สสว. มึน SME ทั่วประเทศ แบกหนี้สินเพิ่มขึ้น

สสว.มึน ไตรมาส 2/66 SME 2.6 พันรายทั่วประเทศ แบกหนี้สิน 59.7% สูงกว่าปีก่อน 53.4% เผยเหตุยังเผชิญปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายและสภาพคล่องลดลง สะท้อนดอกเบี้ยเงินกู้สูงถึง 9-12%

24 ก.ค.2566 – นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้ทำการสำรวจผู้ประกอบการ SME เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านหนี้สินกิจการของ SME ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 โดยสอบถามผู้ประกอบการ จำนวน 2,691 ราย ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 17-27 มิ.ย. 2566 พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ผู้ประกอบการ SME 59.7% มีภาระหนี้สิน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่อยู่ที่ 53.4% โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการ

รองลงมา คือ การลงทุนในกิจการ เพื่อการซ่อมแซมสถานประกอบการ และพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉพาะธุรกิจภาคการค้าและภาคการบริการมีสัดส่วนการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนนอกระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการกู้ยืมจากเพื่อนหรือญาติพี่น้องมากที่สุด เนื่องจากแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินมีวิธีการและกระบวนการพิจารณาที่เข้มงวด

ทั้งนี้ พบว่า ผู้ประกอบการ SME 35.6% มีภาระหนี้สินอยู่ในช่วง 50,000 ถึง 100,000 บาท ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ 33.2% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจรายย่อย โดยมีระยะเวลาสัญญาเงินกู้ในช่วงไม่เกิน 7 ปี ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินของ SME ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะ ธุรกิจรายย่อยยังแบกรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าธุรกิจขนาดอื่น ๆ โดยขยับขึ้นมาอยู่ในช่วง 9-12% จาก 6-8% ในช่วงไตรมาสก่อน โดยสถานการณ์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ผู้ประกอบการ SME กว่า 55.4% ยังคงเผชิญกับปัญหาในการชำระหนี้ ด้วยเหตุที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย สภาพคล่องลดลงและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการ SME 57.8% ยังสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดสัญญา จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่ยังพบว่าผู้ประกอบการ SME 42.4% เริ่มประสบปัญหาการผิดเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยและขนาดย่อม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี พบว่า ปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ยังคงเผชิญ คือ ปัญหาด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจ รองลงมา คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมีขั้นตอนการยื่นกู้ยุ่งยาก และสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุด คือ การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รองลงมา คือ ต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจรายเล็ก และการลดขั้นตอนหรือเงื่อนไขในการยื่นขอสินเชื่อ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จั๊กกะบุ๋ม' ขอโอกาสสุดท้าย เดินหน้าทอดปลาร้า เผยยอดหนี้คงเหลือที่ต้องเคลียร์

หลังจากเป็นข่าวดังเมื่อหลายวันก่อน สำหรับนักแสดงตลกหนุ่ม "จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม" กับข่าวใหญ่โตที่ติดหนี้ก้อนโตแม่ค้าคนดัง จนฉาวโฉ่ถูกแบนให้เลิกใช้นามสกุล เชิญยิ้ม จนได้รับโอกาสสุดท้ายจาก "เป็ด เชิญยิ้ม" เปิดพื้นที่ให้ขายของเพื่อมีเงินไปเคลียร์หนี้สิ้น ล่าสุดจั๊กกะบุ๋มเผยชีวิตทำมาหากินในปัจจุบัน และอัปเดตยอดเงินคงเหลือที่ต้องเคลียร์เจ้าหนี้คู่กรณีกลางรายการ "โต๊ะหนูแหม่ม"

มท.เผยยอดไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ 50,830 ราย สำเร็จแล้ว 28,253 ราย

กระทรวงมหาดไทยจึงได้แจ้งให้ทุกจังหวัด อำเภอ เดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่องด้วยการเชิญเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้

'ตั๊ก ศิริพร' โพสต์ฟาดตลกหนุ่ม ด้าน 'จั๊กกะบุ๋ม' วอนชาวเน็ตอย่าด่าถึงครอบครัว

หลังจากที่เป็นประเด็นดราม่าจนถึงขั้นต้องไปเคลียร์กลางรายการ โหนกระแส เมื่อวันก่อน สำหรับเรื่องราวการติดหนี้ของนักแสดงตลก จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม กับ แม่ปูนา รวมถึงเจ้าหนี้รายอื่นๆที่เรียกได้ว่ารายชื่อยาวเป็นหางว่าว

สสว. เผยภาคธุรกิจการเกษตรนำโด่งครองแชมป์นำเข้าสินค้ามากสุด

สสว. เผยผลสำรวจการนำเข้าสินค้าของเอสเอ็มอีไทย พบว่า ภาคธุรกิจเกษตร นำเข้าสินค้ามากที่สุด ส่วนกลุ่มสินค้าที่ครองแชมป์นำเข้าสูงสุด ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าศัตรูพืช น้ำยาทำความสะอาด และกลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค แหล่งนำเข้าหลักมาจาก จีน ญี่ปุ่น อเมริกา เกาหลีใต้ และ เวียดนาม ฯลฯ โดยนำเข้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นหลัก แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ราคาขนส่งและความล่าช้าในการขนส่ง ผู้ประกอบการ SME จึงต้องการให้ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาสินค้าในประเทศให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อทดแทนการนำเข้า

สสว. เผย SME ไทยยังแบกหนี้สินอื้อ

สสว. เผย SME ยังแบกหนี้สินอื้อ Q4/66 อยู่ที่ระดับ 60% ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ชี้กลุ่ม Micro เริ่มเข้าถึงแหล่งเงินในระบบเพิ่มขึ้น เผยด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังอยู่ในระดับสูง