉริยะ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุเรียนคุณภาพของไทย อันจะนำไปสู่การผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการการนำเข้าของจีน ทั้งหมดถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพและภาคการเกษตรของประเทศ ช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ KASETTRACK จะเป็นผู้จัดหาตลาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรองรับผลผลิตทุเรียนของกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอนายายอาม และเครือข่ายสมาชิกของชาวสวนทุเรียนจังหวัดจันทบุรีให้มีราคาดี รับซื้อผลผลิตผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งจะคัดสรรตลาดที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานการคัดทุเรียน โดยยึดหลักการคัดคุณภาพอย่างเป็นธรรม พร้อมกันนี้จะแจ้งราคาตลาดที่รับซื้อ (ณ วันที่รับซื้อ) แต่ละเกรดคุณภาพ ราคาทุเรียนที่มีคุณภาพต่ำจากเกณฑ์คุณภาพการส่งออก จำนวนผลผลิตหรือปริมาณน้ำหนักที่ต้องการรับซื้อในแต่ละวัน รวมไปถึงข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร

นอกจากนี้จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อแนะแนวทางการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ พัฒนามาตรฐาน หาแหล่งเงินทุน และจัดทำฐานข้อมูลต่อไร่ให้มีดัชนีชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพการผลิตพืชปลอดภัย ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรทุกรายที่อยู่ในแพลตฟอร์มที่ได้บันทึกกิจกรรมการผลิตในแอปพลิเคชันใช้แนบเป็นหลักฐานการขอรับรองมาตรฐาน GAP ต่อไป

ปัจจุบันมีเกษตรกรใช้งานแอปพลิเคชัน KASETTRACK แล้วกว่า 1,000 รายใน 8 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา สุโขทัย โดยประเมินว่า ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานส่งเสริมเกษตรจังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชุมพร รวมถึงจังหวัดที่มีพื้นที่ผลิตทุเรียนจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้มีปริมาณผลผลิตทุเรียนในปีการผลิต 2566 มากกว่า 20,000 ตัน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยภาพรวมกว่า 3,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าหมายว่า KASETTRACK จะดูแลการผลิตทุเรียนไทยคุณภาพได้กว่า 1 แสนตัน และสร้างเกษตรกรคุณภาพที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ไม่น้อยกว่า 10,000 รายในปี 2569

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯดิจิทัล Q4 ตก ผู้ประกอบการกังวลภาวะเศรษฐกิจ

ดีป้า เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 4/2566 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3 เล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในระดับเชื่อมั่น โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สร้างความกังวลแก่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินบาท ความกังวลจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของภาครัฐที่ล่าช้า ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว

รมว.ดีอี เร่งขับเคลื่อนโมเดลพัฒนากำลังคนดิจิทัลให้พร้อมรับมือเทคโนโลยีโลกใหม่อย่างยั่งยืน

กระทรวงดีอี โดย ดีป้า แถลงข่าวเปิดโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย มุ่งสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่พร้อมรองรับการพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งอย่างยั่งยืน

ดีป้าเผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลฟื้นตัว

ดีป้า เผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 2 ปรับตัวดีขึ้น ชี้ผู้ประกอบการกังวลสถานการณ์การเมือง แม้ดัชนียังอยู่ในระดับเชื่อมั่น

ดีป้า ประกาศเข้าลงทุนใน VISAI นักพัฒนา AI สัญชาติไทย

ดีป้า ประกาศเข้าลงทุนครั้งใหญ่ ขับเคลื่อน VISAI ดิจิทัลสตาร์ทอัพผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ครบวงจรสำหรับภาคธุรกิจทะยานสู่ระดับ Pre-Series A เร่งเสริมความเข้มแข็งทางธุรกิจ และมุ่งให้บริการเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกิดจากการพัฒนาโดยฝีมือคนไทยที่ทุกคนเข้าถึงได้ อีกทั้งเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่เวทีการแข่งขันระดับสากล