มาตรการช่วยค่าครองชีพ กดเงินเฟ้อลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน


6 พ.ย. 2566 – นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป ใน เดือนตุลาคม 2566 เท่ากับ 107.72 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งเท่ากับ 108.06 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.31 (YoY) เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน สาเหตุจากการลดลงของราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน

และสินค้าอุปโภค-บริโภค เนื่องจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งเนื้อสุกร และผักสด ที่ราคาต่ำกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 0.66 (YoY)

ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนกันยายน 2566 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทย สูงขึ้นร้อยละ 0.30 ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 8 จาก 130 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย) โดยอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว และเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคม 2566 ที่ลดลงร้อยละ 0.31 มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.65 ตามการลดลงของราคาเนื้อสัตว์ ผักสด (ต้นหอม ผักบุ้ง แตงกวา) ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้อต่อการเพาะปลูกมากกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และมะขามเปียก ราคาลดลงต่อเนื่องตามราคาต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง ผลไม้สด (แตงโม มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า) รวมถึงกาแฟผงสำเร็จรูป กับข้าวสำเร็จรูป และอาหารกลางวัน

หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.09 ( ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันดีเซล) สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม) เครื่องใช้ไฟฟ้า (พัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) ราคาลดลงต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ค่าโดยสารเครื่องบิน กลุ่มน้ำมันเบนซิน กลุ่มแก๊สโซฮอล์ และ

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนตุลาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2566 ลดลงร้อยละ 0.28 (MoM) โดยหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.61 ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท รวมทั้งค่าโดยสารรถไฟฟ้า เสื้อผ้าบุรุษและสตรี น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ โฟมล้างหน้า แชมพูสระผม สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ แป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน น้ำยาระงับกลิ่นกาย บุหรี่ สุรา และไวน์

ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.18 สินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ผักสดบางประเภท (ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาว) เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม รวมทั้งอาหารโทรสั่ง (delivery) ราคาสูงขึ้นเนื่องจากสิ้นสุดโปรโมชัน สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค. – ต.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 1.60 (AoA) ซึ่งเคลื่อนไหวในกรอบเป้าหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำหนด (ร้อยละ 1.0 – 3.0)

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2566 คาดว่าจะปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร (เนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร) และกลุ่มพลังงาน (ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง) รวมถึงสินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพหลายรายการ และต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ประกอบกับฐานราคาในช่วงเดียวกันของปี 2565 อยู่ระดับสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 – 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.35) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สนค. ชี้ทุกหน่วยงานนโยบายรัฐบาลดิจิทัล เร่งทุกหน่วยงานเชื่อมข้อมูล

นโยบายรัฐบาลดิจิทัลจะประสบความสำเร็จต้องช่วยกันอย่างจริงจัง แนะเร่งหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน

สนค. เผยอาเซียนเนื้อหอม แนะเร่งเตรียมพร้อมทุกมิติ ดึงลงทุนในไทย

สนค. เผยว่า FDI ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยปี 2565 ไทยมีมูลค่า FDI เป็นอันดับที่ 5 ของภูมิภาคอาเซียน หดตัวร้อยละ 31.5 ขณะที่มูลค่า FDI ของภูมิภาคอาเซียนขยายตัวร้อยละ 4.6 ซึ่งแนวโน้มการลงทุนในไทยยังมีทิศทางที่ดีจากการขยายตัวถึงร้อยละ 72 ของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ พร้อมแนะให้เร่งส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก ลดอุปสรรค ขยายคู่ FTA

สนค. เผยเทรนด์ใหม่ใช้หุ่นยนต์บริการ ช่วยลดต้นทุนระยะยาว

สนค. ติดตามแนวโน้มสถานการณ์ทางการค้า และศึกษาแนวทางการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ พบการใชhหุ่นยนต์บริการเติบโตทั่วโลก ช่วยลดภาระต้นทุนในระยะยาว และสร้างโอกาสผู้ประกอบการปรับตัวสู่การค้ายุคใหม่ แนะไทยเร่งส่งเสริมเพิ่มองค์ความรู้ ปรับตัวใช้หุ่นยนต์บริการ

พาณิชย์เผยปัญหาภูมิรัฐศาสตร์กระทบการค้าโลกแนะจับตาใกล้ชิด

สนค. เผยว่า ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลต่อการค้าโลก สงครามการค้าทำให้จีนเสียตำแหน่งแหล่งนำเข้าเบอร์ 1 กว่า 10 ปี ในตลาดสหรัฐฯ แก่เม็กซิโก ส่วนแบ่งตลาดของทั้งสหรัฐฯ และจีนลดลงในตลาดของอีกฝ่ายชัดเจน อีกทั้งความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเร่งการแบ่งขั้วเศรษฐกิจการค้า ขณะที่ประเทศในอาเซียนรวมถึงไทยได้ประโยชน์จากการส่งออกทดแทน พร้อมแนะจับตาสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกอย่างใกล้ชิด