'ไทยประกันชีวิต' ยืนยันฐานะทางการเงินแข็งแกร่งไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด

ไทยประกันชีวิตยืนยันฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง พร้อมดูแลผู้เอาประกันภัยตามเงื่อนไขสัญญาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โชว์เงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมายอยู่ที่ 334% สูงกว่าอัตราที่ คปภ. กำหนด เงินสำรองกว่า 380,000 ล้าน ยันไม่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19

7 ธ.ค. 2564 นายไชย ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไทยประกันชีวิต (Thai Life Insurance : TLI) ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดมุ่งสู่การเป็น “ทุกคำตอบของการประกันชีวิต การประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงิน” ในทุกช่วงชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในรูปแบบเฉพาะบุคคล

การดำเนินธุรกิจของไทยประกันชีวิตมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการรับประกันภัยอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เอาประกันภัยของบริษัทฯ ขณะเดียวกันฐานะทางการเงินของบริษัทฯ ในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมาก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 บริษัทฯ มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมาย อยู่ที่ 334% ซึ่งสูงกว่าอัตราที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดที่ 120% เงินสำรองประกันชีวิต 385,723 ล้านบาท ที่พร้อมจ่ายสินไหมและเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์แก่ผู้เอาประกันตามเงื่อนไขสัญญา และมีสินทรัพย์รวม 511,391 ล้านบาท รวมถึงได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ จากสถาบัน Fitch Ratings อยู่ที่ AAA(tha) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของธุรกิจไทย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แต่บริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากอัตราการจ่ายสินไหมทดแทนของบริษัทฯ ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และหลังการแพร่ระบาด อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน โดยปี 2562 มีจำนวนการเคลมสินไหมทดแทน ทั้งสินไหมมรณกรรมและสินไหมสุขภาพ ประเภทกรมธรรม์รายบุคคล (Ordinary life) และประเภทสินเชื่อ (Credit life) อยู่ที่ 722,863 ราย รวมเป็นเงินจ่ายสินไหมทั้งสิ้น 11,317,364,873 บาท และปี 2563 จำนวนการเคลมสินไหมทดแทนอยู่ที่ 608,667 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,647,685,974 บาท ขณะที่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2564 จำนวนการเคลมสินไหมทดแทนอยู่ที่ 478,467 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,820,610,947 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการด้านสินไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันบริษัทฯ มีนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยงที่รอบคอบรัดกุม โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee : RMC ) โดยการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้น บริษัทฯ จัดการความเสี่ยงทั้งในระดับองค์กร และระดับหน่วยงาน โดยระบุุความเสี่ยงออกเป็นด้านต่างๆ อาทิความเสี่ยงด้านประกันภัย ความเสี่ยงด้านการตลาด ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านความเพียงพอของเงินกองทุุน ความเสี่ยงด้านกลยุุทธ์ และความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์

RMC เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดููแลความเสี่ยงภายในองค์กร โดยจะกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับระบบงานที่สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์ประกันภัย การลงทุุน ความเสี่ยงจากอัตรามรณะ และการดำรงเงินกองทุุนตามระดับความเสี่ยง และมีการติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ระบบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรดำเนินไปด้วยความราบรื่น

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสําคัญในการบริหารความต่อเนื่องทางธุุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ บริษัทฯ จะสามารถตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย สามารถรักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัทฯ รวมถึงสามารถดําเนินธุรกิจที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“บริษัทฯ พร้อมเคียงข้างลูกค้าในทุกสถานการณ์ พร้อมดูแลผู้เอาประกันภัยตามเงื่อนไขสัญญาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทั้งการจ่ายสินไหมและเงินผลประโยชน์ต่างๆ ยกเว้นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญต่อการรับประกันภัย หรือมีเจตนาทุจริตต่อบริษัทฯ จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยที่ถือกรมธรรม์ของไทยประกันชีวิตเชื่อมั่นได้ว่าจะได้รับการดูแลตลอดสัญญากรมธรรม์” นายไชยกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19  โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง

หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง

อึ้ง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยงานวิจัยกลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA 'บูสเตอร์' มีแนวโน้มเข้ารักษารพ.เพิ่มขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'หมอเดชา' ยก 'อีลอน​ มั​สก์​' ประณาม USAID หนุนวิจัยอาวุธ​ชีวภาพ​ หากยังมีคนเชื่อ mRNA​ ขอให้ไปที่ชอบๆ

นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ เจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า มีข่าวเกี่ยวกับอันตรายจาก วัคซีน​ โควิด-19​ ชนิด​ mRNA​ มากมาย​ ทั้งไทยและทั่วโลก