
กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ทบทวนประกาศควบคุมการส่งออกทรายโดยห้ามส่งออกสินค้าทรายธรรมชาติทุกชนิด ขอให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมก่อนประกาศใหม่จะมีผล ใช้บังคับ 11 พฤศจิกายน 2566
9 มิ.ย. 2566 – นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการทบทวนแก้ไขปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลการส่งออกสินค้าทรายภายใต้ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ทรายเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 28 เมษายน 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าและเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจน ลดปัญหาการใช้ดุลยพินิจ และอำนวยความสะดวกทางการค้า ประกอบกับลดความซ้ำซ้อนทางกฎหมายในการกำกับดูแลการส่งออกเนื่องจากปัจจุบันแร่ที่มีทรายเป็นส่วนประกอบได้กำหนดมาตรการภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560 แล้ว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ข้างต้น ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดห้ามส่งออกทรายทุกชนิด ตามพิกัดศุลกากร 25.05 ยกเว้นกรณีส่งออกเป็นตัวอย่างหรือศึกษาวิจัย หรือนำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัวในปริมาณไม่เกิน 2 กิโลกรัม หรือกรณีส่งออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะปริมาณให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ทรายเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมคอนกรีต อุตสาหกรรมแก้วและกระจก และอุตสาหกรรมชิพซิลิคอนดักเตอร์ เป็นต้น โดยในปี 2565 ไทยมีการส่งออกทราย ปริมาณ 885.11 ตัน มูลค่า 17.46 ล้านบาท ขณะที่มีการนำเข้าในปริมาณ 1,817,029 ตัน มูลค่า 1,326 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันทรายมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้า นอกจากนี้ ในการขุดทรายทำการค้าดังกล่าวมักจะทำให้เกิดปัญหาตลิ่งริมแม่น้ำพัง หากไม่มีการเตรียมความพร้อมด้านวัตถุดิบและยังคงมีการส่งออกตามเดิมในอนาคตอาจทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวสูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จึงขอให้ผู้ประสงค์จะส่งออกสินค้าดังกล่าวศึกษาและทำความเข้าใจประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ การฝ่าฝืนประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังกล่าวจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกฯ พ.ศ. 2522

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อินเดียจ่อห้ามส่งออกน้ำตาล คาดทำให้ราคาฯพุ่ง
รัฐบาลอินเดียเตรียมประกาศห้ามส่งออกน้ำตาลฤดูกาลหน้า เพื่อสงวนใช้ในประเทศให้เพียงพอ ปัจจุบัน ราคาน้ำตาลโลกถูกกำหนดโดย 3 ยักษ์ใหญ่ผู้ส่งออก คือ บราซิล ไทย และอินเดีย หากอินเดียดำเนินมาตรการข้างต้นจะส่งผลกระทบให้ราคาน้ำตาลโลกเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
รัฐบาลผลักดันผู้กระกอบการไทยใช้ FTA เต็มศักยภาพ ห้าเดือนแรกใช้สิทธิ 77%
รัฐบาลผลักดันผู้กระกอบการไทยใช้ FTA เต็มศักยภาพ ห้าเดือนแรกใช้สิทธิ 77% มูลค่ารวม 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
รัฐบาลปลื้ม 4 เดือนแรกยอดใช้สิทธิ FTA ทะลุ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์
รัฐบาลสนับสนุนการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA เพิ่มโอกาสการส่งออกไทย ยอดใช้สิทธิ 4 เดือนแรกกว่า 25,831 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลเชื่อมั่นตัวเลขน่าพอใจ ทำให้การค้าการลงทุนขยายตัว
ทุเรียนไทย แห่ใช้สิทธิ FTA ส่งออกจีน เพิ่มจากเดิม 85%
กรมการค้าต่างประเทศเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง FTA ในเดือนมกราคม-เมษายนของปี 2566 มีมูลค่ารวม 25,831.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าขึ้นแท่นอันดับ 1 คือทุเรียนสด โดยใช้สิทธิฯ ส่งออกไปจีนเพิ่มสูง 85.31% สำหรับอาเซียนยังครองแชมป์ตลาดที่มีการใช้สิทธิฯ ส่งออกมากที่สุด ตามติดมาด้วยอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-ออสเตรเลีย อาเซียน-อินเดีย และภายใต้กรอบ RCEP มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ รวม 421.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รัฐบาลเร่งผลักดันใช้ RCEP หลังมีผลบังคับใช้ใน 15 ชาติสมาชิก
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ผลักดันการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง RCEP เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด และศักยภาพทางการค้าให้ผู้ประกอบการไทย
นายกฯ ยินดีต่างชาติตอบรับข้าวไทยล้นหลามในงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2023
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีผลตอบรับข้าวไทยในงานแสดงสินค้าอาหาร 2566 เจรจาซื้อขายข้าวมูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท คาดภายใน 1 ปีจะซื้อเพิ่มอีกกว่า 300 ล้านบาท