สศอ.มึนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เม.ย.หดตัว 8.14% 

สศอ.มึน ดัชนี MPI เดือน เม.ย. หดตัว 8.14% สะท้อนเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ต้นทุนการผลิต – การเงินเพิ่มขึ้น พร้อมปรับประมาณการ GDP ภาคอุตสาหกรรมปีนี้ คาดขยายตัวในกรอบ 0.0 – 1.0%

31 พ.ค. 2566 – นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเม.ย. ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 83.51 หดตัว 8.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัว 20.79% เมื่อเทียบจากเดือนก่อน ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 53.82% และช่วง 4 เดือนแรก(ม.ค.-เม.ย.) ปี 66 เฉลี่ยอยู่ที่ 61.31% ส่งผลให้ดัชนี MPI 4 เดือนแรก ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 96.87 หดตัว 4.69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยลดลง

สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจโลกที่หดตัวและปัญหาภาคการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อสินค้าในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าและต้นทุนทางการเงินจากการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้ปรับลดลง และมีผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้น้อยลง ซึ่งต้องจับตาอุตสาหกรรมที่เคยเติบโตดี แต่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวจากความต้องการทั้งในประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในรถกระบะ 1 ตัน แต่อย่างไรก็ดีการบริโภคในประเทศยังขยายตัวจากเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนพ.ค. ปี 2566 ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคและการท่องเที่ยว อีกทั้ง การลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องจับตาดูการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภาคการเงินของสหรัฐฯ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อผลผลิตการเกษตร อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

 “จากการที่ดัชนี MPI 4 เดือนแรก ปี 66 และ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สศอ. จึงได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมปี 66 โดยคาดว่า MPI ปีนี้ จะขยายตัวที่ 0.0 – 1.0% และ GDP ภาคอุตสาหกรรม จะขยายตัวที่ 0.0 – 1.0% จากประมาณการครั้งก่อน คาดดัชนี MPI จะขยายตัวที่ 1.5 – 2.5% และ GDP ภาคอุตสาหกรรม จะขยายตัวที่ 1.5 – 2.5% ” นางวรวรรณ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สศอ. โต้โรงงานผลิตรถยนต์ ICE ปิดตัวลง ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลส่งเสริมรถ EV

สศอ. ย้ำ! รัฐบาลผลักดันอุตสาหกรรม EV ส่งเสริมการลงทุน และออกมาตรการต่อเนื่อง หนุนพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ ยันไม่ปิดกั้น พร้อมเปิดกว้างรับผู้ผลิตรถยนต์ทุกสัญชาติ

เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว สศอ. เผยดัชนี MPI พ.ค. หดตัว 1.54%

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) พฤษภาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 98.34 หดตัวร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ 5 เดือนแรก หดตัวร้อยละ 2.08 สะท้อนภาคอุตสาหกรรมไทยยังคงไม่ฟื้นตัว หลังปัญหาหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นกระทบต่อภาคการผลิต

รัฐบาลปลื้มดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลับมาเป็นบวกในรอบ 18 เดือน

“รัดเกล้า” เผย MPI เดือนเม.ย. ขยายตัวร้อยละ 3.43 อยู่ที่ระดับ 90.34 ขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 18 เดือน ผลจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว