อุตุฯเตือน ภาคตะวันออก - ภาคใต้ ฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำท่วม

4 มิถุนายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน

และพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. 66 นี้ไว้ด้วย

ออกประกาศ 04 มิถุนายน 2566

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก
กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ
นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 04 มิถุนายน 2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 8 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมภาคอีสาน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง" ฉบับที่ 8 ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศลาว ขณะที่ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 4 พายุดีเปรสชัน ขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ เตือนพื้นที่เจอฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 4 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (25 ก.ย. 66) พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 15.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมต

พยากรณ์ฝน 10 วันล่วงหน้า 25 ก.ย. - 4 ต.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 25 ก.ย. - 4 ต.ค.66 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ตอนกลาง

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง" ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 26 - 29 กันยายน 2566) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 44 จังหวัด ลมแปรปรวน คลื่นสูง 2 เมตร

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง

กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า 'เหนือ-อีสาน' ฝนน้อย ส่วนภาคอื่นตกหนัก 60-80%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 23 – 29 ก.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน