'ธพว.' โชว์ 6 เดือนเติมทุนเอสเอ็มอี 3.2 หมื่นล้าน

“ธพว.” กางผลงาน 6 เดือน อัดสินเชื่อเติมทุนอุ้มเอสเอ็มอีแล้ว 3.2 หมื่นล้านบาท กำไรพุ่ง 309 ล้านบาท เดินเครื่องบริหารหนี้เสีย กด NPL ลดพรวด 20.88% เหลือ 10.51% มั่นใจสิ้นปีกดเหลือไม่เกิน 9.50% ตามเป้า พร้อมปักหมุดปีนี้พาเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 7 หมื่นล้านบาท

27 ก.ค. 2566 – นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยผลการดำเนินงานธนาคารในครึ่งแรกปี 2566 (ม.ค.-มิ.ย.66) ว่า สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากกว่า 32,000 ล้านบาท สร้างประโยชน์ช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 147,000 ล้านบาท รักษาการจ้างงานกว่า 34,000 ราย โดยการสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าว จำนวนกว่า 4,000 ล้านบาท เป็นการพาเข้าถึงสินเชื่อ BCG Loan ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการยกระดับธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันยังร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพิ่มศักยภาพส่งเสริมผู้ประกอบการ เช่น จับคู่ธุรกิจ เพิ่มช่องทางตลาด Workshop ซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมและได้รับประโยชน์กว่า 7,650 ราย

โดยธนาคารมีกำไรสุทธิสะสมประมาณ 309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นประมาณ 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปรับตัวลดลง 20.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธนาคารมีการบริหารจัดการ NPL อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ควบคู่บริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) สม่ำเสมอ ส่งผลให้ปัจจุบัน เหลือ NPL ในระบบเพียงประมาณ 10.51% และสิ้นปีนี้ คาดเหลือไม่เกิน 9.50% ตามเป้าหมายที่วางไว้

นอกจากนั้น ธนาคารมีแนวทางบริหารจัดการและช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นรายอ่อนแอที่น่ากังวลจริง ๆ ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่ธนาคารสามารถบริหารจัดการได้ ผ่านกระบวนการส่งทีมพิเศษ ประกอบด้วยทีมพัฒนาผู้ประกอบการและทีมพัฒนาคุณภาพสินเชื่อเข้าประกบติดตามดูแลลูกค้ารายอ่อนแอทุกรายอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำพร้อมช่วยเหลืออย่างยั่งยืนตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

สำหรับเป้าหมายปี 2566 จะผลักดันผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนกว่า 70,000 ล้านบาท คาดจะก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 320,600 ล้านบาท รักษาการจ้างงานได้ประมาณ 88,980 ราย ควบคู่กับให้บริการผ่านโครงการ SME D Coach ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยยกระดับเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ประกอบการกว่า 15,000 ราย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SME D Bank เปิด พักชำระหนี้เงินต้น 1 ปี แถมลดดอกเบี้ย 1% ช่วยแก้หนี้ SME

SME D Bank แก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาลให้แก่เอสเอ็มอีไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (รหัส 21) ภายใต้มาตรการ “3 ลดปลดหนี้” บรรเทาภาระการเงิน สร้างโอกาสเริ่มต้นใหม่ไปต่อได้ ทั้งพักชำระหนี้เงินต้น 1 ปี ลดดอกเบี้ยให้ 1% และยกดอกเบี้ยค้างให้ทั้งหมด แจ้งความประสงค์ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิ.ย. 68

ธ.ก.ส. เผยผลงาน 3 ไตรมาส กำไร 6 พันล้าน จ่อลุยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน 

ธ.ก.ส. เผยผลงาน 3 ไตรมาสแรกปีบัญชี 66 จ่ายสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคชนบทระหว่างปีไปแล้วกว่า 6.1 แสนล้านบาท ควบคู่การสนับสนุนนโยบายรัฐในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร การลดภาระหนี้เกษตรกรผ่านโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน พร้อมเดินหน้าภารกิจองค์กรสู่การเป็นแกนกลางการเกษตร ที่ให้บริการทางการเงินและการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการต่อยอดธุรกิจภาคการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่ม การทำการตลาด การพัฒนาและยกระดับชุมชนในการสร้างรายได้และการดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้หลัก BCG คาดไตรมาสสุดท้ายเติบโตได้ตามเป้าหมาย

ดัชนีเชื่อมั่นเอสเอ็มอี Q3 ฟื้นผู้ประกอบการปรับตัว-ลุ้นมาตรการรัฐช่วย

“ธพว.” ชี้ดัชนีเชื่อมั่นเอสเอ็มอี ไตรมาส 3/66 ขยับเพิ่ม หลังผู้ประกอบการเร่งปรับแผนการตลาด หนุนยอดขายต่อเนื่อง พร้อมคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลช่วยเสริม อุตสาหกรรมก่อสร้าง-ท่องเที่ยว ฉลุย เหตุทำสัญญาโครงการก่อสร้างเพิ่ม-แนวโน้มเดิมทางและใช้จ่ายมากขึ้น

SME D Bank ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%